หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-DOEP-206A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านของเสียอุตสาหกรรม     



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05104.01 ระบุวิธีการจัดการอันตรายระดับสูงเกี่ยวกับสารเคมี 1. ปฏิบัติตามเอกสารด้านความปลอดภัยสารเคมีจากแหล่งต่างๆทั้งในประเทศและนอกประเทศ 198456
05104.01 ระบุวิธีการจัดการอันตรายระดับสูงเกี่ยวกับสารเคมี 2.ระบุสมบัติของสารเคมี ปฏิกิริยาอันอาจจะเกิดขึ้น และความเสี่ยงรวมทั้งการควบคุมความเสี่ยงให้แก่หน่วยปฏิบัติการ 198457
05104.02 วางแผนและเตรียมการด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 1. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการสารเคมีและของเสียอันตรายและอาชีว อนามัยและความปลอดภัย 198458
05104.02 วางแผนและเตรียมการด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 2.วางแผนขั้นตอนการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 198459
05104.02 วางแผนและเตรียมการด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 3.วางแผนด้านความปลอดภัย (Health and Safety Plan-HASP) 198460

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสืบค้นข้อมูล คู่มือ เอกสาร ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศของการปฏิบัติงานด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยการใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น จากอินเทอร์เนต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

2.    ผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

3.    ผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านสารเคมี 

4.    ผ่านการอบรมระบบบัญชาการเหตุการณ์ชั้นสูง (Advanced Incident Command System) หรือเทียบเท่า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    ใบบันทึกรายการการเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือและสารเคมี ที่ตรงตามวิธีการที่กำหนด

3.    ใบผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

4.    ใบผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

5.    ใบผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านสารเคมี 

6.    ใบผ่านการอบรมระบบบัญชาการเหตุการณ์ชั้นสูง (Advanced Incident Command System) หรือเทียบเท่า

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการระบุวิธีการจัดการอันตรายระดับสูงเกี่ยวกับสารเคมี และการวางแผนและเตรียมการด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยพิจารณาหลักฐานด้านที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การวางแผนและการเตรียมการด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน และการระบุวิธีการจัดการอันตรายด้วยความรู้และข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับสารเคมีเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะของอุตสาหกรรม นับเป็นความสามารถที่สำคัญของผู้ปฏิบัติในระดับคุณวุฒิที่ 5 นี้ เนื่องจากเป็นผู้ที่จะให้ข้อมูลสารเคมีในการดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ความเสี่ยงจากสมบัติและปฏิกิริยาของสารเคมี และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญการวางแผนการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะแผนด้านสุขภาพและความปลอดภัยของการดำเนินการตอบโต้

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยงข้อง

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System, ICS) หมายถึง ระบบที่ใช้เพื่อการสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณภัย ระบบดังกล่าวเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ

2.    มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP) หมายถึง คำสั่งหรือวิธีปฏิบัติงานที่ระบุอย่างเป็นขั้นตอน และมีรายละเอียดชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

3.    การอบรมตามข้อกำหนดของ OSHA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่อง       อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยสารเคมี ซึ่งกำหนดให้รับการการอบรม Hazardous Waste Operations and Emergency Response (HAZWOPER) ในระดับที่เหมาะสม และมีการอบรมทบทวนทุกปี

4.    การอบรมตามข้อกำหนดของ US EPA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่องคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสารเคมีอันตรายเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเทียบเท่า HAZWOPER คือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุวิธีการจัดการอันตรายระดับสูงเกี่ยวกับสารเคมี

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วางแผนและเตรียมการด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ