หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์พลาสติก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-CIMQ-260A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์พลาสติก

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบริหารจัดการในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ กำหนดนโยบายด้านคุณภาพของระบบการผลิต และการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
06131
วางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์
1. บอกคําศัพท์ที่เกี่ยวกับการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ 06131.01 199013
06131
วางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์
2. กำหนดรายละเอียดของขั้นตอนการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ 06131.02 199014
06131
วางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์
3. วางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า 06131.03 199015
06132 กำหนดนโยบายด้านคุณภาพของระบบการผลิต 1. กำหนดรายละเอียดของนโยบายด้านคุณภาพ 06132.01 199016
06132 กำหนดนโยบายด้านคุณภาพของระบบการผลิต 2. สื่อสารนโยบายคุณภาพให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบและปฏิบัติตาม 06132.02 199017
06133 ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ 1. ปรับปรุงกระบวนการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดต้นทุนในการผลิตงานเสีย 06133.01 199018
06133 ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ 2. ปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการตรวจหรือเครื่องมือเพื่อดักจับของเสียในสายการผลิต 06133.02 199019

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0611 วิเคราะห์และกําหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

0612 วางแผนการผลิตในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้

2) สามารถกำหนดรายละเอียดของขั้นตอนการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า

3) สามารถกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ และสื่อสารนโยบายคุณภาพให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบและปฏิบัติตาม

4) สามารถรับปรุงกระบวนการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตงานเสีย และปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับคําศัพท์ที่เกี่ยวกับการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์

2) ความรู้เกี่ยวกับหลักการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และหลักการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพของระบบการผลิต

3) ความรู้เกี่ยวกับหลักการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

1) อธิบายรายละเอียดขั้นตอนการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์

2) อธิบายหลักการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพของระบบการผลิต

3) อธิบายหลักการ และวิธีการปรับปรุงกระบวนการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตงานเสีย และวิธีการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

4) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

5) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

6) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แสดงการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้

2) แสดงขั้นตอนการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า

3) แสดงวิธีการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ และวิธีการสื่อสารนโยบายคุณภาพให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบและปฏิบัติตาม

4) แสดงวิธีการปรุงกระบวนการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตงานเสีย และปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

5) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

6) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

7) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินความสามารถในการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยการพิจารณาการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้ความสามารถในการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนในการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพ ระบบประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ ระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นต้น ความสามารถในการวางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ความสามารถในการกำหนดนโยบายคุณภาพของผู้เข้ารับการประเมินที่สามารถทำให้ ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบและปฏิบัติตามได้และพิจารณาความสามารถในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ เช่น การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเพื่อลดการเกิดต้นทุนในการผลิตของเสียหรือพิจารณาแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการตรวจหรือเครื่องมือในการตรวจคุณภาพเพื่อดักจับของเสียในกระบวนการผลิต


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

1) วางแผนระบบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้

2) กําหนดนโยบายด้านคุณภาพของระบบการผลิตได้

3) การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

N/A



(ค) คำแนะนำ

หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1) ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2) วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3) ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 



โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) คำอธิบายรายละเอียด

N/A



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ