หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-SNNG-989A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชแซม ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชร่วม และการปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ และมีทักษะได้แก่ สามารถเตรียมอุปกรณ์ ดำเนินการปลูก และดูแลรักษาพืชแซม พืชร่วม และสัตว์บกและสัตว์น้ำในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง สามารถเลือกชนิด และรูปแบบการปลูกพืชแซม พืชร่วม สัตว์บกและสัตว์น้ำในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B251

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชแซม


1) อธิบายชนิดของพืชแซมที่ปลูกร่วมกับปาล์มน้ำมันได้


B251.01 196941
B251

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชแซม


2) อธิบายประโยชน์ของการปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันได้


B251.02 196942
B251

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชแซม


3) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B251.03 196943
B251

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชแซม


4) ปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B251.04 196944
B251

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชแซม


5) ดูแลรักษาพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B251.05 196945
B252

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชร่วม


1) อธิบายชนิดของพืชร่วมที่ปลูกร่วมกับปาล์มน้ำมันได้


B252.01 196946
B252

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชร่วม


2) อธิบายประโยชน์ของการปลูกพืชร่วมในสวนปาล์มน้ำมันได้


B252.02 196947
B252

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชร่วม


3) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชร่วมในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B252.03 196948
B252

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชร่วม


4) ปลูกพืชร่วมในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B252.04 196949
B252

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกพืชร่วม


5) ดูแลรักษาพืชร่วมในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B252.05 196950
B253

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ


1) อธิบายการเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์มที่เหมาะสมตามลักษณะของสวนปาล์มน้ำมันได้


B253.01 196951
B253

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ


2) อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์มน้ำได้


B253.02 196952
B253

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ


3) เลือกรูปแบบและชนิดของสัตว์ที่จะเลี้ยงในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างเหมาะสมตามลักษณะของสวนปาล์มน้ำมัน


B253.03 196953
B253

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ


4) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B253.04 196954
B253

ปลูกปาล์มน้ำมันร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ


5) ดำเนินการเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างเหมาะสมตามลักษณะของสวนปาล์มน้ำมัน


B253.05 196955

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมในสวนปาล์ม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ประเมิน และปฏิบัติการทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

    2) มีทักษะในการสังเกต ตัดสินใจเลือก เตรียม และดำเนินการปฏิบัติการทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในการเลือกชนิดพืชแซม การเตรียมอุปกรณ์ การปลูก และการดูแลรักษาพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

    2) มีความรู้ในการเลือกชนิดพืชแซม การเตรียมอุปกรณ์ การปลูก และการดูแลรักษาพืชร่วมในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

    3) มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์ การปลูก และการดูแลรักษาสัตว์บกและสัตว์น้ำในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา

    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

    3) ผลการสอบข้อเขียน

    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา

    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 

    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

    (ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง

    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการทำเกษตรกรรมในสวนปาล์มเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

    (ก) คำแนะนำ

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1) การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมัน ควรปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกปาล์มน้ำมันจนปาล์มน้ำมันอายุ 3 ปี แต่ไม่ควรเกิน 4 ปี ควรปลูกพืชแซมให้ห่างจากโคนต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 1.5-2 เมตร พืชแซมควรเป็นพืชอายุสั้น มีระบบรากตื้น เช่น พืชผัก พืชไร่ และข้าว และควรเป็นพืชที่ตลาดต้องการ พืชที่มีลำต้นสูงใหญ่หรือมีหัวอยู่ใต้ดินไม่ควรนำมาปลูกเป็นพืชแซม ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่ควรปลูกพืชแซมควรปลูกพืชคลุมดินแทน การปลูกพืชแซมอายุสั้นควรปลูก 2 ครั้งต่อปี และต้องปลูกติดต่อกันอย่างต่อเนื่องจึงจะให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงและควบคุมวัชพืชได้ผลดี พืชแซมที่นำมาปลูกในระหว่างแถวปาลืมน้ำมัน ได้แก่ พืชอายุสั้นระบบรากตื้น เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพด ถั่วลิสง พืชผัก เช่น พริก ฟักเขียว ฟักทอง มะเขือ และไม้ดอก เช่น ดาวเรือง

     การปลูกพืชแซมเพื่อเป็นรายได้เสริม จำเป็นต้องดูแลกำจัดวัชพืช โรคแมลง หนู และใส่ปุ๋ย 

ตามคำแนะนำของแต่ละชนิดพืชที่นำมาปลูก โดยทั่วไปในพืชอายุสั้นฤดูเดียว ในช่วงวิกฤตของการแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูกซึ่งอยู่ในอายุประมาณหนึ่งในสามของอายุพืช จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชเพื่อให้พืชแซมสามารถเจริญเติบโตแข่งขันกับวัชพืชได้ โดยการใช้สารกำจัดวัชพืชหรือใช้พืชแซม และไม่เป็นพิษต่อพืชแซมชนิดอื่นที่ปลูกตามหลังการเก็บเกี่ยวพืชแรกหรือใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืช หรือใช้วัสดุคลุมดิน เช่น พลาสติก และควรใช้พลาสติกสีเทาเพื่อป้องกันแมลง โดยตัวอย่างการปลูกพืชแซมในสวนปาล์ม ได้แก่

    - สับปะรด เป็นพืชแซมที่ให้ค่าตอบแทนต่อไร่สูง มีระบบรากตื้น และควบคุมวัชพืชได้นานกว่าพืชแซมอื่นๆ การปลูกสับปะรด 1 ครั้ง สามารถควบคุมวัชพืชได้นานกว่า 2 ปี แต่ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชต่ำกว่าปีแรก

    - มันเทศ เป็นพืชชนิดเลื้อยพัน คุมหญ้าคาได้ดี เหมาะกับสวนปาล์มน้ำมันที่มีหญ้าคา ปาล์มน้ำมันอายุ 2 ปีขึ้นไป ควรหยุดปลูก เนื้องจากรากของมันเทศแผ่ไปไกลประมาณ 3-4 เมตร และอยู่บริเวณผิวดินลึก 

30-50 เซนติเมตร จึงอาจส่งผลต่อระบบรากปาล์มน้ำมันได้

     2) การปลูกพืชร่วมในสวนปาล์มน้ำมันที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกไฝ่ การปลูกไม้ผลได้แก่ หมาก มังคุด ลองกอง ทุเรียน มะพร้าว เป็นต้น

     3) การเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์มน้ำมัน เช่น การเลี้ยงปลาในสวนปาล์มน้ำมันเหมาะกับแปลงปาล์มน้ำมันที่มีน้ำตลอดทั้งปี หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยงกันได้แก่ ปลาทับทิมและปลานิลจิตรลัดดา ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่การปรับพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และการเตรียมบ่อให้มีระบบน้ำไหลเวียนระหว่างแถวปาล์ม โดยปลูกปาล์มระยะปลูก 9 x 9 เมตร ปลูก 2 แถวคู่ และขุดบ่อลึก 2 เมตร กว้างประมาณ 4 เมตร ระหว่างแถวปาล์ม และมีทางระบายน้ำเชื่อมต่อในแต่ละบ่อสลับหัวท้าย เพื่อให้น้ำไหลเวียนทั่วทั้งสวน ซึ่งการปรับพื้นที่ขนาด 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 110,000 บาท ในพื้นที่ 10 ไร่ สามารถเลี้ยงปลาในกระชังได้ทั้งหมด 50 กระชัง (แถวละ 5 กระชัง) โดยไม่ทำให้น้ำเสีย กระชังขนาด 3 x 3 เมตร สามารถเลี้ยงปลาได้ 400-450 ตัว

  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



 



ยินดีต้อนรับ