หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการกล้าในแปลงเพาะกล้า (Seedling management in nursery bed)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ZYZJ-1030A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการกล้าในแปลงเพาะกล้า (Seedling management in nursery bed)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการน้ำและระบบน้ำสำหรับกล้าข้าวแผ่นในแปลงเพาะกล้าซึ่งจะต้องทำการประเมินปริมาณน้ำและสำรองให้เพียงพอตลอดการเพาะกล้าข้าวแผ่น การจัดการสัตว์ศัตรู การจัดการโรคและแมลงศัตรูอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสียหายต่อเมล็ดพันธุ์ที่ทำการสำรองไว้สำหรับผลิตกล้าข้าวแผ่นและป้องกันการสูญเสียของกล้าข้าวแผ่นที่ทำการเพาะลงบนแปลง การจัดการข้อมูลการผลิตกล้าแผ่นเพื่อความชัดเจนในการระบุสายพันธุ์ข้าวที่อยู่ในแปลงเพาะกล้ารวมไปถึงการบันทึกข้อมูลตลอดการเพาะกล้าข้าวแผ่น การจัดการขนย้ายกล้าข้าวแผ่นให้ตรงกำหนดการมารับของผู้ซื้อ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตกล้าข้าวแผ่น (Rice seedling mat producer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)2.พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A1031

จัดการน้ำและระบบน้ำสำหรับกล้าข้าวแผ่น

1. วางระบบน้ำสำหรับใช้ในการเพาะกล้า

A1031.01 197991
A1031

จัดการน้ำและระบบน้ำสำหรับกล้าข้าวแผ่น

2. ให้น้ำกล้าข้าวแผ่น

A1031.02 197992
A1032

จัดการสัตว์ศัตรู

1. สำรวจการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรู

A1032.01 197993
A1032

จัดการสัตว์ศัตรู

2. ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรู

A1032.02 197994
A1033

จัดการโรคและแมลงศัตรู

1. สำรวจการระบาดของโรคและแมลงศัตรู

A1033.01 197995
A1033

จัดการโรคและแมลงศัตรู

2. ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู

A1033.02 197996
A1034

จัดการข้อมูลการผลิตกล้าข้าวแผ่น

1. ตรวจสอบข้อมูลกล้าข้าวแผ่นของแต่ละรอบการผลิต

A1034.01 197997
A1034

จัดการข้อมูลการผลิตกล้าข้าวแผ่น

2. กำหนดผังการวางกล้าข้าวแผ่น

A1034.02 197998
A1035

จัดการขนย้ายกล้าข้าวแผ่น

1. ตรวจสอบความถูกต้องของกล้าข้าวแผ่นก่อนทำการขนย้าย

A1035.01 197999
A1035

จัดการขนย้ายกล้าข้าวแผ่น

2. ม้วนกล้าข้าวแผ่นและขนย้าย

A1035.02 198000

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบน้ำสำหรับกล้าข้าวแผ่น การจัดการสัตว์ศัตรู โรคและแมลงศัตรู จัดทำข้อมูลการผลิตกล้าแผ่น และการขนย้ายกล้าข้าวแผ่น

  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน

  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ

  • มีทักษะในการบริหารจัดการน้ำเพื่อสำรองสำหรับเพาะกล้า

  • มีทักษะในการให้น้ำกล้าข้าวแผ่น

  • มีทักษะในการสำรวจการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูต่างๆ

  • มีทักษะในการจัดการสัตว์ศัตรู

  • มีทักษะในการสำรวจการระบาดของแมลงศัตรู

  • มีทักษะในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู

  • มีทักษะในการบันทึกข้อมูลกล้าข้าวแผ่น

  • มีทักษะในการวางแผนรอบการผลิตกล้าข้าวแผ่น

  • มีทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องของรอบการผลิต

  • มีทักษะในการม้วนกล้าข้าวแผ่นและขนย้าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้

  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมและจัดการพื้นที่ในแปลงเพาะกล้า

  • มีความรู้ความเข้าใจการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและสมบูรณ์

  • มีความรู้ความเข้าใจการควบคุมการให้น้ำในแปลงเพาะกล้า

  • มีความรู้ความเข้าใจการจัดการดูแลแปลงเพาะกล้า

  • มีความรู้ความเข้าใจการให้ปน้ำในแปลงเพาะกล้า

  • มีความรู้ความเข้าใจการตรวจสอบและควบคุมศัตรูพืชที่อาจเข้าทำลายกล้าข้าว

  • มีความรู้ความเข้าใจการบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ผลการบริหารจัดการกล้าในแปลงเพาะกล้า

  • มีความรู้ความเข้าใจการดูแลและรักษาความสะอาดในแปลงเพาะกล้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ



ผลจากการสอบสัมภาษณ์



ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



N/A                               



(ง) วิธีการประเมิน          



สอบข้อเขียน



สอบสัมภาษณ์



แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



    กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการคิด รวมถึงการวัดผลความสำเร็จจะคำนึงอยู่บนขอบเขตของแปลงเพาะปลูกข้าวจำนวน 1 ไร่ ซึ่งจะต้องดำเนินการผลิตกล้าข้าวแผ่นที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการนำไปปักดำบนพื้นที่ 1 ไร่



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     1) จัดการน้ำและระบบน้ำสำหรับกล้าข้าวแผ่นจะทำการให้น้ำ 3 ครั้งต่อวันในช่วง เช้า กลางวัน และเย็น



          2) จัดการสัตว์ศัตรู หลังจากย้ายกล้าข้าวออกสู่แปลงเพาะกล้า จะต้องทำการคลุมด้วยสแลนเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูเช่น นก หนู เป็นต้นจากการที่กล้าข้าวยังงอกเป็นต้นกล้าไม่สมบูรณ์ ระยะเวลาในการคลุมจะอยู่ที่ประมาณ 5 วัน



3) จัดการโรคและแมลงศัตรู ทำการพ่นสารป้องกันโรคและแมลงศัตรู ทุก 7 วัน โดยจะต้องคอยสังเกต การระบาดของโรคและแมลงศัตรูอยู่เสมอ



     4) จัดการข้อมูลการผลิตกล้าข้าวแผ่น ระบุข้อมูลของกล้าข้าวแผ่นของแต่ละรอบการผลิตให้ชัดเจน



     5) จัดการขนย้ายกล้าข้าวแผ่น โดยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของชนิดพันธุ์ก่อนทำการขนย้าย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน



2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์



3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)



         4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ