หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-HIYU-216A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349    -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ISCO 2133    -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม 

                   -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ

                   -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนโดยใช้ตัวชี้วัด และเกณฑ์การพิจารณาอย่างเหมาะสม สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนได้ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน -    วิธีการปฏิบัติ สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำ, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ-    คู่มือการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทะเล, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ-    คู่มือการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาล, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ด้านมลพิษอากาศ และอุตุนิยมวิทยา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถระบุตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง ใช้เกณฑ์ประเมินการติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนตามที่กำหนด

2.    ทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการในการทำงาน การปฏิบัติงานที่ซับซ้อน สามารถกำหนดกรอบการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

3.    ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษทางและการตรวจวัดมลพิษในน้ำ ดินและดินตะกอน

2.    หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด

3.    หลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม

4.    กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม 

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัด และเกณฑ์การพิจารณาอย่างเหมาะสม สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนในระดับคุณวุฒิที่ 5 เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ในองค์รวมด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษและการตรวจวัดมลพิษในน้ำ ดินและดินตะกอน เพื่อควบคุมและมีส่วนร่วมวางแผน บริหารจัดการ พัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในระดับคุณวุฒิที่ 3 และ 4  ได้

   (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษและการตรวจวัดมลพิษในน้ำ ดินและดินตะกอน หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน 

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน หมายถึง การตรวจวัดคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย สังคม และสภาวะแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดที่เกี่ยวข้อง 

2.    ตัวชี้วัด หมายถึง ชนิดและปริมาณมลสารในน้ำ ดินและดินตะกอน ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดสถานการณ์ที่แสดงนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ปัญหาความรุนแรง ในเรื่องหนึ่ง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา และในแต่ละพื้นที่ ตัวชี้วัดสามารถสะท้อนแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนอาจจะนำมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่หนึ่ง ๆ

3.    เกณฑ์ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน เป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนโดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนที่ใช้อ้างอิงอย่างเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ กิจกรรมและแหล่งกำเนิดของมลสารทางน้ำ ดินและดินตะกอน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ระบุความผิดปกติของข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุ

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน

   18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ