หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจากการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-JDRD-188A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจากการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ดูแลจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจสอบกระบวนการบำบัดของเสียอุตสาหกรรม และในกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นสามารถค้นหาความผิดปกติของกระบวนการบำบัด และแก้ไขปัญหาในกระบวนการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 2.    กฏกระทรวงฉบับที่ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 25353.    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการกําหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กําหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กําหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจํา และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแล สําหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03304.01 ตรวจสอบการดำเนินการจัดการ ของเสียอุตสาหกรรม 1. ตรวจสอบการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง 198358
03304.02 บ่งชี้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา 1. บ่งชี้ปัญหา/สิ่งผิดปกติจากการดำเนินการจัดการของเสียเพื่อจัดทำการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง 198359
03304.02 บ่งชี้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา 2. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมอย่างได้อย่างถูกต้อง 198360
03304.03 จัดทำบันทึกผลการปฏิบัติงาน ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน 1.จัดทำบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงานปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน 198361

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการตรวจสอบ ตรวจสอบเครื่องมือบำบัดของเสียอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน

2.    ทักษะการสังเกต ตรวจสอบความผิดปกติของกระบวนการบำบัดของเสียอุตสาหกรรม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความเป็นอันตรายของของเสียอุตสาหกรรม

2.    ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดกากของเสียอุตสาหกรรม

3.    วิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดของเสียอุตสาหกรรมในขั้นพื้นฐาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองการทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    ใบประกาศนียบัตรผู้ปฏิบัติการระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจากการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจากการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมในระดับคุณวุฒิ ที่ 4 เป็นการตรวจสอบการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม บ่งชี้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา และจัดทำบันทึกผลการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อรายงานแก่ระดับคุณวุฒิที่ 5

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในกระบวนการบำบัดกากของเสียอุตสาหกรรม

2.    ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    กากของเสียอุตสาหกรรม เช่น ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต วัตถุดิบที่เสื่อมสภาพจากการเก็บ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือเสื่อมสภาพ ภาชนะบรรจุที่มีของปนเปื้อนและของเหลือใช้

2.    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง สิ่งหนึ่งสิงใด ที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่ายกาย หรือหลายส่วน เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เสียงดัง แสง สารเคมี ความร้อน การตกจากที่สูง วัสดุกระเด็นเข้าตา วัสดุหล่นกระแทก หรือทับ เป็นต้น ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ  อุปกรณ์ป้องกันหู  อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา อุปกรณ์ป้องกันมือ อุปกรณ์ป้องกันเท้า อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ อุปกรณ์ป้องกันลำตัว แขน และขา หรือชุดนิรภัย และ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1.    เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย ตรวจสอบการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2.    เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย บ่งชี้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3.    เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย จัดทำบันทึกผลการปฏิบัติงาน ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ