หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-XVUN-208A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป


1 8142 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน วางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03241 วางแผนการตรวจสอบคุณภาพ 1. บอกคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการวางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 03241.01 195145
03241 วางแผนการตรวจสอบคุณภาพ 2. กําหนดรายละเอียดในการวางแผนคุณภาพ 03241.02 195146
03241 วางแผนการตรวจสอบคุณภาพ 3. กําหนดวัตถุประสงค์ของคุณภาพ 03241.03 195147
03241 วางแผนการตรวจสอบคุณภาพ 4. ระบุกระบวนการและเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน 03241.04 195148
03242 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการตรวจสอบคุณภาพ 1. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพได้อย่างถูกต้อง 03242.01 195149
03242 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการตรวจสอบคุณภาพ 2. หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพได้ 03242.02 195150

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0321 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

0322 ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

0323 ประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน

2) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพ    

3) สามารถวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

4) สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดในการวางแผนคุณภาพและวัตุประสงค์ของคุณภาพ

2) ความรู้เกี่ยวกับการระบุกระบวนการและเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน

3) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพ

4) ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการวางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

1) อธิบายการกำหนดรายละเอียดในการวางแผนคุณภาพและวัตุประสงค์ของคุณภาพ

2) อธิบายการระบุกระบวนการและเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน

3) อธิบายการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพ

4) บอกคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการวางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

5) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น

6) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

7) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1) ควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน

2) วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพ

3) วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

4) แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

5) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ เช่น ใบบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบฟอร์มบันทึกภาระงาน ใบแสดงรายละเอียดงาน ใบรับรองการผ่านงาน แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ ภาพถ่าย/วีดีทัศน์ผลงาน เป็นต้น 

6) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

7) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

8) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น 



14.3 คำแนะนำในการประเมิน 

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการจัดทําข้อมูลด้านคุณภาพในรูปแบบสถิติ การจัดทําแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และมีทักษะในการควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ 

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยปฏิบัติงานด้านการจัดการการตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป ประกอบด้วยการควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน วางแผนการตรวจสอบคุณภาพ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

N/A 



(ค) คำแนะนำ  

หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1) ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2) วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3) ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) คำอธิบายรายละเอียด 

 “วัตถุประสงค์ของคุณภาพ” หมายถึง แนวทางหรือเป้าหมายที่สถานประกอบการต้องการด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ