หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมและจัดเก็บสารเคมีทั่วไป และตัวอย่างของเสีย

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-INOV-150A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมและจัดเก็บสารเคมีทั่วไป และตัวอย่างของเสีย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งและของเหลวสำหรับการทดสอบ จัดเก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01103.01 เตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ 1. แสดงการคำนวณเพื่อเตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบเช่น การเจือจางกรด การเตรียมสารละลายจากสารของแข็ง 198089
01103.01 เตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ 2. เลือกภาชนะเครื่องแก้วและอุปกรณ์สำหรับการเตรียมสารเคมีได้ถูกต้อง 198090
01103.01 เตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ 3. เตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ 198091
01103.02 เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งแลของเหลวสำหรับการทดสอบ 1. เตรียมเครื่องแก้วและอุปกรณ์สำหรับการเตรียมตัวอย่างประเภทของแข็งและของเหลวสำหรับการทดสอบ 198092
01103.02 เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งแลของเหลวสำหรับการทดสอบ 2. เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งและของเหลวสำหรับการทดสอบตามคู่มือปฏิบัติงานเช่นการย่อยตัวอย่าง (digest) 198093
01103.02 เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งแลของเหลวสำหรับการทดสอบ 3. เก็บรักษาตัวอย่างที่เตรียมแล้วติดป้าย ฉลาก เพื่อระบุหมายเลขตัวอย่าง 198094
01103.03

เก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

1. สืบค้นและจัดหาคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตสำหรับการเก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้

01103.03.01 198497
01103.03

เก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

2. ดูแลรักษาสารเคมีและปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับการเก็บสารเคมี

01103.03.02 198498

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถ

-    เตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบได้ และจัดเก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้

-    เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งและของเหลวสำหรับการทดสอบได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การคำนวณเพื่อเตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ เช่น การเจือจางกรด การเตรียมสารละลายจากสารของแข็ง

2.    การเตรียมตัวอย่างของเสียสำหรับการทดสอบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม ใบผ่านการอบรม

3.    ใบแสดงผลการเรียนที่แสดงว่ามีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเตรียมและจัดเก็บสารเคมีทั่วไป และเตรียมตัวอย่างของเสียที่ไม่ซับซ้อน โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การเตรียมและจัดเก็บสารเคมีทั่วไปและเตรียมตัวอย่างของเสียของอาชีพผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 เป็นการเลือกภาชนะ เครื่องแก้วและอุปกรณ์ที่เหมาะสมและเตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ รวมถึงการจัดเก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ และการเตรียมตัวอย่างของเสียสำหรับการทดสอบตามคู่มือปฏิบัติงานเพื่อทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง และ/หรือส่งมอบตัวอย่างที่เตรียมเรียบร้อยแล้วให้นักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 ทดสอบและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสียต่อไป

    (ก)    คำแนะนำ

-N/A-

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตัวอย่างของเสียที่ไม่ซับซ้อน หมายถึงตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งและของเหลวที่ทราบองค์ประกอบของเนื้อสาร หรือทราบแหล่งที่มาของของเสียชัดเจน

2.    สารเคมีทั่วไป หมายถึงสารเคมีที่ใช้ประจำในห้องปฏิบัติการและมีวิธีการเตรียมที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษในการเตรียม และไม่ส่งผลต่อผลการวิเคราะห์ทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น กรด เบส สารละลายของเกลือ รีเอเจนต์

3.    ภาชนะ เครื่องแก้วและอุปกรณ์สำหรับการเตรียมสารเคมี หมายถึงภาชนะ เครื่องแก้วและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฎิบัติการที่ใช้ในการเตรียมสารเคมี เช่น บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย ขวดแก้ว กระบอกตวง ขวดพลาสติก เครื่องชั่ง

4.    การเตรียมตัวอย่าง (sample preparation) หมายถึงการนำตัวอย่างของเสียมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การย่อย (digestion) การอบแห้ง การบด การผสม การละลาย การสกัด เพื่อให้ตัวอย่างมีคุณสมบัติและสภาพเหมาะกับวิธีวิเคราะห์ทดสอบ

5.    คำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต หมายถึงเอกสารคำแนะนำสำหรับการเก็บและดูแลรักษาสารเคมี (handling and storage) จากบริษัทผู้ผลิตสารเคมี หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี อาจเรียกชื่อเป็น safety data sheet (SDS), material safety data sheet (MSDS) หรือ product safety data sheet (PSDS) หรืออาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

6.    คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเตรียมและจัดเก็บสารเคมี และการเตรียมตัวอย่างของเสีย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมสารเคมีทั่วไปสำหรับการทดสอบ 

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมตัวอย่างของเสียประเภทของแข็งและของเหลวสำหรับการทดสอบ 

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3    เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บและดูแลรักษาสารเคมีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ