หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูป

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-RRIH-172A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูป

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างบํารุงรักษาในกระบวนการฉีดขึ้นรูป


1 8142 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูป บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปและบันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01331 ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด 1. บอกคําศัพท์ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด 01331.01 194925
01331 ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด 2. อธิบายวิธีการตรวจสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูป 01331.02 194926
01331 ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด 3. ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปก่อนและหลังใช้งาน 01331.03 194927
01332 บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด
1. อธิบายแผนการบํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปได้ 01332.01 194928
01332 บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด
2. บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปให้พร้อมใช้งาน 01332.02 194929
01332 บํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด
3. บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น 01332.03 194930
01333 บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น
1. อธิบายขั้นตอนการบันทึกข้อมูล การบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดได้ 01333.01 194931
01333 บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น

2. บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาตามระยะเวลา

01333.02 194932
01333 บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น

3. จัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดได้

01333.03 194933

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0131 บํารุงรักษาเครื่องฉีดขึ้นรูป

0132 บํารุงรักษาแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดก่อนและหลังการใช้งาน

2) สามารถบํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปตามแผนการบํารุงรักษา

3) สามารถบันทึกข้อมูล การบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิด ขึ้นกับอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูป

4) สามารถจัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้นในการบํารุงรักษาแม่พิมพจัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้นใน การบํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับคําศัพท์ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด

2) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด 

3) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุคําศัพท์ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด

2) อธิบายวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด

3) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด

4) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

5) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

6) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.2  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แสดงวิธีการตรวจสอบสภาพ และบันทึกผลการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดก่อนและหลังการใช้งาน

2) แสดงวิธีการบํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปตามแผนการบํารุงรักษา

3) แสดงการบันทึกข้อมูลการบํารุงรักษาและปัญหาที่เกิด ขึ้นกับอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูป และจัดทํารายงานการบำรุงรักษา

4) เอกสารรับรองการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ เช่น วุฒิบัตร ใบรับรองคุณวุฒิ เป็นต้น

5) เอกสารผลการประเมินการสอบข้อเขียน และผลการบันทึกการสอบสัมภาษณ์

6) เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบประกาศนียบัตร ใบรับรองการฝึกอบรม เป็นต้น



14.3  คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินช่างบํารุงรักษางานฉีดพลาสติกโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐาน ด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการฉีดขึ้นรูป โดยปฏิบัติงานตรวจสภาพ

ของอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีดขึ้นรูปก่อนและหลังใช้งาน บํารุงรักษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด บันทึกข้อมูลการบํารุงรักษา ปัญหาที่เกิดขึ้น และข้อมูลการบํารุงรักษาตามระยะเวลา จัดทํารายงานปัญหาที่เกิดขึ้นใน การบํารุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด 



(ข) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

- อุปกรณ์ถอดประกอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องฉีด

- เครื่องมือวัด



(ค) คำแนะนำ 

หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1) ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2) วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3) ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) คำอธิบายรายละเอียด

“อุปกรณ์สนับสนุน” หมายถึง เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Hot runner อุปกรณ์จับยึด เป็นต้น



(จ) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานรับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงานทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้และความสามารถด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ