หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-DGQO-205A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป


1 8142 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถอธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์และตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03211 อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 1. การอ่านและเขียนคําศัพท์ฉพาะ คําศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 03211.01 195123
03211 อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 2. อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกําหนดของลูกค้าได้ 03211.02 195124
03212 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1. ตรวจสอบสี ขนาด รูปทรง 03212.01 195125
03212 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 2. ตรวจสอบหาข้อบกพร่อง 03212.02 195126
03212 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3. แยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องได้ 03212.03 195127

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถอธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

2) สามารถตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์

2) ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของลูกค้า

3) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสี ขนาด รูปทรง ข้อบกพร่อง และแยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

1) อธิบายการอ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์

2) อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของลูกค้า

3) อธิบายการตรวจสอบสี ขนาด รูปทรง ข้อบกพร่อง และแยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง

4) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น 

5) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น 

6) เอกสารการประเมินผลการสอบข้อเขียน

7) รับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

8) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1) อธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

2) ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

3) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ เช่น ใบบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบฟอร์มบันทึกภาระงาน ใบแสดงรายละเอียดงาน ใบรับรองการผ่านงาน แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ ภาพถ่าย/วีดีทัศน์ผลงาน เป็นต้น 

4) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

5) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

6) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน 

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์และมีทักษะในการอธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิต แยกแยะผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง และการอ่านและเขียนคําศัพท์เฉพาะ คําศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ 

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป ประกอบด้วยการอธิบายลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ และตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์, อุปกรณ์ตรวจสอบสีผลิตภัณฑ์ และกล้องออปติคอล



(ค) คำแนะนำ  

หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1) ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2) วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3) ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) คำอธิบายรายละเอียด 

 “ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์” หมายถึง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้คุณภาพตามข้อกําหนดและมาตรฐานของลูกค้าเช่น ผลิตภัณฑ์ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่มีรอย ขุ่นขาว ไม่มีฟองอากาศ ลักษณะได้รูปทรง ไม่พบลักษณะบิกเบี้ยวผิดรูป เป็นต้น

“ข้อกําหนดของลูกค้าได้” หมายถึง ข้อตกลงระหว่างสถานประกอบการและผู้สั่งซื้อเรื่องของคุณภาพ ผลิตภัณฑ์เช่น ต้องมีความหนา ลักษณะรูปร่าง หรือมีรอยขุ่นขาว หรือไม่ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ของสถาน ประกอบการ ผู้ประเมินสามารถตรวจประเมินผู้เข้ารับการประเมินจากการสอบถามหน้างานและเปรียบเทียบความถูกต้องกับคู่มือการปฏิบัติงาน

“ข้อบกพร่อง” หมายถึง ความไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ตามข้อกําหนดหรือมาตรฐานของ

ลูกค้าเช่น ความหนาของชิ้นงานไม่ได้ตามข้อกําหนด ชิ้นงานมีลักษณะไม่ได้รูปทรง มีฟองอากาศ มีรอยขุ่นขาว เป็นต้น



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ