หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-UOWG-213A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349    -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ISCO 2133    -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม 

                   -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ

                   -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถดำเนินการตามแผนการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัดและการขนส่งตัวอย่างน้ำ ดินและดินตะกอน พร้อมทั้งดูแลการเก็บตัวอย่างและการขนส่งตัวอย่างน้ำ ดิน และดินตะกอนได้ พร้อมทั้งสามารถทบทวนและยืนยันแผนการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัด และเอกสารบันทึกการเก็บตัวอย่าง ยืนยันแผนการขนส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ และตรวจสอบและยืนยันรายการอุปกรณ์เก็บตัวอย่างและรักษาตัวอย่าง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน-    วิธีการปฏิบัติ สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำ, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ-    คู่มือการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทะเล, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ด้านมลพิษอากาศ และอุตุนิยมวิทยา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    มีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด  และการขนส่งตัวอย่างได้ 

2.    มีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ประเมินผลการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด  และการขนส่งตัวอย่าง หาแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ศึกษาได้

3.    มีทักษะด้านความปลอดภัย ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การจัดการของเสียที่เกิดระหว่างและสิ้นสุดการเก็บตัวอย่างได้

4.    มีทักษะด้านการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน สามารถแจ้งชื่อเครื่องมือเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด การขนส่งตัวอย่าง ศัพท์เฉพาะที่ใช้กับการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดให้ผู้ร่วมงานได้ถูกต้อง

5.    มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด  และการขนส่งตัวอย่างน้ำ ดิน และดินตะกอน 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ชนิดของสารมลพิษในน้ำ ดิน และดินตะกอน

2.    หลักการ วิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด การขนส่งตัวอย่างน้ำ ดิน และดินตะกอน

3.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน และดินตะกอน

4.    มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม 

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจชนิดของสารมลพิษในน้ำ ดิน และดินตะกอน หลักการ วิธีการวิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด การขนส่งตัวอย่างน้ำ ดิน และดินตะกอน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ควบคุมดูแลการเก็บตัวอย่างและการขนส่งตัวอย่างในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด และการปฏิบัติงานในภาคสนามที่ครอบคลุมหลายขั้นตอนจนนำไปสู่ข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหาเบื้องต้น ถือเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานในระดับคุณวุฒิที่ 3 และเป็นประสบการณ์การทำงานที่สำคัญก่อนไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และการขนส่งตัวอย่าง อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง และมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และการขนส่งตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน มีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นไปตามวิธีมาตรฐาน

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตัวอย่าง หมายถึง ตัวอย่างน้ำ ตัวอย่างดิน และตัวอย่างดินตะกอน 

2.    ตัวอย่างน้ำ หมายถึง น้ำทุกประเภทที่มีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำจืด น้ำทะเล น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำเสีย น้ำทิ้ง ฯลฯ

3.    ตัวอย่างดิน หมายถึง ดินทุกประเภทที่มีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

4.    ตัวอย่างดินตะกอน หมายถึง ดินตะกอนทุกประเภทที่มีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ดินตะกอนน้ำผิวดิน ดินตะกอนทะเล ฯลฯ …

5.    การตรวจวัด หมายถึง การตรวจวัดพารามิเตอร์หลักของการตรวจวัดตัวอย่าง เช่น อุณหภูมิ ค่า pH การนำไฟฟ้า 

6.    การขนส่งตัวอย่าง หมายถึง การเคลื่อนย้ายตัวอย่างจากบริเวณที่ทำการศึกษาในภาคสนามไปยังห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วางแผนการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัดและการขนส่งตัวอย่าง 

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ควบคุมดูแลการเก็บตัวอย่าง

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3   เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ควบคุมดูแลการขนส่งตัวอย่าง

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ