หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-AQYS-232A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349    -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ISCO 2133    -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม 

                   -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ

                   -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือนโดยใช้ตัวชี้วัด และเกณฑ์การพิจารณาอย่างเหมาะสม สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบด้านเสียง/ความสั่นสะเทือนได้ สามารถกำหนดเกณฑ์พิจารณาข้อมูลที่น่าสงสัยหรือผิดปกติ พร้อมทั้งวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งความผิดปกติของข้อมูล และรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข และจัดทำรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านเสียงและความสั่นสะเทือน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25512)    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25513)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร 4)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน5)    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ.2553)6)    ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป7)    ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ.2550) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM127.01 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ระบุความผิดปกติของข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุ

1. รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลหรือผลการตรวจวัด 

198973
EM127.01 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ระบุความผิดปกติของข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุ

2. กำหนดเกณฑ์พิจารณาข้อมูลที่น่าสงสัยหรือผิดปกติ

198974
EM127.01 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ระบุความผิดปกติของข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุ

3. วิเคราะห์หาสาเหตุแห่งความผิดปกติของข้อมูล และรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข 

198975
EM127.02 ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1.วิเคราะห์แนวโน้มของชุดข้อมูลและเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

198976
EM127.02 ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2. ระบุผลการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

198977
EM127.02 ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3. ระบุข้อสังเกตหรือความผิดปกติของผลและให้ข้อเสนอแนะเบื้องต้น

198978
EM127.02 ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

4. จัดทำรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

198979

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ต้องมีความรู้ด้านฟิสิกส์ และอุตุนิยมวิทยา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถระบุตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง ใช้เกณฑ์ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือนตามที่กำหนด

2.    ทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการในการทำงาน การปฏิบัติงานที่ซับซ้อน สามารถกำหนดกรอบการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน

3.    ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน มลพิษทางเสียง/ความสั่นสะเทือน และการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน

2.    หลักการทำงานของเครื่องมือตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน เครื่องมือเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม

3.    หลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนาม

4.    กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม 

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัด การเลือกเกณฑ์การพิจารณาอย่างถูกต้อง สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้เกี่ยวกับการรับและจัดการตัวอย่าง โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับคุณวุฒิที่ 5 เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ในองค์รวมทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน มลพิษทางเสียง/ความสั่นสะเทือน และการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน เพื่อควบคุมและมีส่วนร่วมวางแผน บริหารจัดการ พัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในระดับคุณวุฒิที่ 3 และ 4  ได้

   (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน มลพิษทางเสียง/ความสั่นสะเทือน และการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน หลักการทำงานของเครื่องมือตรวจวัด เครื่องมือเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในภาคสนาม

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน 

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    เกณฑ์การพิจารณา หมายถึง เป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน ที่ใช้อ้างอิงอย่างถูกต้อง

2.    สาเหตุความผิดปกติของข้อมูล หมายถึง ผลของปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้และมีผลต่อการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัด และเกณฑ์การพิจารณาอย่างถูกต้อง

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน

   18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน 

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ