หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NMOB-983A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี) โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน วิธีการใส่ปุ๋ยและให้น้ำปาล์มน้ำมัน วิธีการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมัน วิธีการปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมัน และวิธีการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ และมีทักษะได้แก่ สามารถเลือกวิธีการ และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย และการให้น้ำ ในสวนปาล์มน้ำมันได้ สามารถดำเนินการปราบวัชพืช ใส่ปุ๋ยและให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง สามารถปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง และสามารถปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับโรคและสาเหตุการเกิดโรค การแพร่ระบาด วิธีการเข้าทำลาย วงจรชีวิต อาการ และวิธีการป้องกันกำจัดโรค แมลงศัตรู และหนูศัตรูปาล์มน้ำมันปาล์ม การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมัน และมีทักษะได้แก่ สามารถจำแนกและประเมินสภาพแวดล้อม การแพร่ระบาดของโรค แมลงศัตรูและหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้ สามารถเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรค แมลงศัตรูและหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง และสามารถดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B171

กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายชนิดหรือประเภทวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้


B171.01 196795
B171

กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


2) อธิบายวิธีกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดในระยะปลูกใหม่ได้


B171.02 196796
B171

กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


3) เลือกวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้อย่างเหมาะสม


B171.03 196797
B171

กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


4) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้อย่างถูกต้อง


B171.04 196798
B171

กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


5) กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้อย่างถูกต้อง


B171.05 196799
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายประเภทและสูตรของปุ๋ยที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ปลูก ลักษณะเนื้อดิน และอายุปาล์มน้ำมันที่ใช้ในสวนปาล์มน้ำมันได้


B172.01 196800
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


2) อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุปาล์มน้ำมันได้


B172.02 196801
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


3) อธิบายช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้


B172.03 196802
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


4) อธิบายลักษณะอาการขาดปุ๋ยของปาล์มน้ำมันได้


B172.04 196803
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


5) อธิบายปริมาณในการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อดิน และอายุปาล์มน้ำมันได้


B172.05 196804
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


6)) เลือกประเภทของปุ๋ยที่ใช้ในสวนปาล์มได้อย่างเหมาะสม


B172.06 196805
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


7) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B172.07 196806
B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


8) ดำเนินการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสวนปาล์มน้ำมัน

B172.08 196807
B173

ให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายปริมาณความต้องการน้ำของปาล์มน้ำมันได้


B173.01 196808
B173

ให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


2) อธิบายลักษณะอาการขาดน้ำของปาล์มน้ำมันได้


B173.02 196809
B173

ให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


3) อธิบายวิธีการให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันได้


B173.03 196810
B173

ให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


4) ดำเนินการให้น้ำปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพสวนปาล์มน้ำมัน


B173.04 196811
B174

ปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายหลักการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้


B174.01 196812
B174

ปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


2) อธิบายวิธีการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้


B174.02 196813
B174

ปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


3) จัดเตรียมต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ใช้ในการปลูกซ่อมในแปลงได้อย่างถูกต้อง


B174.03 196814
B174

ปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


4) เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้อย่างถูกต้อง


B174.04 196815
B174

ปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


5) ดำเนินการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้อย่างถูกต้อง


B174.05 196816
B175

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายหลักการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันได้


B175.01 196817
B175

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


2) อธิบายวัสดุคลุมดินที่ใช้ในการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันได้


B175.02 196818
B175

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


3) เลือกวัสดุคลุมดินที่นำมาใช้ในการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันได้อย่างเหมาะสม


B175.03 196819
B175

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


4) เตรียมวัสดุคลุมดินที่นำมาใช้ในการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B175.04 196820
B175

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


5) ดำเนินการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันด้วยวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง


B175.05 196821
B176

ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายชนิดของพืชคลุมดินได้


B176.01 196822
B176

ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


2) อธิบายประโยชน์ของพืชคลุมดินได้


B176.02 196823
B176

ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


3) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชคลุมดินได้อย่างถูกต้อง


B176.03 196824
B176

ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


4) ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B176.04 196825
B176

ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


5) ดูแลรักษาพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B176.05 196826
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายโรคของปาล์มน้ำมันได้




B177.01 196827
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


2) จำแนกเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้อย่างถูกต้อง


B177.02 196828
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


3) อธิบายอาการของโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้


B177.03 196829
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


4) อธิบายการแพร่ระบาดของโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้


B177.04 196830
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


5) ประเมินสภาพแวดล้อมต่อแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างถูกต้อง


B177.05 196831
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


6) อธิบายวิธีป้องกันและกำจัดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้


B177.06 196832
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


7) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้อย่างถูกต้อง


B177.07 196833
B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


8) ป้องกันกำจัดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้อย่างถูกต้อง

B177.08 196834
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายและจำแนกชนิดของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้



B178.01 196835
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


2) อธิบายวงจรชีวิตของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้

B178.02 196836
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


3) อธิบายลักษณะการเข้าทำลายของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้


B178.03 196837
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


4) ประเมินสภาพแวดล้อมต่อแนวโน้มการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูได้อย่างถูกต้อง

B178.04 196838
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


5) อธิบายการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้


B178.05 196839
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


6) อธิบายวิธีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้

B178.06 196840
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


7) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

B178.07 196841
B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


8) ดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

B178.08 196842
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายและจำแนกชนิดและลักษณะของหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้



B179.01 196843
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


2) อธิบายลักษณะการเข้าทำลายของหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้


B179.02 196844
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


3) อธิบายแนวทางการป้องกันกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมันแต่ละช่วงอายุของปาล์มน้ำมันได้


B179.03 196845
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


4) อธิบายการจัดการระบบการปลูกให้สะดวกต่อการจัดการหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้


B179.04 196846
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


5) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมันแต่ละช่วงอายุของปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B179.05 196847
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


6) ประเมินสภาพแวดล้อมต่อแนวโน้มการแพร่ระบาดของหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B179.06 196848
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


7) เลือกวิธีการป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน (แต่ละช่วงอายุปาล์มน้ำมัน) ได้อย่างเหมาะสม


B179.07 196849
B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


8) ดำเนินการป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน (แต่ละช่วงอายุปาล์มน้ำมัน) ได้อย่างถูกต้อง

B179.08 196850

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาคู่มือการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมัน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

    2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม จำแนก ตัดสินใจเลือก และดำเนินการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

    4) มีความรู้ในวิธีการวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่

    5) มีความรู้ในวิธีการใส่ปุ๋ยและให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่

    6) มีความรู้ในวิธีการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในสวนปาล์มน้ำมันระยะปลูกใหม่

    4) มีความรู้ในวิธีการปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่

    7) มีความรู้ในวิธีการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่

    8) มีความรู้ในการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การปลูกซ่อม การปลูกพืชคลุม และการรักษาความชื้นในสวนปาล์น้ำมันในระยะปลูกใหม่ปลูกใหม่

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา

    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

    3) ผลการสอบข้อเขียน

    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา

    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 

    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด 

    (ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง

    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

    (ก) คำแนะนำ

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1) การกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชแย่งปุ๋ยที่ใส่ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน และเพื่อสะดวกในการใส่ปุ๋ยลดการแข่งขันระหว่างวัชพืชกับต้นปาล์มน้ำมัน และเพื่อความสะดวกในการเก็บผลปาล์มร่วง จำเป็นต้องมีการกำจัดวัชพืชตามอายุของปาล์มน้ำมัน ดังนี้

    - อายุปาล์มน้ำมัน 0-6 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 0.50-0.75 เมตร

    - อายุปาล์มน้ำมัน 6-12 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 0.75-1.00 เมตร

    - อายุปาล์มน้ำมัน 12-24 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 0.75-1.25 เมตร

    - อายุปาล์มน้ำมัน 24-30 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 1.25-2.25 เมตร

    - อายุปาล์มน้ำมัน 30 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 2.25-2.75 เมตร

     2) วิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

    - การใช้แรงงานคน กำจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้นเหมาะกับปาล์มน้ำมันปลูกใหม่ อายุไม่ถึง 

6 เดือน และทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยใช้จอบถาก ขุด ทำลายวัชพืชส่วนที่อยู่เหนือดินและใต้ดิน หรือใช้มีดฟันวัชพืช และพืชคลุมที่ขึ้นบริเวณโคนต้น หรือตัดด้วยเครื่องตัดหญ้า 1-2 เดือนต่อครั้ง และต้องกำจัดสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้วัชพืชขึ้นพันต้น ปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 1 ปี กำจัดวัชพืช 2-3 เดือนต่อครั้งในฤดูฝน และทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย หรือยึดหลัก เมื่อมีวัชพืชขึ้นปกคลุมประมาณ 50-60% ต้องรีบกำจัดก่อนจะขึ้นหนาแน่น และก่อนออกดอก

    - ใช้สารกำจัดวัชพืช ควรใช้กับปาล์มน้ำมันปลูกใหม่อายุเกิน 6 เดือน ถ้าพ่นในขณะที่ต้นยังเล็กจะเป็นอันตรายต่อต้นปาล์มน้ำมันได้ สารกำจัดวัชพืชที่ใช้บริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันอายุเกิน 6 เดือน 

มี 2 ประเภท ได้แก่

    (1) ประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก ได้แก่ สารอะลาคลอร์ ออกซาไดอะซอน ไดยูรอน และออกซีฟลูออร์เฟน ใช้พ่นคลุมดินบริเวณรอบโคนต้นก่อนวัชพืชงอก โดยทั่วไปจะพ่นสารกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นทันทีภายหลังกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานเสร็จ เพื่อป้องกันเมล็ดวัชพืชงอก สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกสามารถควบคุมวัชพืชได้นานประมาณ 1-4 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารกำจัดวัชพืชและอัตราที่ใช้สารกำจัดวังพืชอะลาคลอร์ คลุมวัชพืชได้นาน 1-2 เดือน ไดยูรอน 3-4 เดือน ในกรณีที่มีแรงงาน ควรใช้สารกำจัดวัชพืชสลับกับการใช้แรงงานคนกำจัด เพื่อลดการใช้สารกำจัดวัชพืช

    (2) ประเภทใช้สารหลังวัชพืชงอก ปาล์มน้ำมันอายุ 6-12 เดือน ควรใช้สารกำจัดวัชพืชสัมผัสตาย หรือสารที่เคลื่อนย้ายในลำต้นได้เล็กน้อย สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึมควรใช้เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ ไกลโฟเซต ซัลโฟเซต ใช้พ่นเมื่อมีวัชพืชใบแคบขึ้นมาก ถ้ามีวัชพืชใบกว้างขึ้นมาก ใช้สารกำจัดวัชพืช ประเภทซ่าวัชพืชใบกว้างผสมลงไปด้วย เช่น ฟลูซิรอคซิเพอร์ ไดแคมบ้า และอัลไลย์

     3) การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และยังคงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบอย่างรวดเร็ว การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางลำต้นและทางใบอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตที่สูง และสม่ำเสมอในระยะต่อๆ ไป อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยเคมีต้องคำนึงถึงชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เนื้องจากในดินแต่ละพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง ตามความเหมาะสม ส่วนการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป หรือที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน ควบคู่กับการสังเกตลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่มองเห็นได้ที่ต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับการใส่ปุ๋ยเคมีให้เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงตามความเหมาะสม

     4) การให้น้ำปาล์มน้ำมัน มีความจำเป็นอย่างมากต่อปาล์มน้ำมันในระยะแรกของการปลูก 

โดยการให้น้ำในระยะแรกสำหรับต้นกล้าปาล์มน้ำมันจะช่วยให้ระบบรากของปาล์มน้ำมันมีการเจริญเติบโตได้ดี และส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตด้านลำต้น รวมถึงความเร็วและความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน และการให้น้ำในช่วงแล้งตลอดอายุปาล์มน้ำมัน เกษตรกรจะได้รับผลผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับลักษณะอาการเบื้องต้นของแปลงปาล์มน้ำมันที่มีการขาดน้ำ สามารถสังเกตได้จากวัชพืชบริเวณแปลงปลูกปาล์มน้ำมันจะแสดงอาการแห้งตาย โดยปกติหากปาล์มน้ำมันได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ขาดน้ำจะสังเกตได้ว่าใบหอก 

(ใบยอดของปาล์มน้ำมันที่ไม่คลี่) ของปาล์มน้ำมันมีเพียง 1 ใบ แต่ถ้าหากปาล์มน้ำมันได้รับน้ำไม่เพียงพอหรือมีช่วงแล้งยาวนานจะสังเกตเห็นใบหอก มากกว่า 1 ใบ และปาล์มน้ำมันจะแสดงอาการใบย่อยมีสีเหลืองและเริ่มแห้งตายโดยเริ่มจากทางใบล่าง สำหรับปาล์มน้ำมันอายุมากหากประสบภาวะแล้งรุนแรงจะมีอาการทางใบแห้งร่วมกับการหักพับลงของทางใบด้านล่าง

     5) การปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมัน เมื่อพบต้นปาล์มที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และต้นที่กระทบกระเทือนจาการขนส่งหรือการปฏิบัติอย่างรุนแรง ตลอดจนต้นผิดปกติจะต้องขุดทิ้งและปลูกซ่อม ควรปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด ดังนั้นควรเตรียมต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง โดยดูแลรักษาไว้ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 15 x 18 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 12-18 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดใกล้เคียงกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง และควรดำเนินการปลูกซ่อมภายใน 1 ปีของการปลูก

     6) การรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมัน โดยการใช้วัสดุคลุมบริเวณโคนต้น อาจนำทะลายเปล่าที่ได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเศษพืชมาปกคลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน 

เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสให้แก่ดิน เมื่อเกิดการย่อยสลายจะช่วยปรับโครงสร้างดินยึด และชะลอการชะล้างปุ๋ยออกนอกเขตรากปาล์มน้ำมัน รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน รวมทั้งยังสามารถป้องกันวัชพืชงอกบริเวณโคนต้นอีกด้วย ซึ่งการคลุมโคนควรคลุมให้ห่างจากโคนต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 30 เซนติเมตร

     7) การปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมัน ควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินเพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รักษาความชุ่มชื้นของดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน อีกทั้งยังควบคุมวัชพืชในแปลงด้วย พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่นิยมปลูกที่นิยมปลูกกันทั่วไปในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ถั่วเพอราเรีย ถั่วเซ็นโตซีมา และถั่วคาโลโปโกเนียม

     8) เชื้อสาเหตุ หมายถึง เชื้อที่เป็นต้นเหตุในการก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในปาล์มน้ำมัน

     9) อาการของโรค หมายถึง ลักษณะอาการของต้นปาล์มน้ำมันที่แสดงออกมา เนื้องจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้นๆ

     10) การแพร่ระบาดของโรค หมายถึง ลักษณะการแพระกระจากของเชื้อพาหะในต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค ที่สารมารถแพร่กระจายไปยังปาล์มน้ำมันต้นอื่นได้

     11) การป้องกันกำจัดโรค หมายถึง วิธีการหรือหนทางที่พยายามป้องกันและรับมือกับโรคที่เกิดในปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ต้นปาล์มที่ปลูกได้รับผลกระทบอันจะเกิดจากโรคนั้นๆ น้อยที่สุด

     12) โรคที่เกิดในแปลงปลูก หมายถึง โรคที่เกิดกับต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกลงในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่รวมถึงโรคที่เกิดกับต้นปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้าที่อยู่ในแปลงเพาะกล้า

     13) โรคที่เกิดกับใบปาล์มน้ำมัน ได้แก่ โรคทางใบบิด โรคยอดเน่า และโรคใบจุดสาหร่าย

    - โรคทางใบบิด (Crown disease) เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม เมื่อปาล์มอายุมากขึ้นอาการของโรคจะหายไปเอง บางกรณีอาจเกิดจากการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม เกษตรกรควรดูประวัติการใช้สารเคมีดังกล่าว ว่ามีการใช้ก่อนที่ปาล์มจะมีอาการใบบิดหรือไม่ โดยต้นปาล์มน้ำมันจะมีอาการใบยอดเกิดแผลสีน้ำตาลแดง ลักษณะฉ่ำน้ำบนกลางทางยอด เมื่อแผลขยายตัว ทำให้ใบย่อยที่ยังไม่คลี่เกิดอาการเน่า ทางยอด (Spear) มีลักษณะโค้งงอลง เมื่อทางยอดคลี่ออกใบย่อยบริเวณกลางทางจะเป็นแผล หรือฉีกขาดเหลือแต่เส้นกลางใบ ในกรณีที่เกิดโรครุนแรง ทางยอดมีการโค้งงอทุกทางทำให้โค้งงอรอบยอด ดูแล้วมีลักษณะคล้ายมงกุฎ (Crown) สามารถป้องกันได้โดยเลือกสายพันธุ์ที่ไม่มีโรคนี้ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช แคปแทน 0.2% หรือไทอะเบ็นดาโซน 0.1% และสารฆ่าแมลงที่บริเวณรอยแผลที่เกิดจากการโค้งงอ

    - โรคยอดเน่า (Spear rot.) ไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เชื้อรา Fusarium spp. และเชื้อแบคึทีเรีย Erwinia sp. เกิดบริเวณโคนยอดที่ยังไม่คลี่ โดยขอบแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ในปาล์มที่มีอายุน้อยจะมีอาการเน่าดำ เริ่มจากปลายใบย่อยที่ยังไม่คลี่ แผลเน่าดำจะขยาย 

ทำให้ใบยอดทั้งใบเน่า/แห้ง เป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย ทางยอดหักพับบริเวณกลางใบหรือโคนทาง ในช่วงอากาศแล้งทางยอดที่ถูกทำลายจะมีสีเหลืองส้ม ในช่วงหน้าฝนทางยอดที่ถูกทำลายจะมีสีเหลืองอ่อน ต้นปาล์มที่การทำลายไม่ถึงจุดการเจริญเติบโต ยอดใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างผิดปกติ ใบย่อยหดสั้น แต่ถ้ามีการทำลายถึงจุดเจริญเติบโตอาจทำให้ต้นปาล์มตายได้ สามารถป้องกันได้โดยหากพบแมลงกัดกินยอด ให้ใช้สารคาร์โบฟูเรน อัตรา 50 กรัม/ตัน ตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วใช้ไทแรม อัตรา 130 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซม อัตรา 150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีด 5-7 วัน

    - โรคใบจุดสาหร่าย (Agal spot., Red spot.) เกิดจากเชื้อรา Cephaleuros virescence Kunze โดยต้นปาล์มน้ำมันจะเกิดเป็นจุดแผลเล็กๆ เท่าเข็มหมุด ด้านบนของใบย่อยของทางใบล่าง แผลขยายเป็นตุ่มสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นการสร้าง zoospore แผลนี้จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มม. หากอาการรุนแรงแผลอาจรวมกันเป็นแผลขนาดใหญ่ถุง 1 ซม. ลักษณะแผลเมื่อขูดส่วนที่เป็นตุ่มออก พบว่าผิวด้านล่างของใบไม่ถูกทำลายรอบตุ่มแผลอาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบ เนื้องจากการบังของแสงบริเวณรอบๆ แผล โรคนี้ไม่เป็นอันตรายกับปาล์ม เนื่องจากเป็น Epiphyte บนใบปาล์ม แต่จะบังแสงเท่านั้น

     14) โรคที่เกิดกับลำต้นปาล์มน้ำมัน ได้แก่ โรคลำต้นเน่า และโรคลำต้นส่วนบนเน่า

    - โรคลำต้นเน่า (Basal stem rot.) เกิดจาดเชื้อเห็ด Ganoderma boninense โดยเชื้อราสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต แต่จะเห็นเด่นชัดเมื่อปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป แต่ในพื้นที่ซึ่งมีการปลูกทดแทนในรอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 อาการของโรคจะแสดงได้รวดเร็วขึ้น การเข้าทำลายของเชื้อ Ganoderma spp. จะสร้างดอกเห็ดที่โคนต้นหรือผิวดินบริเวณใกล้โคนต้น เข้าทำลายรากปาล์ม 

ทำให้เนื้อเยื่อภายในรากผุเปื่อยร่วนเป็นผง ส่วนของปลายราก (Cortex) เปลี่ยนเป็นสีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อเยื่อภายในราก (Stele) เปลี่ยนเป็นสีดำ (ในช่วงนี้ปาล์มจะสร้างรากใหม่ทดแทนตลอดเวลา) การวินิจฉัยโรค 

(ดูอาการเปื่อยของราก) ควรทำในช่วงที่เห็นดอกเห็นบริเวณต้น เพราะหากดูภายหลังจะพบว่ารากปกติเพราะเป็นรากที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อรากถูกทำลาย 60-80% จะปรากฏอาการที่ทางใบของปาล์มน้ำมัน ซึ่งระยะดังกล่าวถือว่าถึงขั้นรุนแรงแล้ว ป้องกันกำจัดโดยการขุดหลุมรอบต้นปาล์มที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย 

เก็บดอกเห็ดที่ขึ้นบนดินและโคนต้น นำไปเผาทำลาย ผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นโรค โดยตัดทั้งส่วนที่เหนือดินและใต้ดิน แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น thiram เพื่อป้องกันการเข้าทำลายซ้ำจากเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ หากเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายยังคงเหลือจะต้องผ่าตัดซ้ำ เอาเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกให้หมด สามารถใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมร่วมได้ด้วย โดยการราดบนดินหรือฉีดเข้าลำต้น โดยใช้กับต้นที่เป็นโรคหรือต้นใกล้เคียง

    - โรคลำต้นส่วนบนเน่า (Upper stem rot.) เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius ทำลายต้นส่วนที่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร การเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุจะเข้าทางซอกทางใบและขยายตัวทำลายลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายลำต้นจะขัดขวางการส่งน้ำและอาหารทำให้ปาล์มมีสีเหลืองซีด ทางใบที่สร้างใหม่มีขนาดเล็กและจำนวนน้อยกว่าปกติ เมื่อถูกทำลายมากขึ้นทางใบแก่จะหักพับและทิ้งตัวขนานกับลำต้น เกิดแผลเน่าบริเวณกาบทางใบ แผลมีสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม ลักาณะไม่เรียบ รอบแผลมีสีเหลืองอ่อน ส่วนใหญ่จะพบเส้นใยของเชื้อราบริเวณขอบแผล เชื้อจะทำลายส่วนลำต้นไม่ลุกลามไปในส่วนของราก ในลำต้นอาจถูกทำลายหลายจุดเมื่อแผลมาชนกันจะทำให้ต้นหักล้มได้ ป้องกันโดยการตัดแต่งทางใบให้สั้นเพื่อลดการเกิดโรค ในการตัดแต่งทางใบควรระวังอย่าให้ต้นเป็นแผล ตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วพ่นด้วยสาร tridemorph (1%Calixin) เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์อื่นเข้าทำลายซ้ำ ตรวจสอบต้นที่เป็นโรคโดยใช้ไม้เคาะ หรือสังเกตจากเฟิร์นที่เจริญบริเวณลำต้น หากเฟิร์นมีการเจริญดีให้สำรวจอย่างละเอียด เนื้องจากต้นอาจถูกทำลายโดยเชื้อ แล้วจึงเกิดการย่อยสลายทำให้เฟิร์นเจริญได้ดี ควรขุดต้นที่หักล้มแล้วออกให้หมด หากทิ้งไว้อาจทำให้ Ganoderma sp. เข้าทำลายซ้ำได้ง่ายขึ้น

     15) โรคที่เกิดกับผลและทะลายปาล์มน้ำมัน ได้แก่ โรคผลร่วง และโรคทะลายเน่า

    - โรคผลร่วง (Bunch Failure) เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น Dry basal rot ทะลายเน่าและแห้ง เกิดจากการทำลายของแมลง เกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย Radinaphelenchus cocophilus การผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์ การขาดธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันในช่วงที่ให้ผลผลิติสูง โดยจะแสดงอาการผิวของผลปาล์มมีลักษณะด้านกว่าปกติและร่วงจากทะลาย ผลที่ร่วงประมาณ ¼ ถึง ½ ทะลาย โดยร่วงจากส่วนปลายทะลาย สามารถป้องกันโดยการให้ปุ๋ยในช่วงที่ปาล์มให้ผลผลิตสูงอย่างเพียงพอ ทำลายทะลายที่เป็นโรค และใช้สารเคมีป้องกันแมลง/เชื้อรา

    - โรคทะลายเน่า (Marasmius palmivorus) เกิดจากเชื้อ Marasmius palmivorus อาการระยะแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์ม บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มและโคนทะลายส่วนที่ติดทางใบ เส้นใยขึ้นปกคลุมทั้งทะลายและเข้าทำลายในส่วน mesocarp ทำให้ผลเน่ามีสีน้ำตาล หากทะลายที่เน่ายังอยู่บนต้นจะทำให้เชื่อราอื่นเข้าทำลายด้วย โรคนี้จะพบมากในปาล์มที่เริ่มให้ทะลายในช่วงแรก เนื้องจากมีทะลายมากซึ่งต้นไม่สามารถเลี้ยงได้เพียงพอทำให้ผลปาล์มเน่า การป้องกัน ปกติ Marasmius palmivorus เป็น saprophyte ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับพืช นอกจากมีปริมาณมากพอจึงจะเข้าทำลายพืช ป้องกันไม่ให้มีแหล่งเชื้ออยู่ในสวนปาล์ม ทำลายทะลายในช่วงแรก โดยตัดช่อดอกทิ้งในช่วง 30 เดือนแรกหลังจากปลูก ตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเพื่อลดความชื้นบริเวณโคนทาง แล้วฉีดพ่นโดยยากำจัดเชื้อรา

     16) แมลงศัตรูปาลืมน้ำมัน ได้แก่ หนอนหน้าแมว หนอนปลอกเล็ก ด้วงกุหลาบ และด้วงแรด

    - หนอนหน้าแมว เข้าทำลายใบปาล์มน้ำมันในช่วงเป็นตัวหนอน ซึ่งในช่วงที่ฟักจากไข่ หนอนจะมีสีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว จะกัดแทะผิวใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ 15-17 มม. กว้าง 5-6 มม. ตัวเต็มวันเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลางวันจะเกาะนิ่งไม่เคลื่อนไหว จะบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า รังดักแด้เป็นสีน้ำตาล รูปทรงกลมขนาด 5-6 มม. X 7-8 มม. อยู่บริเวณโคนทางใบ หรือซอกมุมของทางใบย่อย ป้องกันโดยการสำรวจการระบาด โดยสำรวจปริมาณตัวเต็มวัยและดักแด้บริเวณโคนทางใบ ไม่ทำลายศัตรูทางธรรมชาติของหนอนหน้าแมว เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนในธรรมชาติ การกำจัดใช้กับดักตัวเต็มวัยที่เป็นผีเสื้อ ใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นในระยะที่หนอนยังเล็ก โดยใช้ Cypermethrin หรือ Permethrin อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ Cyfluthrin อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ Pirimiphos methyl อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม (กรณีที่ต้นสูงไม่สามารถฉีดพ่นยาได้) ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis ฉีดพ่นทำลายระยะวางไข่ หรือระยะตัวหนอน

    - หนอนปลอกเล็ก เข้าทำลายโดยการแทะผิวใบทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ทางใบแห้ง ลดการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน การป้องกันกำจัด สามารถใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่นเดียวกับหนอนหน้าแมว

    - ด้วงกุหลาบ เข้าทำลายในช่วงเป็นตัวเต็มวัยโดยกัดกินใบปาล์มในระยะที่เพิ่มปลูกใหม่ 

โดยทำลายในช่วงกลางคืน ส่วนช่วงกลางวันจะอยู่บริเวณโคนลำต้นหรือใต้ดิน ด้วงกุหลาบจะมีการระบาดในช่วงฤดูแล้ง (ก.พ.-เม.ย.) โดยเฉพาะในพื้นที่บุกเบิกใหม่ๆ ใช้สารเคมีประเภท Carbaryl (Sevin 85%WP) อัตรา 

40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร Carbosulfan (Passe 20%EC) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่นควรทำในช่วงตอนเย็น/ค่ำ โดยฉีดบริเวณใบ กาบใบล่าง และบริเวณโคนลำต้น

    - ด้วงแรด เข้าทำลายโดยตัวเต็มวัยจะเจาะโคนทางใบและกัดทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นรูปสามเหลี่ยม รอยแผลที่ด้วงแรดกัดทำลาย อาจทำให้ด้วงงวงมะพร้าวมาวางไข่ หรืออาจทำให้ยอดเน่าได้ ป้องกันกำจัดโดยการทำลายแหล่งวางไข่ เช่น บริเวณซากต้นปาล์ม กองปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเคมีฆ่าแมลง Cabofuran (Furadan 3%G) อัตรา 200 กรัม/ ต้น ใส่บริเวณยอดอ่อนหรือซากทางใบใต้ยอดอ่อน ฉีดพ่นด้วย Chlorpyrifos (Lorsban 40%EC) อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร ฉีดบริเวณยอดอ่อนหรือซากทางใบถัดลงมา ใช้ Sevin 85% WP ผสมกับขี้เลื่อย (อัตรา 1:30) ใส่รอบยอดอ่อนหรือทางใบ เดือนละ 1 ครั้ง ใช้ลูเหม็น (Naphthalene ball) ใส่บริเวณซอกโคนทางใบเพื่อไล่ด้วงแรด ใช้ราเขียว (Metarrhizium anisopliae) และเชื้อไวรัส (Baculovirus) ทำลายด้วงแรดโดยโรยเชื้อในบริเวณที่มีการวางไข่ เช่น กองปุ๋ยหมัก หรือกองซากพืช ใช้กับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย โดยใช้ฮอร์โมนเพศเป็นตัวล่อ (ฮอร์โมนดังกล่าวเป็นสาร ethyl-4-methyloctanoate) โดยแขวนกับดักทุกๆ 15 ไร่/ชุด การป้องกันกำจัดด้วงแรดที่ดีที่สุด คือทำลายแหล่งขยายพันธุ์ เช่น กองปุ๋ยหมัก ควรกลับกองบ่อยๆ การใช้ทะลายปาล์มคลุมโคน ไม่ควรหนา 2 ชั้น

     17) หนูศัตรูปาล์มน้ำมัน หนูจะทำลายปาล์มตั้งแต่ระยะเริ่มปลูก โดยกัดทำลายต้นกล้าจนกระทั่งการกัดทำลายดอก และทะลายปาล์ม ชนิดของหนูที่ทำลายปาล์มน้ำมัน ได้แก่

    - หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง เป็นหนูขนาดใหญ่ หากินบริเวณพื้นดิน ขุดรูอยู่ใต้ดิน เป็นศัตรูสำคัญในปาล์มที่พึ่งปลูก เพราะจะทำลายโคนต้นอ่อนและทางใบปาล์ม

    - หนูท้องขาว เป็นหนูขนาดกลางพบทั่วไปในท้องนาและสวนผลไม้ ทำลายทางใบและโคนต้นปาล์มเล็กที่พึ่งปลูก

    - หนูป่ามาเลย์ เป็นหนูขนาดกลาง ปีนต้นไม้คล่อง ทำรังบนต้นปาล์ม ทำลายดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และทะลายปาล์ม จัดว่าเป็นหนูศัตรูปาล์มที่สำคัญที่สุด

    การป้องกันกำจัด ในปาล์มขนาดเล็กหรือปาล์มที่พึ่งปลูกใหม่ควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนปาล์ม เพื่อขัดขวางการเข้าทำลายของหนู ทำความสะอาดรอบโคนต้น และในแปลงเพื่อทำลายที่พักพิงของหนู 

ใช้กับดัก ใช้วิธีธรรมชาติ โดยไม่ทำลายสัตว์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนู เช่น งู นกเค้าแมว ฯลฯ ใช้สารเคมี ได้แก่ สารออกฤทธิ์เฉียบพลัน เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ สารออกฤทธิ์ช้า เช่น โฟลดูมาเฟน (ชื่อทางการค้า : สะตอม 0.005%) โบรโตฟาคูม (ชื่อทางการค้า : คลีเรต์ 0.005%) โบรมาดิโอโลน (ชื่อทางการค้า : เส็ด 0.005%) ไดฟิธีอาโลน 

(ชื่อทางการค้า : บาราคี 0.00255%) โดยก่อนการใช้สารเคมี ควรสำรวจประชากรของหนูโดยการกินเหยื่อ 

ถ้าหนูกินเหยื่อมากกว่า 20% ถึงจะมีการใช้สารเคมี โดยจะต้องทำอย่างระมัดระวัง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ