หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การขึงผ้าสกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-ADFI-556A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การขึงผ้าสกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างทำแม่พิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในการเตรียมกาวทากรอบสกรีน การขึงผ้าบนกรอบสกรีน การวัดความตึงและการวัดองศาเส้นใยผ้าสกรีน ทำความสะอาดกรอบแม่พิมพ์ที่ขึงผ้าแล้ว ภายใต้การควบคุมดูแลจากช่างทำแม่พิมพ์สกรีน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202021

เตรียมกาวทากรอบสกรีน

1.1 เลือกกาวทากรอบสกรีนตามใบสั่งงาน

202021.01 184137
202021

เตรียมกาวทากรอบสกรีน

1.2 ผสมกาวทากรอบสกรีน

202021.02 184138
202022

เตรียมเครื่องขึงผ้าสกรีน

2.1 ปรับตั้งเครื่องขึงผ้าสกรีนตามขนาดของกรอบสกรีน

202022.01 184139
202022

เตรียมเครื่องขึงผ้าสกรีน

2.2 ปรับตั้งความตึงของผ้าสกรีนให้ตรงตามคู่มือหรือหัวหน้าช่างพิมพ์สกรีนกำหนด

202022.02 184140
202022

เตรียมเครื่องขึงผ้าสกรีน

2.3 วัดความตึงของผ้าสกรีนโดยใช้เครื่องวัดความตึง

202022.03 184141
202022

เตรียมเครื่องขึงผ้าสกรีน

2.4 ปรับองศาเส้นใยผ้าสกรีน

202022.04 184142
202023

ขึงผ้าสกรีน

3.1 ทากาวรองผิวกรอบสกรีน

202023.01 184143
202023

ขึงผ้าสกรีน

3.2 ยึดติดผ้าสกรีนกับกรอบสกรีน

202023.02 184144
202024

ทำความสะอาดกรอบแม่พิมพ์สกรีนที่ขึงเสร็จ

4.1 ล้างคราบไขมันและสิ่งสกปรกบนผ้าสกรีน

202024.01 184145
202024

ทำความสะอาดกรอบแม่พิมพ์สกรีนที่ขึงเสร็จ

4.2 ทำแห้งกรอบแม่พิมพ์สกรีนที่ขึงเสร็จ

202024.02 184146

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

จบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    อ่านใบสั่งงานได้

2.    การใช้งานเครื่องขึงผ้าสกรีน

3.    การใช้เครื่องวัดความตึง

4.    การขึงผ้าด้วยมือหรือขึงผ้าด้วยเครื่องจักร

5.    การทากาวกรอบสกรีน

6.    การทำความสะอาดกรอบแม่พิมพ์สกรีน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกาวทากรอบแม่พิมพ์

2.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขึงผ้าสกรีน

3.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผ้าสกรีน

4.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างแม่พิมพ์สกรีน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.    กรอบแม่พิมพ์สกรีนที่ผ่านการขึงผ้าสกรีน และยึดติดด้วยกาวทากรอบแม่พิมพ์สกรีน ที่มีความตึงของผ้าสกรีนตรงตามใบสั่งงาน

(ข)     หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม  

(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    อุปกรณ์สำหรับการขึงผ้า ได้แก่ ชุดปรับขนาดของกรอบแม่พิมพ์สกรีน หัวจับล็อคผ้าสกรีน

2.    กาวที่ใช้ยึดติดผ้าสกรีนกับกรอบมีทั้งชนิดยึดกับไม้และโลหะ โดยเตรียมจากหัวหน้าช่างหรือใช้กาวสำเร็จรูป

3.    การปรับค่าความตึงเป็นไปตามใบสั่งงาน

4.    เคมีภัณฑ์ที่ใช้เป็นชนิดที่นิยมใช้ในวงการผลิตแม่พิมพ์สกรีน

5.    การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ