หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คาดการณ์ปริมาณการใช้พันธุ์ข้าว (Predicts of rice seed quantity requirement)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GTDL-1027A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คาดการณ์ปริมาณการใช้พันธุ์ข้าว (Predicts of rice seed quantity requirement)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของการประเมินความต้องการชนิดพันธุ์ข้าวตามฤดูกาลปลูกตามการระบาดของศัตรูพืช ตามราคารับซื้อของโรงสีหรือผู้รวบรวม ตามปริมาณและคุณภาพผลผลิต ตามสถานการณ์น้ำ และตามพันธุ์ข้าวที่มีการรับรองออกมาใหม่ เพื่อการวางแผนการจัดหาพันธุ์ข้าวไว้สำหรับจำหน่ายให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A981

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากการระบาดของ ศัตรูพืชในฤดูกาล 

1. ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคข้าว 

A981.01 197639
A981

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากการระบาดของ ศัตรูพืชในฤดูกาล 

2. ติดตามสถานการณ์การระบาดของแมลงศัตรูข้าว 

A981.02 197640
A982

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากราคารับซื้อของโรงสี 

1. ติดตามสถานการณ์ราคาข้าว 

A982.01 197641
A982

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากราคารับซื้อของโรงสี 

2. ติดตามสถานการณ์ราคารับซื้อข้าวของโรงสี 

A982.02 197642
A983

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากศักยภาพพันธุ์ 

1. เลือกพันธุ์ที่มีผลผลิตสูง 

A983.01 197643
A983

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากศักยภาพพันธุ์ 

2. เลือกพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรู 

A983.02 197644
A983

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากศักยภาพพันธุ์ 

3. เลือกพันธุ์ข้าวที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม 

A983.03 197645
A983

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากศักยภาพพันธุ์ 

4. เลือกพันธุ์ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี การหุงต้มและรับประทานตรงตามความต้องการของตลาด 

A983.04 197646
A983

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากศักยภาพพันธุ์ 

5. ติดตามสถานการณ์พันธุ์ข้าวที่มีการรับรอง ใหม่ จากหน่วยงานราชการหรือ เอกชน 

A983.05 197647
A984

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากสถานการณ์น้ำ 

1. ติดตามการปล่อยน้ำของชลประทาน 

A984.01 197648
A984

ประเมินการเลือกพันธุ์ข้าวจากสถานการณ์น้ำ 

2. ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและภัยแล้ง 

A984.02 197649

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฤดูกาลเพาะปลูก การระบาดของศัตรูพืช ตลาดและราคารับซื้อของโรงสี ศักยภาพพันธุ์ สถานการณ์น้ำ

  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มีทักษะในการสำรวจสถานการณ์การระบาดของโรค แมลง สถานการณ์ราคาของข้าวแต่ละสายพันธุ์ สถานการณ์ราคารับซื้อของโรงสี สถานการณ์พันธุ์ข้าวที่มีการรับรองออกมาใหม่ การปล่อยน้ำของชลประทาน สถานการณ์อุทกภัยและภัยแล้ง

  • มีทักษะในการเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง

  • มีทักษะในการเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้

  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลปริมาณการใช้พันธุ์ข้าวในปีที่ผ่านมา

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่เป็นเขตการผลิตข้าว

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดข้าว

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวโน้มการใช้พันธุ์ข้าว

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางสภาพอากาศที่ส่งผลต่อการปลูกข้าว

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายที่กำหนดโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการใช้พันธุ์ข้าว

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อตรวจสอบแนวโน้มและคาดการณ์ปริมาณการใช้พันธุ์ข้าว โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์การใช้พันธุ์ข้าว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ



ผลจากการสอบสัมภาษณ์



ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



N/A                               



(ง) วิธีการประเมิน          



สอบข้อเขียน



สอบสัมภาษณ์



แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          วัดผลความสำเร็จคำนึงอยู่บนขอบเขตของกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การคงรักษาสภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ทำการรวบรวมมาจากเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ และคงรักษามาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1) ประเมินชนิดพันธุ์ข้าวตามฤดูกาลเพาะปลูก วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ที่เกษตรกรต้องการในแต่ละฤดูกาล



      2) ประเมินชนิดพันธุ์ข้าวตามการระบาดของศัตรูพืช วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ที่ต้านทานต่อการระบาดของชนิดศัตรูพืช



            3) ประเมินชนิดพันธุ์ข้าวตามราคารับซื้อของโรงสี วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ตามราคาของผลผลิต พันธุ์ใดมีการกำหนดราคาซื้อขายในตลาดที่ค่อนข้างสูง แนวโน้มที่เกษตรกรจะหันเหไปปลูกพันธุ์ดังกล่าวก็สูงเช่นกัน ในฐานะผู้รวบรวมหากคาดการณ์ได้ถูก เมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมไว้ก็จะไม่คงค้างอยู่ในโกดังนานเกินไป



            4) ประเมินชนิดพันธุ์ข้าวตามปริมาณและคุณภาพผลผลิต วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ตามคุณภาพผลผลิต คุณภาพเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกษตรกรหยิบนำมาพิจารณาถึงสายพันธุ์ที่จะทำการเพาะปลูก ผู้รวบรวมจึงต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย



    5) ประเมินชนิดพันธุ์ข้าวตามสถานการณ์น้ำ วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ตามสถานการณ์น้ำ การคาดการณ์ปริมาณของน้ำในแต่ละปีก็นำมาซึ่งการพิจารณาในการเลือกใช้สายพันธุ์ข้าวของเกษตรกรเช่นกัน



    6) ประเมินชนิดพันธุ์ตามพันธุ์ข้าวที่มีการรับรองออกมาใหม่ วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ตามพันธุ์ที่รับรองใหม่ เมื่อมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ประกาศออกมาทางผู้รวบรวม จำเป็นที่จะต้องเข้าไปศึกษาเพื่อคาดการณ์ถึงปริมาณที่เกษตรกรต้องการนำสายพันธุ์ดังกล่าวไปทำการเพาะปลูก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน



2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์



3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)



      4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ