หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาในการทำแม่พิมพ์สกรีนเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-LHST-637A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาในการทำแม่พิมพ์สกรีนเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในการทำแม่พิมพ์สกรีนเบื้องต้น ได้แก่ ปัญหาตาเสื่อที่เกิดขึ้นระหว่างฟิล์มต้นฉบับกับผ้าสกรีน ปัญหากาวอัดหลุด ปัญหาภาพที่อัดแล้วไม่สมบูรณ์ ภายใต้การควบคุมดูแลจากหัวหน้าช่าง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202081 ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาตาเสื่อ 1.1ตรวจลายตาเสื่อระหว่างฟิล์มต้นฉบับกับลายผ้าสกรีน 202081.01 186812
202081 ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาตาเสื่อ 1.2แก้ไขลายตาเสื่อ 202081.02 186813
202082 ตรวจสอบและแก้ไขปัญหากาวอัดหลุด 2.1 ตรวจการยึดติดของกาวอัด 202082.01 186814
202082 ตรวจสอบและแก้ไขปัญหากาวอัดหลุด 2.2 แก้ไขปัญหากาวอัดหลุด 202082.02 186815
202083 ตรวจสอบและแก้ไขลายแม่พิมพ์สกรีน 3.1 ตรวจความสมบูรณ์ของลายแม่พิมพ์สกรีน 202083.01 186816
202083 ตรวจสอบและแก้ไขลายแม่พิมพ์สกรีน 3.2 แก้ไขลายแม่พิมพ์สกรีนที่ไม่สมบูรณ์ 202083.02 186817

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างทำแม่พิมพ์สกรีน ระดับ 1 และจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ตรวจปัญหาในการทำแม่พิมพ์สกรีนเบื้องต้น เช่น ลายตาเสื่อระหว่างฟิล์มต้นฉบับและลายผ้าสกรีน การยึดติดของกาวอัด และความสมบูรณ์ของลายแม่พิมพ์สกรีน

2.    แก้ไขปัญหาลายตาเสื่อที่เกิดจากองศาเม็ดสกรีนบนฟิล์มต้นฉบับและองศาลายผ้าสกรีน

3.    ตรวจสอบและแก้ไขปัญหากาวอัดหลุดก่อนนำไปทำแม่พิมพ์สกรีน

4.    ตรวจสอบความสมบูรณ์และตกแต่งรอยรั่วบนแม่พิมพ์สกรีน

5.    ลบหรือขูดลายเพื่อตกแต่งภาพให้ตรงตามต้นฉบับ

6.    การใช้เครื่องมือตกแต่งความสมบูรณ์ของภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    องศาสกรีนและองศาผ้าสกรีน

2.    กาวอัดและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

3.    วัสดุ อุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ ในการตกแต่งภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.    ผลจากการสังเกตขณะปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาทางการทำแม่พิมพ์ได้ถูกต้องตรงตามขั้นตอน

4.    แม่พิมพ์ที่ได้จากการปฏิบัติและพร้อมใช้งานตรงตามใบสั่งงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

(ง) วิธีการประเมิน    

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ปัญหาการทำแม่พิมพ์เบื้องต้น ได้แก่ ปัญหาตาเสื่อที่เกิดจากองศาสกรีนฟิล์มต้นฉบับและองศาผ้าสกรีน ปัญหากาวอัดหลุดก่อนนำไปฉายแสงสร้างลาย ปัญหาความสมบูรณ์ของภาพ 

2.    องศาสกรีนของฟิล์มต้นฉบับเป็นไปตามมาตรฐานการแยกสี

3.    การตกแต่งความสมบูรณ์ของภาพ รวมทั้งการขูดลายที่ตัน และการอุดรอยรั่วสกรีน

4.    เคมีภัณฑ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรม

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ