หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-TCCV-997A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด) โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการ และกระบวนการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพและการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่ง (มาตรฐานสินค้าเกษตรของ มกอช.) และมีทักษะได้แก่ สามารถเตรียมอุปกรณ์ที่ให้ในการขนส่ง และรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่งได้อย่างถูกต้อง สามารถดำเนินการขนส่งปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพได้ และสามารถดำเนินการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่งได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C151

ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพ



1) อธิบายหลักในการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันได้


C151.01 197015
C151

ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพ



2) อธิบายกระบวนการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันได้


C151.02 197016
C151

ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพ



3) อธิบายวิธีการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพได้


C151.03 197017
C151

ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพ



4) ดำเนินการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้อได้อย่างมีคุณภาพ


C151.04 197018
C152

รักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่ง (มาตรฐานสินค้าเกษตรของ มกอช.)

1) อธิบายหลักการปฏิบัติในการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่งได้


C152.01 197019
C152

รักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่ง (มาตรฐานสินค้าเกษตรของ มกอช.)

2) เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่งได้อย่างถูกต้อง


C152.02 197020
C152

รักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่ง (มาตรฐานสินค้าเกษตรของ มกอช.)

3) ดำเนินการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่งได้อย่างถูกต้อง


C152.03 197021

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด)

    2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม และดำเนินการปฏิบัติการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด)

    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด) ได้อย่างถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในขั้นตอนและกระบวนการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีคุณภาพ

    2) มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์และดำเนินการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างการขนส่ง (มาตรฐานสินค้าเกษตรของ มกอช.)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา

    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

    2) ผลการสอบข้อเขียน

    3) หลักฐานวุฒิการศึกษา

    4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 

    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด 

    (ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง

    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันสู่แหล่งรับซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (โรงงานสกัด) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

    (ก) คำแนะนำ

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1) การรวบรวมผลิต และการขนส่งสู่โรงงาน : หลังจากการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันจะต้องทำการลำเลียงทะลายปาล์มน้ำมันมารวมกองอาจจะรวมกองบริเวณข้างถนนเพื่อบรรทุกส่งโรงงาน สำหรับสวนขนาดเล็กอาจจะใช้แรงงานในครอบครัว ใช้หามหรือรถเข็นก็จะเป็นการเพียงพอแล้ว สำหรับการรวมทะลายปาล์มให้มีประสิทธิภาพในสวนขนาดใหญ่ เจ้าของสวนจะต้องวางแผนเส้นทางในการลำเลียงโดยจัดทำถนนซอยในแปลง และจะต้องวางระบบ และวิธีการในการลำเลียงเพื่อให้สามารถนำเครื่องมือเข้าไปช่วยการขนย้ายได้ เช่น รถเทรลเลอร์ รถแทรกเตอร์พ่วงเทรลเลอร์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการขนย้าย เป็นต้น

การขนย้ายทะลายปาล์มอาจจะกระทำได้หลายวิธีเช่น วิธีดั้งเดิมใช้แบกหามออกมาจากแปลง วิธีใช้รถเทรลเลอร์ขนย้ายออกมาจากแปลง วิธีใช้ตาข่ายรวบรวมทะลายปาล์ม และใช้รถยกยกข่าย ขึ้นรถบรรทุกเพื่อส่งไปยังโรงงานต่อไป

     2) รักษาคุณภาพผลผลิตระหว่างขนส่ง หมายถึง ผลผลิตที่ขนส่งจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากจุดรวบรวมผลผลิตไปยังโรงสกัด

     3) กฎระเบียบและกฎหมายในการขนส่ง หมายถึง กฎต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทะลายปาล์มน้ำมัน จากแหล่งรวบรวมไปยังโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เอกสาร การขออนุญาตการขนส่ง น้ำหนักในการบรรทุก ความสูงของการบรรทุก รวมไปถึงความปลอดภัยในการขนส่ง

     4) ความปลอดภัยในการขนส่ง หมายถึง ความปลอดภัยของผู้ขนส่งเอง และความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนที่มีการขนส่ง

     5) การขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีประสบการณ์ในการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมัน เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตระหว่างการขนส่ง อีกทั้งสามารถส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ตรงตามเวล คือ 24 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว เพราะถ้าส่งช้าจะทำให้ค่าความเป็นกรดไขมันอิสระมีค่าสูง ซึ่งจะทำให้น้ำมันเสีคุณภาพ

     6) การบริหารจัดการโลจิสติกส์ปาล์มน้ำมัน ที่มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัยวิธีการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนให้มีความเหมาะสม โดยต้องยึดหลักพื้นฐานของโลจิสติกส์ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาและเพิ่มคุณค่าให้กับปาล์มน้ำมันตามความพึงพอใจของลูกค้ามากที่สุด ในเวลาอันรวดเร็วและเกิดต้นทุนการขนส่งหรือโลจิสติกส์ที่ต่ำที่สุด ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์ปาล์มน้ำมันที่เกิดประสิทธิภาพได้นั้นต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ คือ เริ่มจาก ปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลถึงคุณภาพผลผลิตจากสวนของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และการพิจารณาในด้านโครงสร้างต้นทุนการขนส่งผลผลิตไปถึงผู้รับซื้อรายย่อยหรือโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพของน้ำมันปาล์มก่อนนำไปสู่กระบวนการใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน หรือนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปหลายชนิด โดยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ต้องก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ กิจกรรมโลจิสติกส์ และการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งหลักการบริหารจัดการต้นทุนการขนส่งซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของโลจิสติกส์ในการกระจายหรือเคลื่อนย้ายผลผลิตปาล์มน้ำมันไปยังลูกค้า โดยสามารถวัดประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ทั้งด้านปริมาณผลผลิต ด้านเวลาการดำเนินงาน ด้านคุณภาพและด้านต้นทุนที่เกิดจากต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เพื่อนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาการเลือกใช้รถให้มีความเหมาะสมกับปริมาณผลผลิตและระยะทางการขนส่ง รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าสูงสุด ให้กับสินค้าของผู้ขายและผู้รับซื้อปาล์มน้ำมัน ส่งผลถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่มีต้นทุนต่ำสุด 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ