หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-NXRJ-171A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดพื้นที่ศึกษา จุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม และกำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ วิธีการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยทั้งระหว่างและหลังจากสิ้นสุดการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ รวมทั้งสามารถจัดทำเอกสาร การบันทึก รายงานข้อมูลการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2.    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการวางแผนเก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางอากาศ มลพิษทางอากาศ และการตรวจวัดมลพิษอากาศ

2.    หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด เครื่องมือเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม

3.    หลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม

4.    กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    แฟ้มสะสมผลงาน

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางอากาศ มลพิษทางอากาศ และการตรวจวัดมลพิษอากาศ หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด เครื่องมือเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การวางแผนการตรวจวัดและการเก็บตัวอย่างอากาศในระดับ 5 เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้การมีส่วนร่วมวางแผน บริหารจัดการ มีพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในระดับคุณวุฒิอื่นได้ 

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศตามวัตถุประสงค์ของการตรวจวัด การระบุข้อจำกัดในเชิงพื้นที่ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างอากาศ การกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการเข้าพื้นที่ศึกษา และการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการกำหนดพื้นที่ศึกษาและจุดเก็บตัวอย่าง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดวิธีการเก็บ การตรวจวัดตัวอย่างอากาศตามข้อกำหนด การกำหนดวิธีการปรับเทียบและใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ รวมทั้งการกำหนดวิธีการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ และการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการกำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบเอกสารบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างและสภาวะการเก็บตัวอย่าง รวมทั้งการกำหนดวิธีการติดฉลากที่สามารถสอบทวนถึงที่มาของตัวอย่าง และข้อสังเกตุที่อาจมีผลต่อตัวอย่าง

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย และการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยทั้งระหว่างและหลังจากสิ้นสุดการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    วิทยาศาสตร์ทางอากาศ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างบรรยากาศ สภาพความคงตัวของบรรยากาศ อุตุนิยมวิทยา 

2.    มลพิษทางอากาศ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรม ชนิดของมลสารทางอากาศ

3.    การตรวจวัดมลพิษอากาศ ได้แก่ หลักการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่าง หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด และเครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ 

4.    กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรม เป็นกฎหมายที่ประกาศโดยหน่วยงานรัฐในประเทศและต่างประเทศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม 

1.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

2.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดวิธีเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศตามมาตรฐาน

1.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

2.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดทำเอกสารการบันทึก การรายงานข้อมูลการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

1.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

2.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.4    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย 

1.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

2.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ