หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-UVAD-211A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349    -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ISCO 2133    -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม 

                   -นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ

                   -นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

                   -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างดิน เก็บตัวอย่างตามแผนการเก็บตัวอย่าง ทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (field testing) และบันทึกค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือตรวจวัดได้ ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด รักษาสภาพตัวอย่าง เคลื่อนย้ายและส่งมอบตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการโดยรักษาภาวะในการเก็บและเคลื่อนย้ายตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน -    วิธีการปฏิบัติ สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำ, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ-    คู่มือการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทะเล, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ-    คู่มือการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาล, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถเก็บตัวอย่างดิน ทดสอบตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (field testing) รักษาและนำส่งตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการ

2.    ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งชื่ออุปกรณ์ สารเคมีที่ใช้ได้ถูกต้อง

3.    ทักษะการติดต่อประสานงาน มีวินัย สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 

4.    ทักษะการอ่าน สามารถอ่านคู่มือและเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมีที่ใช้ได้ถูกต้อง 

5.    ทักษะการบันทึก สามารถบันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บตัวอย่างน้ำเสีย

6.    ทักษะการนำเสนอความคิดเห็น สามารถเลือกวิธีการในการจัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมีที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด

7.    ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำและคำนึงถึงความปลอดภัย

8.    ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นสำหรับตนเองและผู้อื่นระหว่างการเก็บตัวอย่าง

2.    การระบุอุปกรณ์และเครื่องมือในการเก็บตัวอย่าง

3.    การบ่งชี้สภาพของภาชนะบรรจุตัวอย่างและเครื่องหมาย ฉลาก หรือป้าย

4.    การระบุอุปกรณ์และเครื่องมือ และวิธีการในการจัดเก็บและรักษาตัวอย่างประเภทต่าง ๆ

5.    มีความรู้ความสามารถในการใช้งานเครื่องมือตรวจวัดพารามิเตอร์ของดิน การอ่านค่า และวิเคราะห์ผล

6.    ความรู้เรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม 

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

1.    ใช้การสอบข้อเขียนตามแบบทดสอบที่กำหนด 

2.    ใช้การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3.    ใช้การสอบสาธิตการปฏิบัติงาน 

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การเก็บตัวอย่างดิน ทดสอบตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (field testing) รักษาและนำส่งตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการ ระดับคุณวุฒิที่ 3 เป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างดินทุกประเภทเพื่อตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเก็บตัวอย่างดินตามแผนการเก็บตัวอย่าง ทดสอบตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (field testing) รักษาสภาพ เคลื่อนย้าย และส่งมอบตัวอย่างให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้การปฏิบัติข้างต้นเป็นการปฏิบัติงานตามคู่มือการปฏิบัติงานและต้องสามารถปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน ระดับคุณวุฒิที่ 4 

   (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์เก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน การเตรียมสารที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างในภาคสนาม การเตรียมอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะเก็บตัวอย่างที่สอดคล้องตามวิธีที่กำหนดและเพียงพอต่อการใช้งาน

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามคู่มือ พร้อมทั้งตรวจสอบพื้นที่เก็บตัวอย่างให้มีความปลอดภัยตามมาตรการด้านความปลอดภัยของเจ้าของพื้นที่

3.    ผู้เข้ารับการประเมินควรศึกษาเอกสารคู่มือการเก็บตัวอย่างมลพิษ (น้ำ อากาศ ดิน กากอุตสาหกรรม) จัดทำโดยสำนักวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตัวอย่างดิน หมายถึง ดินทุกประเภทที่มีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.    อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง หมายถึง ภาชนะหรืออุปกรณ์สำหรับเก็บตัวอย่างดิน เช่น อุปกรณ์ขุดเจาะ อุปกรณ์ตักดิน ผสมดิน แผ่นพลาสติก เป็นต้น

3.    สารที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง หมายถึง สารเคมีที่ใช้รักษาสภาพตัวอย่างดิน เช่น โพแทสเซียม ไนเทรต (KNO3) แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เป็นต้น

4.    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เพื่อป้องกันการรับหรือสัมผัสสารอันตราย เช่น แว่นตานิรภัย เสื้อคลุมปฏิบัติการ ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น

5.    ภาชนะบรรจุ หมายถึงภาชนะที่ใช้บรรจุตัวอย่างดิน เช่น ถุงพลาสติก

6.    คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเก็บตัวอย่าง 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย รับตัวอย่าง บันทึกสภาพตัวอย่าง

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

   18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดการตัวอย่างและเก็บรักษาตัวอย่างของเสียก่อนและหลังการทดสอบ

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ