หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเส้นพุ่งสำหรับการทอผ้าเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-QLZQ-322B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเส้นพุ่งสำหรับการทอผ้าเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7318 ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการเตรียมเส้นพุ่งสำหรับการทอผ้าเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด โดยสามารถเตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอตามแบบ และตรวจสอบความถูกต้องการเตรียมเส้นพุ่งได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01721

เตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอตามแบบ

1. เตรียมเส้นพุ่ง ได้ถูกต้องครบถ้วน

01721.01 199800
01721

เตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอตามแบบ

2. กรอเส้นพุ่งเข้าหลอด ให้ถูกต้องตามลำดับที่กำหนด พร้อมใช้งาน

01721.02 199801
01722

ตรวจสอบความถูกต้องการเตรียมเส้นพุ่ง

1. ตรวจสอบเส้นพุ่งที่เตรียมสำหรับการทอให้ความถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบที่กำหนด

01722.01 199804
01722

ตรวจสอบความถูกต้องการเตรียมเส้นพุ่ง

2. ตรวจสอบคุณภาพของการกรอด้ายให้มีขนาดและคุณลักษณะที่เหมาะสม

01722.02 199805

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการเตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอตามแบบ

2. ปฏิบัติการตรวจสอบความถูกต้องการเตรียมเส้นพุ่ง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กี่ทอผ้าด้วยมือและอุปกรณ์การดูแลรักษา

2. ชนิดเส้นใยและขนาดเส้นด้าย

3. ขั้นตอนและวิธีการเตรียมเส้นยืนและเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคขิด

4. ขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบการเตรียมเส้นยืนและเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคขิด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ 

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการทอผ้าด้วยเทคนิคขิด และ/หรือ  

2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากร สถานประกอบการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินการเตรียมเส้นพุ่งสำหรับการทอผ้าตามแบบที่กำหนด

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอตามแบบ

2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการตรวจสอบความถูกต้องการเตรียมเส้นพุ่ง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เตรียมเส้นพุ่งสำหรับใช้ในการทอผ้าที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและครบถ้วนประกอบด้วยการกรอเส้นพุ่งเข้าหลอดตามสีที่กำหนด

2. ตรวจสอบเตรียมกี่ทอผ้าได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนพร้อมใช้งานสำหรับการผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคขิด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ