หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-JPIA-177A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถบ่งชี้สภาวะแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบก่อนเข้าปฏิบัติงาน และเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษในพื้นที่ปนเปื้อนตามแผนการเก็บตัวอย่างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2.    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้เครื่องมือบ่งชี้ความผิดปกติของสภาวะแวดล้อมในขณะปฏิบัติงาน

2.    ทักษะในการคิดวิเคราะห์ สามารถประเมินความเสี่ยงของการทำงานในพื้นที่ปนเปื้อนได้

3.    ทักษะการสังเกตและประเมินพื้นที่ทำงาน สามารถระบุความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในพื้นที่ปนเปื้อนได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการ วิธีการเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษ

2.    วิธีกำจัดซากอุปกรณ์เก็บตัวอย่างและภาชนะที่มีความเป็นพิษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษในพื้นที่ปนเปื้อน โดยพิจารณาจากฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การดำเนินการเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษในพื้นที่ปนเปื้อนในระดับคุณวุฒิ ที่ 4 เป็นการบ่งชี้สภาวะแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบก่อนเข้าปฏิบัติงาน และเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษในพื้นที่ปนเปื้อนตามแผนการเก็บตัวอย่าง พร้อมทั้งดูแลรักษาอุปกรณ์/เครื่องมือเก็บตัอย่างตามระเบียบวิธีการที่กำหนด

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถระบุวิธีการเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษในพื้นที่ปนเปื้อน

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถระบุสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยในการทำงานได้

3.    ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงาน

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    กากของเสียอุตสาหกรรม เช่น ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต วัตถุดิบที่เสื่อมสภาพจากการเก็บ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือเสื่อมสภาพ ภาชนะบรรจุที่มีของปนเปื้อนและของเหลือใช้

2.    กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรม เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

3.    เครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม เช่น เครื่องมือตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง เครื่องมือจำแนกความเป็นอันตรายอย่างง่าย (HazCat Kit) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ธาตุ (Heavy Metals) – เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เครื่องมือตรวจวิเคราะห์สารประกอบ (Raman Spectrometer)

4.    เครื่องมือบ่งชี้ความผิดปกติของสภาวะแวดล้อมในขณะปฏิบัติงาน เช่น เครื่องมือตรวจวัดเปอร์เซ็นต์การจุดระเบิด (LEL) เครื่องมือตรวจวัดปริมาณออกซิเจน (O2) เครื่องมือตรวจวัดปริมาณออกซิเจน (H2S) เครื่องมือตรวจวัดไอระเหยสารอินทรีย์รวม (VOCs)

5.    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่ายกาย หรือหลายส่วน เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เสียงดัง แสง สารเคมี ความร้อน การตกจากที่สูง วัสดุกระเด็นเข้าตา วัสดุหล่นกระแทก หรือทับ เป็นต้น เช่น อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ อุปกรณ์ป้องกันหู อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา อุปกรณ์ป้องกันมือ อุปกรณ์ป้องกันเท้า อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ อุปกรณ์ป้องกันลำตัว แขน และขา หรือชุดนิรภัย และอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

6.    ข้อมูลในการเก็บตัวอย่าง เช่น วันที่/เวลา จุดเก็บตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง ประเภทตัวอย่าง ความถี่ในการเก็บตัวอย่าง ภาวะแวดล้อม และสภาพของตัวอย่าง สถานะทางกายภาพของตัวอย่าง (liquid/slurry/semi-solid/solid: inorganic/organic/metallic)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1.    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บ่งชี้สภาวะแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2.    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีความเป็นพิษในพื้นที่ปนเปื้อน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3.    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดูแลรักษาอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ