หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการบริหารจัดการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-HJML-207A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการบริหารจัดการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านของเสียอุตสาหกรรม 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมการบริหารจัดการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05105.01 บัญชาการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 1.มอบหมายและสั่งการฝ่ายต่างๆ ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติงานต่างๆ (Standard OperatingProcedures-SOP) 198461
05105.01 บัญชาการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 2.ประเมินระดับความรุนแรง ความเสี่ยง ของอันตรายที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น 198462
05105.01 บัญชาการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 3. เลือกวิธีการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินให้เหมาะสมกับความเสี่ยงในเหตุการณ์ 198463
05105.01 บัญชาการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 4. ตัดสินใจเพื่อขอการสนับสนุนจากหน่วยตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสูงขึ้นหรือส่งมอบอำนาจการบัญชาการในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ 198464
05105.02 สื่อสารและให้ข้อมูลแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนใกล้เคียง และประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ 1.ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆที่นอกเหนือจากกฎหมายในด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 198465
05105.02 สื่อสารและให้ข้อมูลแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนใกล้เคียง และประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ 2.สื่อสารและให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ ระดับความรุนแรง/ความเสี่ยงอันตรายและผลกระทบสำหรับผู้รับฟังในระดับต่างๆ อย่างเหมาะสม ด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ดำเนินการแทน 198466

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสืบค้นข้อมูล คู่มือ เอกสาร ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศของการปฏิบัติงานด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยการใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น จากอินเทอร์เนต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

2.    ผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

3.    ผ่านการอบรมระบบบัญชาการเหตุการณ์ชั้นสูง (Advanced Incident Command System) หรือเทียบเท่า

4.    กฎหมาย ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกฎหมายในด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    ใบผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

3.    ใบผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

4.    ใบผ่านการอบรมระบบบัญชาการเหตุการณ์ชั้นสูง (Advanced Incident Command System) หรือเทียบเท่า

5.    ใบหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่อง สมบัติของสารเคมีอันตราย และการตรวจวัด

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสารเคมีอันตราย การเคลื่อนที่ของสารเคมีอันตรายในสิ่งแวดล้อม การประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัยในการตอบโต้ การสื่อสารความเสี่ยง และระบบบัญชาการเหตุการณ์ฉุกเฉิน

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การควบคุมการบริหารจัดการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสียหาย หรือความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ พนักงานของโรงงาน ผู้ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน สิ่งแวดล้อม และความเสียหายต่อทรัพย์สิน ผู้ปฏิบัติในระดับคุณวุฒิที่ 6 นี้ ต้องมีความรู้และความเข้าใจในทักษะและความรู้จากทุกระดับก่อนหน้า เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและบัญชาการเหตุการณ์ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารความเสี่ยง

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยงข้อง 

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System, ICS) หมายถึง ระบบที่ใช้เพื่อการสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณภัย ระบบดังกล่าวเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ

2.    มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP) หมายถึง คำสั่งหรือวิธีปฏิบัติงานที่ระบุอย่างเป็นขั้นตอน และมีรายละเอียดชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

3.    การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) หมายถึง การติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและความคิดเห็นระหว่างผู้ประเมินความเสี่ยง ผู้จัดการความเสี่ยง  ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ และไม่เกิดความตื่นตระหนกวุ่นวาย

4.    การอบรมตามข้อกำหนดของ OSHA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่อง       อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยสารเคมี ซึ่งกำหนดให้รับการการอบรม Hazardous Waste Operations and Emergency Response (HAZWOPER) ในระดับที่เหมาะสม และมีการอบรมทบทวนทุกปี

5.    การอบรมตามข้อกำหนดของ US EPA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่องคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสารเคมีอันตรายเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเทียบเท่า HAZWOPER คือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1     เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บัญชาการการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2     เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย สื่อสารและให้ข้อมูลแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนใกล้เคียง และประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ