หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บํารุงรักษาดาย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-EPPI-250A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บํารุงรักษาดาย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างบำรุงรักษากระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบสภาพของเครื่องอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ บำรุงรักษาเครื่องอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ และบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05321 ตรวจสอบสภาพของดาย 1. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษาดาย 05321.01 195379
05321 ตรวจสอบสภาพของดาย 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของดายก่อนและหลังใช้งาน 05321.02 195380
05321 ตรวจสอบสภาพของดาย 3. จดบันทึกข้อบกพร่องและการแก้ไขเบื้องต้น 05321.03 195381
05322 บํารุงรักษาดายเบื้องต้น 1. บำรุงรักษาดายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ (ระดับน้ำมันหล่อลื่น การป้องกันสนิม การแตกหักของดาย เป็นต้น) 05322.01 195386
05322 บํารุงรักษาดายเบื้องต้น 2. ตรวจสอบรายละเอียดข้อกําหนดการบำรุงรักษา 05322.02 195387
05323 บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น 1. บันทึกข้อมูลสภาพความสมบูรณ์และข้อบกพร่องของดาย 05323.01 195388
05323 บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น 2. สรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดายและจัดทำรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้น 05323.02 195389

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0531 บํารุงรักษาเครื่องอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของของดายก่อนและหลังใช้งานและรายละเอียดข้อกําหนดการบํารุงรักษา

2) สามารถจดบันทึกข้อบกพร่องและการแก้ไขเบื้องต้น

3) สามารถบํารุงรักษาดายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ (ระดับน้ํามันหล่อลื่น การป้องกันสนิม การแตกหักของดาย เป็นต้น)

4) สามารถบันทึกข้อมูลสภาพความสมบูรณ์และข้อบกพร่องของดาย

5) สามารถสรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดายและจัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะคําศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการบำรุงรักษาดาย

2) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบสภาพของดาย

3) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาดายเบื้องต้น

4) มีความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น

2) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

3) เอกสารการประเมินผลการสอบข้อเขียน



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ เช่น ใบบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบฟอร์มบันทึกภาระงาน ใบแสดงรายละเอียดงาน ใบรับรองการผ่านงาน แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ ภาพถ่าย/วีดีทัศน์ผลงาน เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้และทักษะ โดยพิจารณาการบอกคําศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการบํารุงรักษาดาย ความสามารถในการตรวจสอบความสมบูรณ์ของของดายก่อนและหลังใช้งาน สามารถจดบันทึกข้อบกพร่องและการแก้ไขเบื้องต้นในเอกสารตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ นั้นๆ พิจารณาทักษะการบํารุงรักษาดายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ (ระดับน้ํามันหล่อลื่น การป้องกันสนิม การแตกหักของดาย เป็นต้น) การตรวจสอบรายละเอียดข้อกําหนดการบํารุงรักษา และพิจารณาทักษะการบันทึก ข้อมูลสภาพความสมบูรณ์และข้อบกพร่องของดายในเอกสารตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการนั้นๆ สรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดาย และจัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้น


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

1) วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงานได้

2) ประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อได้

3) วางแผนป้องกันอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

N/A



(ค) คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้และทักษะ โดยพิจารณาการบอกคำศัพทเทคนิคเกี่ยวกับการบํารุงรักษาดาย ความสามารถในการตรวจสอบความสมบูรณ์ของดาย ก่อนและหลังใช้งาน สามารถจดบันทึกข้อบกพร่องและการแก้ไขเบื้องต้น ในเอกสารตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ นั้นๆ พิจารณาทักษะการบํารุงรักษาดายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ (ระดับน้ํามันหล่อลื่น การป้องกันสนิม การแตกหักของดาย เป็นต้น) การตรวจสอบรายละเอียดข้อกําหนดการบํารุงรักษาและพิจารณาทักษะการบันทึก ข้อมูลสภาพความสมบูรณ์และข้อบกพร่องของดายในเอกสารตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการนั้น ๆ สรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดายและจัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้น



(ง) คำอธิบายรายละเอียด

1. บอกคำศัพท์เฉพาะคําศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการ บำรุงรักษาดาย

2. การตรวจสอบความสมบูรณ์ของของดายก่อนและหลังใช้งาน

3. การจดบันทึกข้อบกพร่องและการแก้ไขเบื้องต้น

4. การบำรุงรักษาดายให้อยู่ในสภาพ สมบูรณ์ (ระดับน้ำมันหล่อลื่น การป้องกันสนิม การแตกหักของดาย เป็นต้น)

5. การตรวจสอบรายละเอียดข้อกําหนดการบำรุงรักษา

6. การบันทึกข้อมูลสภาพความสมบูรณ์และข้อบกพร่องของดาย

7. การสรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา ที่เกิดขึ้นกับดายและจัดทำรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้น



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

“ความสมบูรณ์ของดาย” หมายถึง สภาวะที่ดายสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีความบกพร่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์

“ข้อบกพร่อง” หมายถึง สภาวะปัญหาที่เกิดขึ้นกับดายและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ไม่ได้ตามข้อกําหนดของลูกค้า

“ข้อกำหนดการบำรุงรักษา” หมายถึง มาตรฐานการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามคู่มือในการใช้งานเครื่องจักร (Machine Manual)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ