หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์วัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-USFP-226A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์วัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349    -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ISCO 2133    -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม 

                   -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ

                   -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์วัดเสียง/ความสั่นสะเทือนได้อย่างถูกต้อง ก่อนการใช้เครื่องมือสามารถปรับเทียบ และเตรียมความพร้อมของเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน พร้อมทั้งตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์เสริมและแบตเตอรี่ ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์เสริมของเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน และสามารถเก็บอุปกรณ์เสริมของเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านเสียงและความสั่นสะเทือน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25512)    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 25573)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร 4)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน5)    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ.2553)6)    ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป7)    ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ.2550) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM121.01 เตรียมเครื่องมือสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

1. เตรียมเครื่องมือวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

198930
EM121.01 เตรียมเครื่องมือสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

2. เตรียมเครื่องมือปรับเทียบมาตรฐานเสียง/ความสั่นสะเทือน

198931
EM121.01 เตรียมเครื่องมือสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

3. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

198932
EM121.01 เตรียมเครื่องมือสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

4. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือปรับเทียบมาตรฐานเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

198933
EM121.02 เตรียมอุปกรณ์ เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

1. เตรียมอุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

198934
EM121.02 เตรียมอุปกรณ์ เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

2. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์เสริมและแบตเตอรี่

198935
EM121.02 เตรียมอุปกรณ์ เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

3. ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์เสริมของเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

198936
EM121.02 เตรียมอุปกรณ์ เสริมสำหรับการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

4. เก็บอุปกรณ์เสริมของเครื่องวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

198937
EM121.03 เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่วัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

1.เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามคู่มือ

198938
EM121.03 เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่วัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

2.ตรวจสอบพื้นที่เก็บตัวอย่างให้มีความปลอดภัยตามมาตรการด้านความปลอดภัยของเจ้าของพื้นที่

198939

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมือตรวจวัด อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้

2.    มีทักษะในการอ่านคู่มือหรือมาตรฐานที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

3.    มีทักษะในการบันทึก สามารถบันทึกสภาพแวดล้อมขณะตรวจวัดได้อย่างถูกต้อง

4.    มีทักษะการสื่อสารภาษาเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถแจ้งชื่อเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมได้ถูกต้อง

5.    มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การจำแนกชนิดเครื่องมือและอุปกรณ์เสริม พร้อมการเลือกใช้อย่างถูกต้อง

2.    เข้าใจหลักการทำงานขั้นพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์ เครื่องมือ

3.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์เสริม และการเข้าพื้นที่

4.    มาตรการด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นสำหรับตนเองและผู้อื่นระหว่างการตรวจวัด

5.    มีความสามารถในการใช้งานเครื่องมือตรวจวัด การอ่านค่า และวิเคราะห์ผล

6.    มีความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน 

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์เสริม และเตรียมพื้นที่ตรวจวัด โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์เสริม และเตรียมพื้นที่ตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนในระดับคุณวุฒิที่ 3 เป็นการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนให้ผู้ที่รับผิดชอบสามารถดำเนินการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนได้ อย่างถูกต้อง ดังนั้น ต้องจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้ตามแผนการเก็บตัวอย่างหรือคู่มือการปฏิบัติงาน 

   (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมที่ทำให้ได้ข้อมูลเสียง/ความสั่นสะเทือนที่ถูกต้อง การเตรียมอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะตรวจวัดที่สอดคล้องตามวิธีที่กำหนดและเพียงพอต่อการใช้งาน

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือ พร้อมทั้งตรวจสอบพื้นที่เก็บตัวอย่างให้มีความปลอดภัยตามมาตรการด้านความปลอดภัยของเจ้าของพื้นที่

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    เสียง/ตัวอย่างเสียง หมายถึง ระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงทุกประเภท

2.    ความสั่นสะเทือน/ตัวอย่างความสั่นสะเทือน หมายถึง ความสั่นสะเทือนที่ทำหรือไม่ทำให้เกิดการล้าและการสั่นพ้องของโครงสร้างอาคาร

3.    เครื่องมือสำหรับวัดเสียงหรือมาตรระดับเสียง หมายถึง เครื่องวัดระดับเสียงตามมาตรฐาน IEC 60804 หรือ IEC 61672 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission, IEC)

4.    เครื่องมือสำหรับวัดความสั่นสะเทือน เครื่องวัดความสั่นสะเทือนตามมาตรฐาน

DIN 45669-1 ของประเทศเยอรมัน (Deutsches Institut für Normung) หรือเครื่องวัดความสั่นสะเทือนตามมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศ ว่า ด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ที่ ISO ๔๘๖๖ หรือเครื่องวัดความสั่นสะเทือนอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าตามที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ

5.    เครื่องมือปรับเทียบมาตรระดับเสียง หมายถึง พิสตันโฟน (Piston Phone) หรืออะคูสติคคาลิเบรเตอร (Acoustic Calibrator) เพื่อใช้ปรับเทียบมาตรวัดระดับเสียงกับเครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐาน หรือตรวจสอบตามคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตมาตรระดับเสียงกำหนดไว้ ก่อนและหลังการตรวจวัดระดับเสียง

6.    เครื่องมือปรับเทียบมาตรความสั่นสะเทือน หมายถึง เครื่องกำเนิดความสั่นสะเทือนมาตรฐานที่ใช้ในการปรับเทียบมาตรความสั่นสะเทือน หรือการสอบเทียบตามคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตมาตรระดับความสั่นสะเทือนกำหนดไว้ ก่อนและหลังการตรวจวัดระดับความสั่นสะเทือน

7.    อุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดเสียง หมายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม เช่น เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น) คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เพื่อบันทึกรายละเอียดสภาพแวดล้อมระหว่างการตรวจวัด 

8.    อุปกรณ์เสริมสำหรับการวัดความสั่นสะเทือน หมายถึงอุปกรณ์สำหรับยึดติดหัววัดความสั่นสะเทือน คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เพื่อบันทึกรายละเอียดระหว่างการตรวจวัด 

9.    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามข้อกำหนดของเจ้าของพื้นที่

10.    คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนตามวิธีที่กำหนด

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน

   18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน

   18.3    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัด

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน

     



ยินดีต้อนรับ