หน่วยสมรรถนะ
วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน
สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | EVM-DTNG-230A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 1349 -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ระดับเสียง/ความสั่นสะเทือน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับมาตรฐานคุณภาพเสียง/ความสั่นสะเทือน พิจารณาข้อมูลที่ผิดปกติ รายงานข้อมูลที่ผิดปกติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ สามารถประเมินความสอดคล้องของข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลในระหว่างการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนและการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ และอ้างอิงผลการตรวจวัดคุณภาพเสียง/ความสั่นสะเทือนกับมาตรฐานไทยและต่างประเทศ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านเสียงและความสั่นสะเทือน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1) พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25512) ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25513) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร 4) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน5) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ.2553)6) ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป7) ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ.2550) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
EM125.01 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน | 1. ทบทวนข้อมูล พิจารณาข้อมูลที่ผิดปกติ รายงานข้อมูลที่ผิดปกติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ |
198965 | |
EM125.01 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน | 2. วิเคราะห์ข้อมูล
ประเมินความสอดคล้องของข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลในระหว่างการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนและการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ |
198966 | |
EM125.02 เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับมาตรฐาน | 1.
อ้างอิงมาตรฐานของเสียง/ความสั่นสะเทือนทั้งในและต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับผลการวัดได้ถูกต้อง |
198967 | |
EM125.02 เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับมาตรฐาน | 2. วิเคราะห์ผลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน เปรียบเทียบกับมาตรฐานได้ถูกต้อง |
198968 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ต้องมีความรู้ด้านฟิสิกส์ และอุตุนิยมวิทยา |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในภาคสนามและวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. มลพิษทางเสียง/ความสั่นสะเทือนที่สำคัญและเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน ในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความรู้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประมวลผลเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน ถือเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อการทำงานที่สำคัญก่อนไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือน |