หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-MMAL-163A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินความเสี่ยงและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับกระบวนการเก็บตัวอย่างน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2.    ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถวางแผนและกำหนดขั้นตอนการเก็บตัวอย่างน้ำ กำหนดระบบการขนส่ง (logistics) และจัดทำรายงานการเก็บตัวอย่างได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความหมายและวิธีการตรวจวัดพารามิเตอร์หลักของน้ำเสีย ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis)

2.    หลักการทำงานของเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    แฟ้มสะสมผลงาน

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม ใบผ่านการอบรม

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนและกำหนดขั้นตอนการเก็บตัวอย่างน้ำ กำหนดระบบการขนส่ง (logistics) และจัดทำรายงานการเก็บตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ประเมินความเสี่ยงและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับกระบวนการเก็บตัวอย่างน้ำของอาชีพผู้เก็บตัวอย่างน้ำ ระดับ 5 เป็นการระบุความเสี่ยง ความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่าง และกำหนดระบบการขนส่ง (logistics) ตัวอย่าง กำหนดวิธีการและแนวทางการแก้ไขความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่าง และกำหนดระบบการขนส่ง (logistics) ตัวอย่าง

    (ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านมลพิษทางน้ำ และการตรวจวัดมลพิษทางน้ำ หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษทางน้ำจากอุตสาหกรรม

3.    ผู้เข้ารับการประเมินควรศึกษาเอกสารคู่มือการเก็บตัวอย่างมลพิษ (น้ำ อากาศ ดิน กากอุตสาหกรรม) จัดทำโดยสำนักวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    พื้นที่ศึกษา หมายถึงพื้นที่ที่ต้องการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย เช่น บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อกักเก็บ

น้ำเสีย ท่อระบายน้ำทิ้ง

2.    ระบบการขนส่ง (logistics) หมายถึงวิธีการบรรจุ ขนถ่าย เคลื่อนย้าย กระบวนการส่ง-รับตัวอย่างน้ำเสีย

3.    คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการตรวจวัดน้ำเสีย ณ จุดเก็บตัวอย่าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุความเสี่ยง ความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่าง และกำหนดระบบการขนส่ง (logistics) ตัวอย่าง 

1.    ข้อสอบอัตนัย

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดวิธีการและแนวทางการแก้ไขความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่าง และกำหนดระบบการขนส่ง (logistics) ตัวอย่าง 

1.    ข้อสอบอัตนัย

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ