หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-JBYU-986A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน การตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมัน การรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมัน และการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต และมีทักษะได้แก่ สามารถใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ดำเนินการตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมัน คลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมัน รวมทั้งป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


1) อธิบายวิธีการเก็บตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมันเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชได้


B221.01 196888
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


2) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมันเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชได้


B221.02 196889
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


3) ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมันเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชได้อย่างถูกต้อง


B221.03 196890
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


4) เตรียมและส่งตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมันเพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชได้อย่างถูกต้อง


B221.04 196891
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


5) ใช้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมันเพื่อบริหารจัดการการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง


B221.05 196892
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


6) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง


B221.06 196893
B221

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


7) ดำเนินการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


B221.07 196894
B222

ตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


1) อธิบายวิธีการตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้


B222.01 196895
B222

ตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


2) เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง


B222.02 196896
B222

ตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


3) ดำเนินการตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง


B222.03 196897
B223

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


1) อธิบายหลักการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้


B223.01 196898
B223

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


2) อธิบายวัสดุคลุมดินที่ใช้ในการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้

B223.02 196899
B223

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


3) เลือกวัสดุคลุมดินที่นำมาใช้ในการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างเหมาะสม

B223.03 196900
B223

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


4) เตรียมวัสดุคลุมดินที่นำมาใช้ในการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง

B223.04 196901
B223

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


5) ดำเนินการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตด้วยวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง


B223.05 196902
B224

ป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต



12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ประเมิน และปฏิบัติจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต

    2) มีทักษะในการสังเกต ตัดสินใจเลือก และดำเนินการปฏิบัติจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต

    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิตได้อย่างถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในกระบวนการในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต

    2) มีความรู้ในการตัดสินใจเลือกเขตกรรมที่เหมาะสมในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา

    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

    3) ผลการสอบข้อเขียน

    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา

    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการ     ประเมิน

    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 

    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด 

    (ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง

    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันช่วงเร่งผลผลิต ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง



    (ก) คำแนะนำ

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1) การจัดการสวนปาล์มช่วงเร่งผลผลิต เป็นการบริหารจัดการหลังจากปาล์มมีอายุมากกว่า 

36 เดือน ซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต จนกระทั่งถึงระยะเวลาที่ปาล์มให้ผลผลิตสูงสุดตามศักยภาพของปาล์ม 

ซึ่งระยะเวลาช่วงนี้จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับเทคนิคในการจัดการของแต่ละบุคคล และความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก รวมถึงการให้ปัจจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตที่แตกต่างกัน

     2) การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และยังคงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป หรือที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน ควบคู่กับการสังเกตลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่มองเห็นได้ที่ต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับการใส่ปุ๋ยเคมีให้เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงตามความเหมาะสม

     3) การตัดแต่งทางใบ เป็นการบริหารจัดการในช่วงที่ปาล์มน้ำมันมีทางใบยาวคลุมพื้นที่ ทำให้มีการซ้อนทับของทางใบ การเก็บทางใบไว้มากเกินไปจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื้องจากหากมีการบังแสงของใบจะทำให้การสังเคราะห์แสงมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นจึงควรเก็บรักษาใบปาล์มน้ำมันไว้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยทั่วไปควรเก็บทางใบที่รองทะลายไว้ 2-3 ทางใบ

    4) การรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมัน โดยการใช้วัสดุคลุมบริเวณโคนต้น อาจนำทะลายเปล่าที่ได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเศษพืชมาปกคลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสให้แก่ดิน เมื่อเกิดการย่อยสลายจะช่วยปรับโครงสร้างดินยึด และชะลอการชะล้างปุ๋ยออกนอกเขตรากปาล์มน้ำมัน รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน รวมทั้งยังสามารถป้องกันวัชพืชงอกบริเวณโคนต้นอีกด้วย ซึ่งการคลุมโคนควรคลุมให้ห่างจากโคนต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 30 เซนติเมตร

    5) การป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมัน เป็นการป้องกันกำจัดโรค แมลง และหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน 

ที่จะเข้าทำลายหรือทำให้เกิดผลเสียกับราก ลำต้น ใบ ทางใบ ดอก ทะลาย และผลปาล์มน้ำมัน

 



   


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ