หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บตัวอย่างอากาศ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-BNRH-219A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บตัวอย่างอากาศ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349    -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ISCO 2133    -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม 

                   -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ

                   -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเก็บตัวอย่างอากาศได้อย่างถูกต้องตามวิธีที่กำหนด สามารถระบุลำดับขั้นการเก็บตัวอย่างในภาคสนามตามคู่มือการปฏิบัติงาน และบ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง ระบุมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2)    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และ3)    เทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 25574)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป5)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 25496)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560) กำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศ7)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2553) กำหนดมาตรฐานฝุ่นละออกขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป8)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2552) กำหนดค่ามาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศทั่วไป9)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2550) กำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ปี10)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป11)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2547) กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป12)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยาการทั่วไป13)    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2554) กำหนดมาตรฐานค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ชั่วโมง14)    ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม  พ.ศ. 2551) กำหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง15)    ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 106ง วันที่ 30 ตุลาคม 2545) กำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. 254516)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป 119 ตอนที่ 7 ง วันที่ 22 มกราคม 2545) กำหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พ.ศ. 254417)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 113 ง วันที่ 7 ตุลาคม 2547) กำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 254718)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 52 ง วันที่ 14 กรกฎาคม 2548) กำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานกรณีการใช้น้ำมันใช้แล้วผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม พ.ศ. 254819)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 254920)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 254921)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. 2549)22)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณเขม่าที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำโรงสีข้าวที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 254923)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน พ.ศ. 254924)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ.  2549) 25)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน26)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องควันของหม้อน้ำโรงสีข้าวที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 254927)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 123 ตอนพิเศษ 125 ง วันที่ 4 ธันวาคม 2549) กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน พ.ศ. 254928)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 115 ง วันที่ 17 กันยายน 2550) การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.  255029)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 146 ง วันที่ 20 ธันวาคม 2553) กำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม พ.ศ. 255330)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 129 ตอนพิเศษ 88 ง วันที่ 1 มิถุนายน 2555) กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติในการตรวจสอบและควบคุมการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.  255531)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 102 ง วันที่ 28 มิถุนายน 2555) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิตแก้วและกระจก พ.ศ. 255532)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนพิเศษ 139 ง วันที่ 21 สิงหาคม 2558) การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.  255833)    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 38 ง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560) กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ พ.ศ.  255934)    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 96 ง วันที่ 10 สิงหาคม 2553) กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2555 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

1. ระบุลำดับขั้นการเก็บตัวอย่างในภาคสนามตามคู่มือการปฏิบัติงาน

198870
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

2. บ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง 

198871
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

3. ระบุมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

198872
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

4. เลือกเวลาและสถานที่เก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน

198873
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

5. ใช้แผนที่และค้นหาพิกัดด้วย global positioning systems (GPS) เพื่อบันทึกพิกัดของจุดเก็บตัวอย่าง

198874
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

6. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือ และปรับเทียบตามวิธีการที่กำหนด

198875
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

7. ติดตั้งอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม บันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะเก็บตัวอย่าง

198876
EM112.01 เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

8. ตรวจสอบอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง

198877
EM112.02 เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

1. ระบุลำดับขั้นการเก็บตัวอย่างในภาคสนามตามคู่มือการปฏิบัติงาน

198878
EM112.02 เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

2. บ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง ระบุมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

198879
EM112.02 เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

3. เลือกเวลาและสถานที่เก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน

198880
EM112.02 เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

4. ใช้แผนที่และค้นหาพิกัดด้วย global positioning systems (GPS) เพื่อบันทึกพิกัดของจุดเก็บตัวอย่าง

198881
EM112.02 เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

5. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือ และปรับเทียบตามวิธีการที่กำหนด

198882
EM112.02 เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

6. ติดตั้งอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม บันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะเก็บตัวอย่าง

198883

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสาร ใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถแจ้งลำดับการทำงานและติดต่อกับทีมงานเพื่อให้การเก็บตัวอย่างได้ถูกต้องและสมบูรณ์ 

2.    ทักษะการนำเสนอความคิดเห็น สามารถเลือกกำหนดตำแหน่งจุดเก็บ วิธีการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสมตามเกณฑ์กำหนด อธิบายเหตุความจำเป็นในการปฏิบัติงานต่อผู้รับบริการ ติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกันได้

3.    ทักษะการปฏิบัติงาน

-    ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้

-    รับตัวอย่างและบันทึกสภาพตัวอย่างได้

-    เก็บรักษาตัวอย่างของเสียก่อนและหลังการเก็บตัวอย่างได้

-    มีทักษะในการอ่านคู่มือหรือมาตรฐานที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

-    มีทักษะในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ และประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์

-    มีทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ

2.    หลักการ วิธีการเก็บตัวอย่างก๊าซ สารอินทรีย์ระเหยง่าย และฝุ่นละอองในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน

3.    หลักการ วิธีการการใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างก๊าซ สารอินทรีย์ระเหยง่าย และฝุ่นละอองในภาคสนาม พร้อมทั้งบ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ

4.    การใช้แผนที่และค้นหาพิกัดด้วย global positioning systems (GPS)

5.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่าง

6.    มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม (ถ้ามี)

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจชนิดของสารมลพิษทางอากาศ หลักการ วิธีการเก็บตัวอย่างก๊าซ สารอินทรีย์ระเหยง่าย และฝุ่นละอองในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน และการใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การเก็บตัวอย่างอากาศในระดับคุณวุฒิที่ 3 เป็นการรวบรวมตัวอย่างอากาศให้ผู้มีหน้าที่รักษาสภาพ ขนส่ง และส่งมอบตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในระดับคุณวุฒิที่ 3 

   (ก)    คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการเก็บตัวอย่างอากาศ การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง   และมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน ความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือที่ใช้ และการปรับเทียบตามวิธีมาตรฐาน การระบุตำแหน่งการเก็บตัวอย่าง

1.    ตัวอย่างอากาศ เช่น ตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหยง่าย  

2.    ข้อมูลสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ความเร็วลม 

3.    ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน หมายถึง ตัวอย่างอากาศที่เก็บ ณ เวลาและจุดเก็บที่เหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรายงานผล

4.    การปรับเทียบเครื่องมือ เป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือเก็บตัวอย่างก่อนการเก็บจริง โดยมีวิธีมาตรฐานกำหนดไว้สำหรับเครื่องมือแต่ละชนิด

5.    พิกัดของจุดเก็บตัวอย่าง หมายถึง พิกัดที่ระบุตำแหน่งที่ตั้งของจุดเก็บที่รายงานจากเครื่อง GPS ที่ใช้ในระบบสากล

6.    การเก็บตัวอย่างอากาศ หมายถึง การเก็บตัวอย่างอากาศที่เป็นฝุ่นละออง ก๊าซ สารอินทรีย์ระเหย ณ จุดที่สนใจติดตามประเมินผลคุณภาพด้านอากาศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างก๊าซ ตามวิธีการที่กำหนด

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน

   18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ