หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ชี้แจงข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้า

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-EQBQ-191A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ชี้แจงข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ตัวแทนจัดหา (Broker) ของเสียอุตสาหกรรม 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะในการติดต่อประสานงานให้คำแนะนำกับลูกค้า เพื่ออธิบายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำของเสียอุตสาหกรรมออกนอกโรงงานไปจัดการ ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ ขั้นตอนการขออนุญาต หน่วยงานกำกับ เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ตลอดจนข้อมูลรายเอียดพื้นฐานของของเสียอุตสาหกรรมที่ระบุไว้บัญชีของเสียที่กรมโรงงานกำหนดไว้ ทั้งรายชื่อของเสีย รหัสของเสียและรหัสวิธีการจัดการของเสียให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04101.01 อธิบายกฎหมาย/ข้อบังคับเบื้องต้นในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม 1. ระบุกฎหมาย/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม  04101.01.01 198368
04101.01 อธิบายกฎหมาย/ข้อบังคับเบื้องต้นในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม
2. อธิบายกฎหมายและข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
ของเสียอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง

04101.01.02 198369
04101.01 อธิบายกฎหมาย/ข้อบังคับเบื้องต้นในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

3. อธิบายหน่วยงานกำกับรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง

04101.01.03 198641
04101.01 อธิบายกฎหมาย/ข้อบังคับเบื้องต้นในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

4. อธิบายขั้นตอนการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงานได้อย่างถูกต้อง

04101.01.04 198642
04101.01 อธิบายกฎหมาย/ข้อบังคับเบื้องต้นในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

5. อธิบายรายละเอียดเอกสารกำกับที่เกี่ยวกับการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงานได้อย่างถูกต้อง

04101.01.05 198643
04101.02 ชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม 1. ชี้แจงรายละเอียดรหัสอุตสาหกรรม (Waste code) รวมถึงรหัสความเป็นอันตราย รหัสการจัดการของเสียตามบัญชีรายการของเสียอุตสาหกรรม (Waste List) ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดได้อย่างถูกต้อง  04101.02.01 198370
04101.02 ชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม 2. ชี้แจงและนำเสนอวิธีการจัดการของเสียอุตสาหกรรมตามวิธีการจัดการของเสียที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในอาชีพได้อย่างถูกต้อง 04101.02.02 198371
04101.02 ชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

3. ชี้แจงการเตรียมของเสียและขั้นตอนดำเนินการก่อนนำของเสียออกนอกโรงงานไปดำเนินการจัดการได้อย่างถูกต้อง

04101.02.03 198644

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการอ่านและจำข้อมูล

2.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

3.    การบริการ การรับฟังและเข้าใจความต้องการของลูกค้า

4.    ทักษะการอธิบายและนำเสนอ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    กฎระเบียบ และข้อบังคับจัดการของเสียอุตสาหกรรมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2.    การจำแนกลักษณะของเสียอุตสาหกรรมตามบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรม

3.    ขั้นตอนการขออนุญาตจัดการของเสียอุตสาหกรรม

4.    หน้าที่ของหน่วยงานกำกับ หน่วยงานการรับกำจัด/บำบัดของเสียอุตสาหกรรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการชี้แจงความประสงค์ของลูกค้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ชี้แจงข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้าในระดับ 4 เป็นการอธิบายข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการนำของเสียอุตสาหกรรมออกนอกโรงงานไปจัดการอย่างถูกต้อง เช่น กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ จากกรมโรงงาน ขั้นตอนการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงาน หน่วยงานกำกับ รายละเอียดของรหัสของเสียและรหัสการจัดการของเสียตามบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรม รวมถึงการแนะนำรายละเอียดของบริษัทตนเอง ให้แก่ลูกค้าทราบถึงการจัดการของเสียอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้เสนอแก่ระดับ 5 เพื่อพิจารณาประเมินทางเลือก จากนั้นจัดทำรายงานและนำเสนอทางเลือกให้แก่ลูกค้า และประสานงานเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถระบุขั้นตอนการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงานได้

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ขั้นตอนการจัดการฯ กฎหมาย และข้อบังคับที่และหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้อง

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความหมายของรหัสของเสีย รหัสวิธีการจัดการ ความเป็นอันตราย ตามคู่มือบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรม

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า และนำเสนอรายละเอียดการบริการของบริษัทตนเองได้

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ลูกค้า เช่น บุคคลหรือบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีของเสียอุตสาหกรรม ที่ต้องการนำของเสียอุตสาหกรรมไปจัดการอย่างถูกต้อง

2.    ของเสียอุตสาหกรรม หมายรวมถึง ของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายและของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย ตามบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรมที่กรมโรงงานกำหนด 

3.    ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องต่างๆ ขั้นตอนการขออนุญาต รายละเอียดของเสีย รหัสของเสีย รหัสการจัดการของเสียตามบัญชีรายชื่อของเสีย ขั้นตอนการบริการจัดการของเสีย ราคาการบริการ ผลกระทบของ

ของเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4.    กฎหมาย/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of Hazardous Waste and their Disposal :BASEL)

5.    ความเป็นอันตรายและความเสี่ยง (Potential hazards and risks) หมายถึง ความเป็นอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความสูญเสียต่อ โรงงาน รถขนส่ง และ ทรัพย์สิน ต่างๆ สิ่งแวดล้อม ความเจ็บป่วย และ การบาดเจ็บ ของพนักงาน ผู้รับเหมา และ ประชาชนโดยรอบ

6.    วิธีการจัดการของเสียอุตสาหกรรม หมายถึง การนำของเสียไปจัดการตามที่กำหนดในรหัสการจัดการของบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย อธิบายกฎหมาย/ข้อบังคับเบื้องต้นในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย ชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ