หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดลองและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืด

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-YXUN-203A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดลองและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป


1 8142 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตและตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03151 ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 1. อ่านและเขียนคําศัพท์เฉพาะ คําศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับเครื่องจักรแม่พิมพ์ผลิตภัณฑ์ได้ 03151.01 195111
03151 ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 2. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองตามใบสั่งผลิตได้ 03151.02 195112
03151 ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 3. ปฏิบัติงานกับเครื่องเป่าขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างได้ 03151.03 195113
03152 ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น 1. ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของชิ้นงาน 03152.01 195114
03152 ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น 2. ตรวจสอบสีชิ้นงานขนาดรูปทรง 03152.02 195115
03153 ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 1. อธิบายหลักการทํางานของเครื่องขึ้นรูปได้ 03153.01 195116
03153 ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 2. ปฏิบัติงานกับเครื่องขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างตามเอกสารคู่มือได้ 03153.02 195117

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 

0311 จัดเตรียมวัตถุดิบ

0312 จัดเตรียมเครื่องจักร แม่พิมพ์และอุปกรณ์สนับสนุน

0313 ปฏิบัติงานกับเครื่องขึ้นรูป

0314 ติดตั้งแม่พิมพ์และปรับพารามิเตอร์เครื่องขึ้นรูป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

2) สามารถตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์หรือการเขียนคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเครื่องจักรแม่พิมพ์ผลิตภัณฑ์

2) ความรู้เกี่ยวกับใบสั่งผลิตและหลักการทำงานของเครื่องขึ้นรูป

3) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับเครื่องเป่าขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างตามคู่มือการปฏิบัติงาน

4) ความรู้เกี่ยวกับข้อบกพร่อง สี ขนาด รูปทรง ของชิ้นงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

1) สามารถอธิบายคำศัพท์หรือการเขียนคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเครื่องจักรแม่พิมพ์ผลิตภัณฑ์

2) สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองตามใบสั่งผลิตและหลักการทำงานของเครื่องขึ้นรูป

3) สามารถอธิบายการปฏิบัติงานกับเครื่องเป่าขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างตามคู่มือการปฏิบัติงาน

4) สามารถอธิบานการตรวจสอบข้อบกพร่อง สี ขนาด รูปทรง ของชิ้นงาน

5) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น

6) รับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

7) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1) ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ตามใบสั่งผลิต

2) ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น

3) ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

4) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ เช่น ใบบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบฟอร์มบันทึกภาระงาน ใบแสดงรายละเอียดงาน ใบรับรองการผ่านงาน แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ ภาพถ่าย/วีดีทัศน์ผลงาน เป็นต้น 

5) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

6) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

7) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน 

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับหลักการทํางานของเครื่องเป่ายืดและมีทักษะในการทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิตและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ 

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยปฏิบัติงานทดลองและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป ประกอบด้วยการทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต การตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นและการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่ง



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

อุปกรณ์ถอดประกอบ, Thermometer, ประแจ Torque (ตรวจสอบแรงบิดตามข้อกำหนด), ระดับน้ำ  เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ และกล้องออปติคอล



(ค) คำแนะนำ  

หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2. วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) คำอธิบายรายละเอียด 

 “ใบสั่งผลิต” หมายถึง เอกสารแสดงรายละเอียดประกอบการผลิตซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลิตภัณฑ์, วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต, หมายเลขเครื่องที่ผลิต, ชื่อผู้ผลิต, ชื่อลูกค้า, แม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิตเป็นต้น ซึ่งอ่างอิงตามของสถานประกอบการ

“เอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน” หมายถึง เอกสารแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือคู่มือในการใช้เครื่องจักร ที่สถานประกอบการได้จัดทําไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

“ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น” หมายถึง การตรวจสอบชิ้นงานด้วยสายตาเช่น การตรวจสอบการขุ่นขาวบริเวณก้นขวด, จุดฟองอากาศ, จุดด่างสีขาว เป็นต้น

“แผนการผลิต” หมายถึง เอกสารที่ระบุแผนการดําเนินงานในกระบวนการผลิตที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิต, จํานวนที่ต้องผลิต, ลูกค้า, สถานที่ส่งของ, ระยะเวลาในการดําเนินการผลิต กําหนดส่งสินค้า, หมายเลขเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต, ชื่อผู้ดําเนินการผลิต เป็นต้น

“ควบคุมการดําเนินการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามแผนได้อย่างเหมาะสม” หมายถึง สภาวะที่ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมการดําเนินงานให้เป็นไปตามแผนโดยผู้ประเมินสามารถพิจารณาจาก KPI หรือตัวชี้วัดทางสถิติในการปฏิบัติงานของแผนกที่ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติงานอยู่หรือพิจารณาจากยอดการผลิตที่สอดคล้องกับยอดการสั่งผลิต เป็นต้น

“รายงานปัญหา” หมายถึง เอกสารที่แสดงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้ สาเหตุการเกิดปัญหา วันที่เกิดปัญหา เครื่องที่เกิดปัญหา ผลิตภัณฑ์ที่เกิดปัญหา ผู้พบเห็นปัญหา ผู้แก้ปัญหาเบื้องต้นและเสนอแผนแก้ไขระยะยาว จํานวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบสถานที่เกิดปัญหา

“ข้อบกพร่อง” หมายถึง ความไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ตามข้อกําหนดหรือมาตรฐานของลูกค้า เช่น ความหนาของชิ้นงานไม่ได้ตามข้อกําหนด ชิ้นงานมีลักษณะไม่ได้รูปทรง มีฟองอากาศ มีรอยขุ่นขาว เป็นต้น



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ