หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถอด ประกอบ และปรับตั้งลูกรีด ชุด Forming SQ Sizing

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ STI-MFRN-010A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถอด ประกอบ และปรับตั้งลูกรีด ชุด Forming SQ Sizing

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 8121 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานแปรรูปโลหะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถถอด ประกอบ และปรับตั้งลูกรีดชุด Forming ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0111001 ถอดลูกรีด (roller) 1. อธิบายขั้นตอนการถอดลูกรีด(roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111001.01 97506
0111001 ถอดลูกรีด (roller) 2. ถอดลูกรีดชุด Forming ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111001.02 97507
0111001 ถอดลูกรีด (roller) 3. ถอดลูกรีดชุด SQ ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111001.03 97508
0111001 ถอดลูกรีด (roller) 4. ถอดลูกรีดชุด Sizing ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111001.04 97509
0111002 ประกอบลูกรีด (roller) 1. อธิบายขั้นตอนการประกอบลูกรีด(roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111002.01 97510
0111002 ประกอบลูกรีด (roller) 2. ประกอบลูกรีดชุด Forming ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111002.02 97511
0111002 ประกอบลูกรีด (roller) 3. ประกอบลูกรีดชุด SQ ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111002.03 97512
0111002 ประกอบลูกรีด (roller) 4. ประกอบลูกรีดชุด Sizing ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111002.04 97513
0111003 ปรับตั้งลูกรีด (roller) 1. อธิบายขั้นตอนการปรับตั้งลูกรีด(roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปรับตั้ง 0111003.01 97514
0111003 ปรับตั้งลูกรีด (roller) 2. ปรับตั้งลูกรีด (roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปรับตั้ง 0111003.02 97515
0111003 ปรับตั้งลูกรีด (roller) 3. บันทึกรายงานการปรับตั้งลูกรีด (roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0111003.03 97516

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2. การใช้เครื่องมือวัด

3. การใช้รอกและเครน

4. ความปลอดภัยในงานทั่วไป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การถอด ประกอบ ลูกรีดชุดForming

2. การปรับตั้งลูกรีดชุดForming

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการรีดขึ้นรูปชุดForming

2. คู่มือการปรับตั้งลูกรีดชุดForming


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ปรับตั้งลูกรีด (roller) ให้ได้ท่อตรงตามใบสั่งผลิต

   (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความสามารถถอด ประกอบและปรับตั้งลูกรีดชุด Forming ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้

  (ข) คำอธิบายรายละเอียด

  ลูกรีด (roller) สำหรับผลิตท่อตะเข็บตรงแบบ ERW ประกอบด้วยลูกรีด 3 ชุดดังนี้ 

  1) “ลูกรีดชุด Forming” หมายถึง ลูกรีดสำหรับขึ้นรูปเหล็กม้วน ให้เป็นรูปทรงกระบอก

  2) “ลูกรีด ชุด SQ” หมายถึง ลูกรีดสำหรับใช้บีบอัดแนวเชื่อมท่อตะเข็บตรง ERW

  3) “ลูกรีด ชุด Sizing” หมายถึง ลูกรีดที่ใช้สำหรับควบคุมขนาดให้เป็นไปตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ในกรณีที่เป็นท่อกลม และใช้สำหรับขึ้นรูปจากทรงกลมให้เป็นท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หรือตามข้อกำหนดของลูกค้า

“ปรับตั้งลูกรีด (roller)” หมายถึง การขึ้นรูปเหล็กม้วนโดยใช้ลูกรีดปรับตั้งให้ได้ขนาดท่อตามใบสั่งผลิตหรือตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ้างอิงการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความสามารถในการถอดลูกรีด (roller)

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมินความสามารถในการประกอบลูกรีด (roller)

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.3 เครื่องมือประเมินความสามารถในการปรับตั้งลูกรีด (roller)

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดตามคู่มือประเมิน 



ยินดีต้อนรับ