หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-BNGZ-167A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเก็บตัวอย่างอากาศได้อย่างถูกต้องตามวิธีที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งลำดับการทำงานและติดต่อกับทีมงานเพื่อให้การเก็บตัวอย่างได้ถูกต้องและสมบูรณ์ 

2.    ทักษะการนำเสนอความคิดเห็น สามารถเลือกกำหนดตำแหน่งจุดเก็บ วิธีการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสมตามเกณฑ์กำหนด อธิบายเหตุความจำเป็นในการปฏิบัติงานต่อผู้รับบริการได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ

2.    หลักการ วิธีการเก็บตัวอย่างก๊าซ สารอินทรีย์ระเหย และฝุ่นละอองในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน

3.    หลักการ วิธีการการใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างก๊าซ สารอินทรีย์ระเหย และฝุ่นละอองในภาคสนาม พร้อมทั้งบ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ

4.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจชนิดของสารมลพิษทางอากาศ หลักการ วิธีการเก็บตัวอย่างก๊าซ สารอินทรีย์ระเหย และฝุ่นละอองในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน และการใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การเก็บตัวอย่างอากาศในระดับ 3 เป็นการรวบรวมตัวอย่างอากาศให้ผู้มีหน้าที่รักษาตัวอย่างและส่งตัวอย่างวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในระดับ 3 เช่นกัน

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการเก็บตัวอย่างอากาศ การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง   และมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน ความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือที่ใช้ และการปรับเทียบตามวิธีมาตรฐาน

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตัวอย่างอากาศ เช่น ตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย 

2.    ข้อมูลสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ความเร็วลม 

3.    ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน หมายถึง ตัวอย่างอากาศที่เก็บ ณ เวลาและจุดเก็บที่เหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรายงานผล

4.    การปรับเทียบเครื่องมือ เป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือเก็บตัวอย่างก่อนการเก็บจริง โดยมีวิธีมาตรฐานกำหนดไว้สำหรับเครื่องมือแต่ละชนิด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1     เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างก๊าซและสารอินทรีย์ระเหยตามวิธีการที่กำหนด

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2     เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างฝุ่นตามวิธีการที่กำหนด

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ