หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมวัสดุและอุปกรณ์การทำแม่พิมพ์สกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-JXDG-555A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมวัสดุและอุปกรณ์การทำแม่พิมพ์สกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างทำแม่พิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับทำแม่พิมพ์สกรีน ตามขั้นตอนและวิธีการที่สถานประกอบการกำหนด ภายใต้การควบคุมดูแลจากช่างทำแม่พิมพ์สกรีน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202011

เตรียมกรอบสกรีน

1.1 เลือกกรอบสกรีนได้ตามใบสั่งงาน

202011.01 184128
202011

เตรียมกรอบสกรีน

1.2 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของกรอบสกรีน เช่น ขนาด มุมฉาก และการบิดเบี้ยว เป็นต้น

202011.02 184129
202011

เตรียมกรอบสกรีน

1.3 ปรับสภาพพื้นผิวกรอบสกรีน

202011.03 184130
202012

เตรียมผ้าสกรีน

2.1 เลือกชนิดและเบอร์ผ้าสกรีนได้ตามใบสั่งงาน

202012.01 184131
202012

เตรียมผ้าสกรีน

2.2 ตัดผ้าสกรีนได้ขนาดถูกต้อง

202012.02 184132
202012

เตรียมผ้าสกรีน

2.3 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผ้าสกรีน เช่น รอยขาด รอยเปื้อน เป็นต้น

202012.03 184133
202013

เตรียมฟิล์มต้นฉบับ

3.1 ตรวจสอบรอยขีดข่วนและความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ

202013.01 184134
202013

เตรียมฟิล์มต้นฉบับ

3.2 ทำความสะอาดฟิล์มต้นฉบับ

202013.02 184135
202014

เตรียมเครื่องสร้างแม่พิมพ์ (CTP)

4.1 ตรวจสอบระบบของเครื่องสร้างแม่พิมพ์ (CTP)


202014.01 184136

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

จบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    อ่านใบสั่งงานได้

2.    เตรียมกรอบแม่พิมพ์

3.    การใช้อุปกรณ์วัดมุมฉาก

4.    เตรียมผ้าสกรีน

5.    การตรวจและทำความสะอาดฟิล์มต้นฉบับ

6.    การเตรียมเครื่องฉายแม่พิมพ์

7.    การใช้อุปกรณ์วัดขนาดและมุมฉาก

8.    การใช้อุปกรณ์สำหรับปรับสภาพผิว

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบแม่พิมพ์สกรีน

2.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผ้าสกรีน

3.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฟิล์มต้นฉบับสำหรับทำแม่พิมพ์สกรีน

4.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการทำแม่พิมพ์สกรีน

5.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น มาตรวัดระบบเมตริก

6.    ความรู้เบื้องต้นการปรับสภาพผิวกรอบแม่พิมพ์สกรีน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

       2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

       3.    ผลจากการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับงานทำแม่พิมพ์สกรีนได้ถูกต้องตรงตามใบสั่งงาน

      4.    กรอบสกรีนที่ได้จากการลงมือปฏิบัติตรงตามใบสั่งงาน

(ข)     หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีวัสดุและอุปกรณ์พร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

(ง) วิธีการประเมิน

        ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    กรอบแม่พิมพ์สกรีนผลิตจากไม้ โลหะ และวัสดุที่นิยมใช้ในปัจจุบัน 

2.    ผ้าสกรีนผลิตจากผ้าโพลีเอสเตอร์

3.    สภาพทั่วไป คือลักษณะทางกายภาพ ขนาด ความเรียบ

4.    การเจียขอบได้มุมฉาก คือกรอบทำมุม 90 องศา

5.    ดูสภาพทั่วไปของผ้าสกรีน คือมีความสมบูรณ์ ไม่มีรอยขาด มีขนาดและเบอร์ผ้าตามใบสั่งงาน

6.    การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน

7.    เครื่องมือในการวัดขนาด ได้แก่ ไม้บรรทัด สายวัด และไม้ฉาก

8.    อุปกรณ์สำหรับปรับสภาพผิว ได้แก่ ชุดหัวขัด (เจียร)

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ