หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบความสมบูรณ์ของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW ด้วยแรงดันน้ำ (hydro test)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ STI-LWGQ-019A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบความสมบูรณ์ของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW ด้วยแรงดันน้ำ (hydro test)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 8121 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานแปรรูปโลหะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่จะใช้ทดสอบ เดินเครื่องและตรวจสอบการรั่วของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW ด้วยเครื่อง Hydro test ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0111901 กำหนดค่าพารามิเตอร์ (parameter) ที่จะใช้ทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 1. อธิบายหลักการทดสอบความสมบูรณ์ของท่อตะเข็บตรงERW ด้วยแรงดันน้ำได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111901.01 97597
0111901 กำหนดค่าพารามิเตอร์ (parameter) ที่จะใช้ทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 2. ระบุค่าแรงดันน้ำในการทดสอบได้ถูกต้องตามขนาดและชนิดของท่อ 0111901.02 97598
0111901 กำหนดค่าพารามิเตอร์ (parameter) ที่จะใช้ทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 3. ระบุค่าระยะเวลาในการทดสอบได้ถูกต้องตามขนาดและชนิดของท่อ 0111901.03 97599
0111902 เดินเครื่อง Hydro test เพื่อทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 1. อธิบายการทำงานของเครื่องHydro Test ได้ถูกต้องตามหลักการ 0111902.01 97600
0111902 เดินเครื่อง Hydro test เพื่อทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 2. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่อง Hydro Test เบื้องต้นได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111902.02 97601
0111902 เดินเครื่อง Hydro test เพื่อทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 3. ตั้งค่าแรงดันน้ำและระยะเวลาในการทดสอบได้ถูกต้องตามขนาดและชนิดของท่อ 0111902.03 97602
0111902 เดินเครื่อง Hydro test เพื่อทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW 4. เดินเครื่อง Hydro Test ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111902.04 97603
0111903 ตรวจสอบการรั่วของของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW ด้วยเครื่อง Hydro test 1. อ่านค่าจากเครื่องHydro Test ได้ถูกต้องตามหลักการ 0111903.01 97604
0111903 ตรวจสอบการรั่วของของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW ด้วยเครื่อง Hydro test 2. แปรผลการทดสอบ Hydro Test เพื่อดูความสมบูรณ์ของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรงERW ได้ถูกต้องตามหลักการ 0111903.02 97605

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความปลอดภัยในงานทั่วไป

2. การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3. การใช้เครื่องมือวัด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การปรับตั้งเครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการทำงานของเครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test)

2. คู่มือการใช้เครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ทดสอบแรงดันน้ำ ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์หรือใบสั่งผลิต

2. สามารถบำรุงรักษาเครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test) เบื้องต้น

3. กรณีที่ไม่มีเครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test) ไม่ต้องใช้ทักษะความรู้ในเรื่องนี้

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถใช้เครื่องเฟซปลายท่อ และบำรุงรักษาเบื้องต้นได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“เครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test)” หมายถึง เครื่องที่ใช้สำหรับทดสอบความสมบูรณ์ของตะเข็บท่อตรงแบบ ERW โดยใช้น้ำในการทดสอบซึ่งแรงดันน้ำที่ใช้ในการทดสอบจะเป็นไปตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ้างอิงในการผลิตหรือตามข้อกำหนดของลูกค้า

“การบำรุงรักษาเครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test) เบื้องต้น” หมายถึง การบำรุงรักษาประจำวัน เช่น การตรวจสอบทั่วไป การทำความสะอาด และการหล่อลื่นอย่างถูกวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวพนักงานเองตามคำแนะนำของคู่มือ เพื่อรักษาสภาพของเครื่องทดสอบแรงดันน้ำ (hydro test) ให้มีสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ถ้าพบความผิดปกติให้แจ้งหัวหน้าทราบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความสามารถในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ (parameter) ที่จะใช้ทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW

   1) แบบทดสอบข้อเขียน

   2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

   3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมินความสามารถในการเดินเครื่อง Hydro test เพื่อทดสอบท่อตะเข็บตรง ERW   

   1) แบบทดสอบข้อเขียน

   2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

   3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.3 เครื่องมือประเมินความสามารถในการตรวจสอบการรั่วของแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW ด้วยเครื่อง Hydro test

   1) แบบทดสอบข้อเขียน

   2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

   3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดตามคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ