หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-GNSR-245A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถอธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์และตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05211 อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 1. บอกคําศัพท์ที่เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 05211.01 195254
05211 อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 2. ระบุลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของลูกค้าได้ 05211.02 195255
05212 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1. ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิต (สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น) 05212.01 195256
05212 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 2. แยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง 05212.02 195257

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถระบุลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของลูกค้าได้

2) สามารถตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิต (สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น)

3) สามารถแยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการอธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

2) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

3) มีความรู้เกี่ยวกับคําศัพท์ที่เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น

2) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

3) เอกสารการประเมินผลการสอบข้อเขียน



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ เช่น ใบบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบฟอร์มบันทึกภาระงาน ใบแสดงรายละเอียดงาน ใบรับรองการผ่านงาน แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ ภาพถ่าย/วีดีทัศน์ผลงาน เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินด้านความรู้และทักษะโดยการพิจารณาการอ่าน เขียนคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์  พิจารณาความสามารถในการระบุลักษณะทางกายภาพ ของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของลูกค้าและพิจารณาทักษะการตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามที่ระบุในใบสั่ง ผลิต เช่น สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น และความสามารถในการแยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องออกจากกระบวนการผลิต


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

1) อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ได้

2) ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

N/A



(ค) คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินด้านความรู้และทักษะโดยการพิจารณาการบอกคำศัพท์ที่เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ พิจารณาความสามารถในการระบุลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกําหนดของลูกค้าและพิจารณาทักษะการตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามที่ระบุในใบสั่งผลิต เช่น สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น และความสามารถในการแยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องออกจากกระบวนการผลิต



(ง) คำอธิบายรายละเอียด

1) สามารถบอกคำศัพท์เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

2) สามารถระบุลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของลูกค้าได้

3) สามารถตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิต (สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น)

4) สามารถแยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

“ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์” หมายถึง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยสายตา เช่น สี ขนาด รูปทรง เป็นต้น

“ใบสั่งผลิต” หมายถึง เอกสารแสดงรายละเอียดประกอบการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลิตภัณฑ์, วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต, หมายเลขเครื่องที่ผลิต, ชื่อผู้ผลิต, ชื่อลูกค้า, แม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งอ้างอิงตาม ของสถานประกอบการ

“ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง” หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดมาตรฐานของลูกค้า เช่น สีไม่ ตรงตามผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือไม่ตรงตามที่ระบุในเอกสารใบสั่งผลิต คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ