หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมเครื่องแก้วและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-YYDF-208A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมเครื่องแก้วและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง และจัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01102.01 ล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 1. เตรียมน้ำยาหรือสารละลายสำหรับล้างเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 198467
01102.01 ล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 2. บอกชนิดและประเภทของเครื่องแก้วและอุปกรณ์วัดปริมาตร เช่นขวดกำหนดปริมาตร ปิเปต บิวเรต 198468
01102.01 ล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 3. ล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการตามวิธีที่กำหนด 198469
01102.02 จัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ 1. เตรียมและดูแลสถานที่จัดเก็บอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ติดป้ายสถานที่จัดเก็บตามประเภทของเครื่องแก้วและอุปกรณ์ 198470
01102.02 จัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ 2. จัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการตามประเภทของเครื่องแก้วและอุปกรณ์ 198471

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถ

-    ล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้

-    จัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การเตรียมน้ำยาหรือสารละลายสำหรับล้างเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

2.    การดูแลบำรุงรักษาเครื่องแก้วและอุปกรณ์วัดปริมาตร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

2.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

2.    หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม ใบผ่านการอบรม

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดเตรียมและดูแลเครื่องแก้วและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานโดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

    (ง)    วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การจัดเตรียมและดูแลเครื่องแก้วและอุปกรณ์ของอาชีพผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 2 เป็นการล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างถูกวิธี และจัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและพร้อมใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 เพื่อเตรียมตัวอย่างของเสียและทดสอบต่อไป

    (ก)    คำแนะนำ

-N/A-

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ หมายถึงเครื่องแก้วทุกชนิดที่ใช้ในห้องปฎิบัติการทดสอบ เช่น บีกเกอร์ ขวดแก้ว กระบอกตวง ขวดกำหนดปริมาตร ปิเปต บิวเรต ขวดก้นกลม หลอดทดลอง

2.    อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ หมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในห้องปฎิบัติการทดสอบ เช่น ขาตั้ง (stand) คีมหนีบหลอดแก้ว เทอร์โมมิเตอร์ ภาชนะพลาสติก ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก

3.    สถานที่จัดเก็บอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ หมายถึงบริเวณที่จัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ เช่น ตู้เก็บของ ลิ้นชักเก็บของ กล่องเก็บของ ชั้นวางของ โต๊ะปฏิบัติการ

4.    คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดเตรียมและดูแลเครื่องแก้วและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1    เครื่องมือประเมิน การสอบข้อเขียนเพื่อประเมินความรู้และทักษะที่ต้องการในหัวข้อการล้างและทำความสะอาดเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2    เครื่องมือประเมิน การสอบข้อเขียนเพื่อประเมินความรู้และทักษะที่ต้องการในหัวข้อจัดเก็บเครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

3.    ข้อสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ