หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BLJU-993A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน 


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำแนกประเภท องค์ประกอบ และลักษณะของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน มีความรู้เกี่ยวกับความสุกของผลปาล์มน้ำมัน เปอร์เซ็นต์ของปาล์มน้ำมันในระดับความสุกของผลปาล์มน้ำมันและความสัมพันธ์ระหว่างความสุกของผลปาล์มน้ำมันกับเปอร์เซ็นต์น้ำมัน และมีทักษะได้แก่ สามารถระบุประเภท องค์ประกอบและลักษณะของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมันได้ และสามารถระบุความสุกและเปอร์เซ็นต์น้ำมันในผลปาล์มน้ำมันได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ทะลายปาล์มน้ำมัน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 5702-2552

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C111

จำแนกประเภทและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายประเภทและลักษณะของผลปาล์มน้ำมันได้


C111.01 196980
C111

จำแนกประเภทและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน


2) อธิบายประเภทและลักษณะของเมล็ดปาล์มน้ำมันได้


C111.02 196981
C111

จำแนกประเภทและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน


3) อธิบายองค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมันได้


C111.03 196982
C111

จำแนกประเภทและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน


4) อธิบายองค์ประกอบของเมล็ดปาล์มน้ำมันได้


C111.04 196983
C111

จำแนกประเภทและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน


5) ระบุประเภทของผลปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


C111.05 196984
C111

จำแนกประเภทและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน


6) ระบุองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


C111.06 196985
C112

จำแนกความสุกของผลปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายลักษณะความสุกของผลปาล์มน้ำมันได้


C112.01 196986
C112

จำแนกความสุกของผลปาล์มน้ำมัน


2) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความสุกของผลปาล์มน้ำมันกับเปอร์เซ็นต์น้ำมันได้


C112.02 196987
C112

จำแนกความสุกของผลปาล์มน้ำมัน


3) อธิบายเปอร์เซ็นต์ของปาล์มน้ำมันในระดับความสุกของผลปาล์มน้ำมันได้


C112.03 196988
C112

จำแนกความสุกของผลปาล์มน้ำมัน


4) ระบุเปอร์เซ็นต์น้ำมันในผลปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


C112.04 196989
C112

จำแนกความสุกของผลปาล์มน้ำมัน


5) ระบุความสุกของผลปาล์มน้ำมันปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


C112.05 196990

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน

    2) มีทักษะในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และดำเนินการประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน

    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในการจำแนกประเภทของผลปาล์มน้ำมันและองค์ประกอบของผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน

    2) มีความรู้ในการจำแนกความสุกของผลปาล์มน้ำมัน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา

    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

    3) ผลการสอบข้อเขียน

    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา

    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 

    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

    (ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง

    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการประเมินคุณภาพขององค์ประกอบของผลปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

    (ก) คำแนะนำ

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1) ผลปาล์มน้ำมัน มีลักษณะเป็นรูปเรียวรีหรือรูปไข่ มีขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตร มีน้ำหนักผลละ 10-15 กรัม เปลือกผิวนอกของผลปาล์มเป็นสีเขียวหรือดำเมื่อผลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อผลแก่และสุก ภายใต้เปลือกเป็นเมล็ด ประกอบด้วยกะลาและเนื้อในซึ่งมีต้นอ่อนฝังอยู่ น้ำมันปาล์ม (palm oil) จะได้จากผลปาล์ม 2 ส่วนคือ จากส่วนที่เป็นเปลือกหุ้มภายนอก (mesocarp) และจากเนื้อในของเมล็ด (kernel) เรียกว่า palm kernel oil

    2) ผลและเมล็ด หลังจากดอกได้รับการผสมแล้วประมาณ 5–6 เดือน ผลก็จะสุก การสุกของผลจะช้าเร็ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น ถ้ามีฝนตกสม่ำเสมอ ผลปาล์มน้ำมันก็จะสุกเร็ว ปาล์มที่มีอายุเต็มที่แล้วสามารถจะให้ผลประมาณ 1,600 ผลต่อทะลาย ผลปาล์มเป็นแบบ drupe ประกอบด้วยเปลือกชั้นนอก(exocarp) เปลือกชั้นกลางหรือกาบ (mesocarp) ซึ่งเป็นส่วนที่มีน้ำมันอยู่ทั้งสองส่วน เรียกรวมกันว่า preicarp และมีชั้นในสุดเป็นกะลา (endocarp) ถัดจากนี้ไปก็เป็นส่วนของเมล็ด ซึ่งประกอบด้วย เนื้อในเมล็ด (kernel หรือ ndosperm) ซึ่งมีน้ำมันอยู่เช่นกัน และส่วนของคัพภะ (embryo) ผลและเมล็ดเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่จะให้น้ำมัน และมีลักษณะที่น่าสนใจ กล่าวคือลักษณะสีและความหนาบางของกะลา ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนเพียงน้อยคู่

    3) สีของผล ผลของปาล์มน้ำมันโดยทั่วไปเมือยังอ่อนอยู่จะมีสีน้ำตาลดำ เมื่อสุกจะมีสีแดงออกมาด้วย ประเภทที่มีผลสีเขียวเวลาเมื่อยังไม่สุกและเมื่อสุกมีสีส้ม ในกระบวนการผลิตจึงมีขั้นตอนการฟอกสีด้วย

    4) ความหนาของกะลา ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนคู่เดียว แบ่งออกเป็นประเภทดังต่อไปนี้

        (1) ดูร่า (Dura) ลักษณะมีกะลาหนา ไม่มีเยื่อรอบกะลา มี mesocarp 35-50 เปอร์เซ็นต์ของผล ปริมาณน้ำมัน 17-18 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในเมล็ดใหญ่ ควบคุมด้วยยีนข่ม (DD)

        (2) เทเนอร่า (Tenera) ประเภทนี้มีกะลาหนาปานกลาง มีเยื่อรอบกะลา มี mesocarp 60-95 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำมัน 22-24 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในเมล็ดขนาดกลาง เป็นลูกผสมระหว่างดูร่าและฟิสิเฟอร่า (Dd) มีลักษณะดีจึงใช้ปลูกในเชิงการค้า

        (3) ฟิสิเฟอร่า (Pisifera) กะลาบางและอาจจะไม่มีก็ได้ มีเยื่อรอบกะลา มี mesocarp ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช้ปลูกเพื่อสกัดทำน้ำมัน แต่ใช่เป็นพ่อพันธุ์ในการผสมกับดูร่า เพื่อให้ลูกผสมเทเนอร่า 

มียีนด้อย (dd)

    5) เมล็ดปาล์มน้ำมัน มีลักษณะแข็ง ประกอบด้วย กะลา (endocarp) และเนื้อใน (kernel) ซึ่งเจริญมาจากไข่ 1–3 อัน บางครั้งพบ 4 อัน ขนาดของเมล็ดปาล์มน้ำมันขึ้นอยู่กับความหนาของกะลา และขนาดของเนื้อในบนกะลาจะมีช่องสำหรับงอก (germ pore) 3 ช่อง ในกะลานั้นประกอบด้วยอาหารต้นอ่อน (endosperm) หรือเนื้อใน สีขาวอมเทาซึ่งมีน้ำมันสะสมอยู่ และมีเยื่อ (testa) สีน้ำตาลแก่หุ้มอยู่ โดยมีเส้นใยรองรับระหว่างเยื่อหุ้มกับกะลาอีกชั้นหนึ่งภายในเนื้อในตรงกันข้ามกับช่องสำหรับงอกมีต้นอ่อนฝังตัวอยู่มีลักษณะตรง ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร

    6) กระบวนการงอกของเมล็ด โดยปกติเมล็ดปาล์มน้ำมันมีการพักตัว ซึ่งสามารถทำลายการพักตัวได้ด้วยการอบความร้อน เมล็ดจะงอกเมื่อได้รับการกระตุ้นโดยอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ขบวนการงอกจะเกิดในระยะเวลา 3-4 วัน แต่ละเมล็ดจะใช้เวลาในการงอกแตกต่างกัน ต้นอ่อนในเมล็ดเริ่มมีการเจริญเติบโต ยอดของใบเลี้ยงจะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเหลือง เรียกว่า จาว (haustorium) และยังคงฝังตัวอยู่ในเนื้อใน ทำหน้าที่ดูดอาหารมาเลี้ยงต้นอ่อน จาวจะผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารต้นอ่อนให้เป็นของเหลวไปเลี้ยงต้นอ่อนเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน จนกระทั่งต้นอ่อนสามารถสังเคราะห์แสงเองได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ