หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-JXPW-187A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการอัดขึ้นรูป


1 8142 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน และบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02231 ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ 1. บอกคำศัพท์เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ 02231.01 195015
02231 ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ 2. อธิบายวิธีใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพได้ 02231.02 195016
02231 ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ 3. ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตามคู่มือในการปฏิบัติงานได้ 02231.03 195017
02232 ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกําหนดของลูกค้า 1. อธิบายวิธีการตรวจสอบคุณภาพได้ 02232.01 195018
02232 ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกําหนดของลูกค้า 2. อธิบายข้อกำหนดทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ของลูกค้า 02232.02 195019
02232 ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกําหนดของลูกค้า 3. ตรวจสอบความบกพร่องของชิ้นงาน 02232.03 195020
02233 บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพชิ้นงาน 1. จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน 02233.01 195021
02233 บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพชิ้นงาน 2. บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานในเอกสารรายงานด้านคุณภาพ 02233.02 195022

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0221 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

0222 ตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามมาตรฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2) สามารถตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า

3) สามารถบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน

4) สามารถอ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะคำศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

5) สามารถจัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน

2) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตามคู่มือในการปฏิบัติงาน

4) ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

5) ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ของลูกค้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายวิธีการตรวจสอบคุณภาพ

2) ระบุเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตามคู่มือในการปฏิบัติงาน

3) บอกคำศัพท์เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

4) ระบุข้อกำหนดทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ของลูกค้า

5) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

6) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

7) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2) ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า

3) บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน

4) จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน

5) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

6) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

7) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับการอ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะคำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ วิธีใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ วิธีการตรวจสอบคุณภาพและมีทักษะใน การใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

ใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพให้ถูกต้องตามวิธีการตรวจสอบคุณภาพและมีทักษะในดำเนินการจัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

1) เครื่องมือวัดขนาดด้านมิติ เช่น เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ 

2) เอกสารบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน



(ค) คำแนะนำ

หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1) ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2) วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3) ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) คำอธิบายรายละเอียด

“คู่มือในการปฏิบัติงาน” หมายถึง คู่มือแสดงล าดับขั้นตอนในการปฏิบัติงานการตรวจสอบชิ้นงานให้ตรงตามชิ้นงานต้นแบบ

“ความบกพร่องของชิ้นงาน” หมายถึง ชิ้นงานที่มีลักษณะไม่ตรงตามมาตรฐาน เช่น ไม่เต็มแบบลายที่พิมพ์ไม่ตรงแบบ เป็นต้น



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ