หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์สนับสนุนที่ใช้ในกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-OLUM-252A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์สนับสนุนที่ใช้ในกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างบำรุงรักษากระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมการบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอัดรีด ขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อให้เป็นไปตามแผนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ ร่วมวางแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05341 ควบคุมการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามแผน 1. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร 05341.01 195408
05341 ควบคุมการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามแผน 2. อธิบายแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อได้ 05341.02 195409
05341 ควบคุมการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามแผน 3. ควบคุมการตรวจสอบการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่ระบุตามแผน 05341.03 195410
05342 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบํารุงรักษา 1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงข้อมูลการบำรุงรักษา 05342.01 195411
05342 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบํารุงรักษา 2. จัดทำเอกสารที่ใช้ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ 05342.02 195412
05343 ร่วมวางแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์

1. จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้และอุปกรณ์ได้

05343.01 195416
05343 ร่วมวางแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ 2. จัดทำแผนฉุกเฉินในกรณีการดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ 05343.02 195417
05344
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์
1. วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้และอุปกรณ์สนับสนุน 05344.01 195418
05344
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์
2. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้และอุปกรณ์ 05344.02 195419

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0531 บำรุงรักษาเครื่องอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ

0532 บำรุงรักษาได้

0533 บำรุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถตรวจสอบการบํารุงรักษาตามระยะเวลาที่ระบุตามแผน

2) สามารถประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงข้อมูลการบํารุงรักษา

3) สามารถจัดทําเอกสารที่ใช้ในการประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวข้องได้

4) สามารถจัดทําแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ และแผนฉุกเฉินในกรณีการดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้

5) สามารถวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดายและอุปกรณ์สนับสนุน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2) ความรู้เกี่ยวกับหลักการควบคุม การบํารุงรักษาบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามแผน

3) ความรู้เกี่ยวกับหลักการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบํารุงรักษา

4) ความรู้เกี่ยวกับหลักการร่วมวางแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์สนับสนุน

5) ความรู้เกี่ยวกับหลักการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และ อุปกรณ์สนับสนุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น

2) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

3) เอกสารการประเมินผลการสอบข้อเขียน



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ เช่น ใบบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบฟอร์มบันทึกภาระงาน ใบแสดงรายละเอียดงาน ใบรับรองการผ่านงาน แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ ภาพถ่าย/วีดีทัศน์ผลงาน เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้และทักษะ โดยพิจารณาจากการบอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร พิจารณาความเข้าใจและสามารถอธิบายแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการอัดรีดขึ้นรูปโปร ไฟล์และท่อ สามารถควบคุมการตรวจสอบการบํารุงรักษาตามระยะเวลาที่ระบุตามแผน มีทักษะในการ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์สนับสนุน เพื่อชี้แจงข้อมูล การบํารุงรักษา พร้อมจัดทําเอกสารที่ใช้ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวคิดในการ วางแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ โดยให้ผู้เข้ารับการประเมิน วางแผนการบํารุงรักษา เครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ พร้อมทั้งแผนฉุกเฉินในกรณีการดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ และ พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ดายและอุปกรณ์ พร้อมแนะแนวทางในการแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้น


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

1) วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงานได้

2) ประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อได้

3) วางแผนป้องกันอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้





(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

N/A



(ค) คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้และทักษะ โดยพิจารณาจากการบอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร พิจารณาความเข้าใจและสามารถอธิบายแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ สามารถควบคุมการตรวจสอบการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่ระบุตามแผน มีทักษะในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ได้และอุปกรณ์ เพื่อชี้แจงข้อมูลการบำรุงรักษาพร้อมจัดทำเอกสารที่ใช้ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวคิดในการวาง แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้และอุปกรณ์ โดยให้ผู้เข้ารับการประเมิน วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้และอุปกรณ์พร้อมทั้งแผนฉุกเฉินในกรณีการดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้และพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ และอุปกรณ์ วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ในกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร ได้และอุปกรณ์ พร้อมแนะแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น



(ง) คำอธิบายรายละเอียด

1. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. อธิบายแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อได้

3. การควบคุมการตรวจสอบการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่ระบุตามแผน

4. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงข้อมูลการ บำรุงรักษา

5. การจัดทำเอกสารที่ใช้ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

6. การจัดทำแผนการบำรุงรักษา เครื่องจักร ได้และอุปกรณ์ได้

7. การจัดทำแผนฉุกเฉินในกรณีการดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้

8. การวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร ได้และอุปกรณ์สนับสนุน

9. การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้และอุปกรณ์



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

“แผนการบํารุงรักษา” หมายถึง เอกสารที่ระบุแผนการดําเนินงานในกระบวนการบํารุงรักษาที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ หมายเลขเครื่องจักร ดายและอุปกรณ์ใช้ในการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ ระยะเวลาในการตรวจสอบบํารุงรักษา รายการในการตรวจสอบ เป็นต้น ผู้ประเมินสามารถพิจารณาจากเอกสารตารางการตรวจสอบเครื่องจักร ดาย และอุปกรณ์ใช้ในการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ(PM) ของสถานประกอบการนั้นได้



“หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” หมายถึง หน่วยงานที่ต้องติดต่อประสานงาน มีส่วนร่วมในการดําเนินงาน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผนการผลิต สินค้าคงคลัง ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น



“แผนฉุกเฉิน” หมายถึง แผนการดําเนินงานกรณีที่มีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อระยะเวลาในการผลิต ทําให้ฝ่ายผลิตไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตามจํานวนและเวลาที่กําหนด โดยผู้ประเมินสามารถพิจารณาจากแผนฉุกเฉินในสถานประกอบการนั้นๆ ที่ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติงานอยู่ประกอบการประเมินสมรรถนะได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ