หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-BTMD-164A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศ และเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งชื่ออุปกรณ์ สารเคมีที่ใช้ได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การจำแนกชนิดของอุปกรณ์ เครื่องมือ และสารเคมี พร้อมการเลือกใช้อย่างถูกต้อง

2.    หลักการทำงานขั้นพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์ เครื่องมือ

3.    มาตรการด้านความปลอดภัยของการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ และสารเคมี

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศ และเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศ และเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุในระดับ 2 เป็นการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนให้ผู้มีระดับ 3 ไปดำเนินการเก็บตัวอย่างและรักษาตัวอย่างอากาศได้ 

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์เก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน การเตรียมสารที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างในภาคสนาม การเตรียมอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะเก็บตัวอย่างที่สอดคล้องตามวิธีที่กำหนดและเพียงพอต่อการใช้งาน

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือ 

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง เช่น อุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย 

2.    สารเคมีที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง เช่น สารละลายดูดซึมที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างก๊าช น้ำกลั่น 

3.    อุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม เช่น เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น) คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เอกสารจดบันทึกรายละเอียดสภาพแวดล้อมระหว่างการเก็บตัวอย่าง 

4.    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามข้อกำหนดของเจ้าของพื้นที่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเก็บตัวอย่างก๊าซและสารอินทรีย์ระเหย

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเก็บตัวอย่างฝุ่น

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ

1.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

2.    ข้อสอบอัตนัย

3.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ