หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคเกาะ/ล้วง และแบบที่กำหนด

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-TWTN-317B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคเกาะ/ล้วง และแบบที่กำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7318 ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการเตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคเกาะ/ล้วง และแบบที่กำหนด โดยสามารถเตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคและแบบ และตรวจสอบความถูกต้องของเส้นยืนในขณะที่เตรียมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01661

เตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคและแบบ

1. เตรียมเส้นยืน กรอเข้าหลอด เดินเส้นยืน ได้ถูกต้องครบถ้วนตามลำดับสีและลวดลาย

01661.01 199761
01661

เตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคและแบบ

2. เก็บหรือร้อยตะกอได้ถูกต้องครบถ้วนตามลำดับสีและลวดลาย

01661.02 199762
01662

ตรวจสอบความถูกต้องของเส้นยืนในขณะที่เตรียม

1. ตรวจสอบคุณลักษณะของเส้นยืนที่เตรียมไว้ได้อย่างถูกต้อง 

01662.01 199765
01662

ตรวจสอบความถูกต้องของเส้นยืนในขณะที่เตรียม

2. ตรวจสอบจำนวนและความยาวเส้นยืน ได้ถูกต้อง

01662.02 199766

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคและแบบ

2. ปฏิบัติการเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของเส้นยืนในขณะที่เตรียม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กี่ทอผ้าด้วยมือและอุปกรณ์การดูแลรักษา

2. ชนิดเส้นใยและขนาดเส้นด้าย

3. ขั้นตอนและวิธีการเตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคเกาะและล้วง

4. ขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบการเตรียมเส้นพุ่งสำหรับผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคเกาะและล้วง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ 

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการทอผ้าด้วยเทคนิคเกาะและล้วง และ/หรือ  

2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากร สถานประกอบการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการเตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคและแบบที่กำหนด

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการเตรียมเส้นยืนให้เหมาะสมกับเทคนิคและแบบ

2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของเส้นยืนในขณะที่เตรียม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เตรียมเส้นยืนบนกี่ทอผ้าที่ผลิตด้วยเทคนิคเกาะ/ล้วงได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนขึ้นอยู่กับกระบวนการเตรียมเส้นยืนของแต่ละท้องถิ่นประกอบด้วย

1.1 ลงแป้งเส้นยืน

1.2 กรอเข้าหลอด

1.3 เดินเส้นยืน

1.4 ร้อยฟันหวี

1.5 สืบหูก/ต่อเส้นยืน

1.6 หวีและม้วนเส้นยืน

1.7 เก็บตะกอ

2. ตรวจสอบเตรียมกี่ทอผ้าได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนพร้อมใช้งานสำหรับการผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคเกาะ/ล้วง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ