หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-ITZD-169A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ อ่านผลการตรวจวัด จัดเก็บข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ และรายงานข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2.    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

1. ปฏิบัติตามคู่มือและระบุลำดับขั้นตรวจวัดตัวอย่าง

02206.01.01 225016
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

2. บ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างตรวจวัดตัวอย่าง

02206.01.02 225017
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

3. ระบุมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

02206.01.03 225018
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

4. เตรียมอุปกรณ์ตรวจวัดตัวอย่างให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

02206.01.04 225019
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

5. เลือกเวลาและสถานที่ตรวจวัดตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน

02206.01.05 225020
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

6. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือ และปรับเทียบที่หน้างานตามวิธีการที่กำหนด

02206.01.06 225021
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

7. ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดตัวอย่าง ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม

02206.01.07 225022
02206.01

ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ

8. บันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะตรวจวัดตัวอย่าง

02206.01.08 225023
02206.02

อ่านผลการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

1. ปฏิบัติตามคู่มือและระบุลำดับขั้นของการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องมือ

02206.02.01 225024
02206.02

อ่านผลการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

2. ระบุความสามารถของระบบการจัดเก็บข้อมูล และระบบถ่ายข้อมูลในการตรวจวัดของเครื่องมือ

02206.02.02 225025
02206.02

อ่านผลการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

3. อ่านและแปลผลข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

02206.02.03 225026
02206.03

รายงานข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

1. วิเคราะห์ค่าข้อมูลการตรวจวัดจากเครื่องมือที่ได้ในพื้นที่ศึกษา

02206.03.01 225027
02206.03

รายงานข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

2. รายงานข้อมูลการตรวจวัดจากเครื่องมือที่ได้ในพื้นที่ศึกษา

02206.03.02 225028
02206.03

รายงานข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

3. รายงานปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

02206.03.03 225029

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งชื่อเครื่องมือตรวจวัด ศัพท์เฉพาะที่ใช้กับการตรวจวัดให้ผู้ร่วมงานได้ถูกต้อง

2.    ทักษะการนำเสนอความคิดเห็น สามารถกำหนดจุดเก็บ วิธีการเก็บที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ

2.    หลักการ วิธีการตรวจวัดด้วยเครื่องมือตรวจวัดอากาศที่แสดงผลได้ทันที 

3.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน 

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจชนิดของสารมลพิษทางอากาศ หลักการ วิธีการตรวจวัดด้วยเครื่องมือตรวจวัดอากาศที่แสดงผลได้ทันที โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

การเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับในระดับ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด และปฏิบัติงานครอบคลุมหลายขั้นตอนจนนำไปสู่ข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหา ถือเป็นทักษะที่จำเป็นก่อนไปทำงานในระดับ 5 การวางแผนการตรวจวัดและการเก็บตัวอย่างอากาศ และการประเมินผลการเก็บตัวอย่างอากาศและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา

   (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการตรวจวัดตัวอย่างอากาศจากปล่องด้วยวิธีอื่นที่ได้รับการยอมรับ การเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัด การเลือกเวลาและสถานที่ตรวจวัดที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือและปรับเทียบที่หน้างานได้ตามวิธีที่กำหนด การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดตัวอย่าง ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม รวมทั้งการบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะตรวจวัดตรวจอย่าง และนอกจากนี้ผู้เข้าประเมินต้องให้ความสำคัญของการบ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตรวจวัดตัวอย่างอากาศเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และการระบุมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่เก็บตัวอย่าง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องมือ การระบุความสามารถของระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบถ่ายข้อมูลในการตรวจวัดของเครื่องมือ รวมทั้งการอ่านและแปลผลข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

3.    ผู้เข้าประเมินต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ค่าข้อมูลตรวจวัดและการรายงานข้อมูลผลการตรวจวัดจากเครื่องมือที่ได้ในพื้นที่ศึกษา และการรายงานปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บตัวอย่าง

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    เครื่องตรวจวัดที่แสดงผลได้ทันที เช่น เครื่องมือตรวจวัดตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย ที่สามารถวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณแล้วรายงานผลทันที ณ เวลาที่ทำการตรวจวัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย ติดตั้งและเก็บข้อมูลตรวจวัดตัวอย่างอากาศด้วยวิธีการอื่นที่ได้รับการยอมรับ

1.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

2.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

   18.2    เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย อ่านผลการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

1.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

2.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

   18.3    เครื่องมือประเมินสมรรถนะ รายงานข้อมูลการตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

3.    ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ