หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่เก็บตัวอย่างอากาศก่อนและหลังการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-XVDB-166A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่เก็บตัวอย่างอากาศก่อนและหลังการปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมพื้นที่เก็บตัวอย่างอากาศก่อนและหลังการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02203.01

สำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ

1. ระบุขั้นตอนสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศตามคู่มือ

02203.01.01 224987
02203.01

สำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ

2. ดำเนินการสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ

02203.01.02 224988
02203.01

สำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ

3. บันทึกผลการสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่าง

02203.01.03 224989
02203.02

ตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

1. ระบุขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่างตามคู่มือ

02203.02.01 224990
02203.02

ตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

2. ตรวจสอบพื้นที่เก็บตัวอย่างให้มีความปลอดภัยตามมาตรการด้านความปลอดภัยของเจ้าของพื้นที่

02203.02.02 224991
02203.02

ตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

3. บันทึกผลการตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

02203.02.03 224992
02203.03

ตรวจสอบสภาพพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

1. ตรวจสอบสภาพพื้นที่เก็บตัวอย่างอากาศให้สะอาดปลอดภัยพร้อมใช้งาน

02203.03.01 224993
02203.03

ตรวจสอบสภาพพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

2. รวบรวมของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อนำไปกำจัดต่อไป

02203.03.02 224994
02203.03

ตรวจสอบสภาพพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

3. บันทึกผลการตรวจสอบสภาพแวดล้อมหลังการปฏิบัติงาน

02203.03.03 224995

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งลำดับการทำงานและติดต่อกับทีมงานเพื่อให้การสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ การตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 

2.    ทักษะการนำเสนอความคิดเห็น สามารถสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ การตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่างได้เหมาะสมตามเกณฑ์กำหนด อธิบายเหตุความจำเป็นในการปฏิบัติงานต่อผู้รับบริการได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ

2.    หลักการ สำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน

3.    หลักการ วิธีการตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

4.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจชนิดของสารมลพิษทางอากาศ สำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศในภาคสนามตามวิธีมาตรฐาน หลักการ วิธีการตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง และมาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

   (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

การเตรียมพื้นที่เก็บตัวอย่างอากาศก่อนและหลังการปฏิบัติงานในระดับ 3 เป็นการสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศในภาคสนาม และการตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติการเก็บตัวอย่างอากาศ 

   (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการสำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศในภาคสนาม การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่าง และมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติการเก็บตัวอย่างอากาศ

   (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตัวอย่างอากาศ เช่น ตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย 

2.    ข้อมูลสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ความเร็วลม 

3.    ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน หมายถึง ตัวอย่างอากาศที่เก็บ ณ เวลาและจุดเก็บที่เหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรายงานผล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย สำรวจพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างอากาศ

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

   18.2     เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่เก็บตัวอย่าง

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

   18.3    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจสอบสภาพพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

4.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ