หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-OOVV-168A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถรักษาตัวอย่างอากาศและส่งตัวอย่างวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งรายละเอียดการเขียนฉลากตัวอย่างได้ถูกต้องและเข้าใจง่าย 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างอากาศอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    ใบบันทึกรายการตัวอย่างและสภาวะการรักษาตัวอย่างที่จะนำส่งเพื่อวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการ

3.    เอกสารการจัดทำทะเบียนตัวอย่าง

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความถูกต้องเหมาะสมของการรักษาตัวอย่าง และการกำหนดรหัสตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านรู้

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การรักษาตัวอย่างอากาศและส่งตัวอย่างวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการในระดับ 3 เป็นการจัดการดูแลสภาพตัวอย่างหลังการทำงานของผู้เก็บตัวอย่างที่ระดับ 3 และเคลื่อนย้ายตัวอย่างไปส่งที่ห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์และรายงานผลต่อไป 

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการติดฉลากตัวอย่างที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง และข้อสังเกตที่อาจมีผลต่อตัวอย่าง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการรักษาตัวอย่างและเคลื่อนย้ายตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตามข้อแนะนำที่เกี่ยวข้อง

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ฉลากตัวอย่าง หมายถึง ฉลากที่แสดงรหัสตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย ที่ง่ายต่อความเข้าใจถึงที่มาและลำดับการเก็บตัวอย่าง 

2.    การรักษาตัวอย่าง หมายถึง การดูแลสภาพตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย ให้อยู่ในสภาวะที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย รักษาตัวอย่างก๊าซและสารอินทรีย์ระเหยตามวิธีการที่กำหนด 

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย รักษาตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด 

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ