หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ระบุความเป็นอันตรายและดำเนินการแจ้งเหตุ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IPHF-203A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ระบุความเป็นอันตรายและดำเนินการแจ้งเหตุ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านของเสียอุตสาหกรรม 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถระบุความเป็นอันตรายของสถานการณ์ฉุกเฉินด้านของเสียอุตสาหกรรมและดำเนินการแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05101.01 ระบุอันตรายและความเสี่ยงจากระยะปลอดภัย 1.บ่งชี้อันตรายจากสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบของของเสียอุตสาหกรรมที่มีความอันตราย โดยสังเกตจากข้อมูลความเสี่ยงในการขนส่งสารอันตราย 198426
05101.02 เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างเหมาะสมตามคุณสมบัติและข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในระดับเบื้องต้น 1. เลือกใช้ชุดและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในระดับเบื้องต้น 198427
05101.03 เก็บรักษาและเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (Drager Tube, PID, CGI, Oxygen detector, Carbon monoxide detector, LEL meter, Geiger counter) 1.เก็บรักษาและดูแลอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลตามคำแนะนำของผู้ผลิตให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 198428
05101.03 เก็บรักษาและเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (Drager Tube, PID, CGI, Oxygen detector, Carbon monoxide detector, LEL meter, Geiger counter) 2.เก็บรักษา ดูแล และสอบเทียบเครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศได้ตามคำแนะนำของผู้ผลิตและให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 198429
05101.04 ระบุระดับการแจ้งเหตุภัยสารเคมี 1. ประเมินระดับความรุนแรงเบื้องต้นและแจ้งหน่วยตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินของบริษัทหรือหน่วยงานป้องกันภัยในระดับต่อไปได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วรวมทั้งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุ 198430

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 24 ชั่วโมง หรือ เทียบเท่า

2.    การจำแนกชนิดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในระดับต่างๆ พร้อมการเลือกใช้อย่างเหมาะสม

3.    หลักการทำงานขั้นพื้นฐาน การใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์ เครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

4.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    ใบผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 24 ชั่วโมง หรือ เทียบเท่า

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการระบุความเป็นอันตรายและดำเนินการแจ้งเหตุ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การเตรียม เก็บรักษา สอบเทียบ อุปกรณ์และเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม ในระดับคุณวุฒิที่ 2 เป็นการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนให้ผู้มีระดับคุณวุฒิที่ 3 และ 4 ไปดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้  

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถบ่งชี้อันตรายจากสารเคมี อันเป็นส่วนประกอบของของเสียอุตสาหกรรมที่มีความอันตราย

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามคู่มือ

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    รหัสปฏิบัติการฉุกเฉิน (Emergency Action Code หรือ EAC หรือ Hazchem code) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการสื่อสารที่เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินทราบถึงอันตรายที่ควรระวัง หรือการปฏิบัติในการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินสารเคมี เช่น การรั่วไหล หรือไฟไหม้

2.    มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP) หมายถึง คำสั่งหรือวิธีปฏิบัติงานที่ระบุอย่างเป็นขั้นตอน และมีรายละเอียดชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

3.    การอบรมตามข้อกำหนดของ OSHA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่อง       อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยสารเคมี ซึ่งกำหนดให้รับการการอบรม Hazardous Waste Operations and Emergency Response (HAZWOPER) ในระดับที่เหมาะสม และมีการอบรมทบทวนทุกปี

4.    เครื่องมือตรวจวัดวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) ได้แก่ เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ปริมาณออกซิเจน) เครื่องมือตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมี เช่น Dräger Tube  Photo Ionization Detector  Combustible Gas Indicator  Carbon monoxide detector  LEL meter และ Geiger counter 

5.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามข้อกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุอันตรายและความเสี่ยงจากระยะปลอดภัย

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างเหมาะสมตามคุณสมบัติและข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในระดับเบื้องต้น

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บรักษาและเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.4    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุระดับการแจ้งเหตุภัยสารเคมี

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ