หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ (Rice seed drying)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-LLKQ-1022A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ (Rice seed drying)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของการลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด การลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบการทำความสะอาดลานตากและเครื่องอบ และการบำรุงรักษาลานตากและเครื่องอบ เพื่อให้เมล็ดพันธุ์มีความชื้นที่เหมาะสมพร้อมสำหรับการจำหน่ายหรือการเก็บรักษาต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
       1. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)       2.พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

1. กำหนดพื้นที่ในการตากเมล็ดของข้าวแต่ละพันธุ์ 

A931.01 197591
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

2. กำกับรถบรรทุกเมล็ดพันธุ์เข้าลานตาก

A931.02 197592
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

3. กองเมล็ดพันธุ์บนพื้นที่ที่กำหนด

A931.03 197593
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

4. เกลี่ยเมล็ดพันธุ์ข้าว 

A931.04 197594
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

5. พลิกกลับกองเมล็ดพันธุ์ข้าว

A931.05 197595
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

6. สุ่มวัดความชื้นเมล็ดพันธุ์ที่ตาก

A931.06 197596
A931

ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด 

7. จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ 

A931.07 197597
A932

ลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบ 

1. เลือกเครื่องอบให้มีขนาดเหมาะสมต่อปริมาณเมล็ดพันธุ์ 

A932.01 197598
A932

ลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบ 

2. ตรวจเช็คความพร้อมของเครื่องอบก่อนเริ่มลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 

A932.02 197599
A932

ลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบ 

3. เตรียมบรรจุภัณฑ์บรรจุเมล็ดพันธุ์ 

A932.03 197600
A932

ลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบ 

4. บรรจุเมล็ดพันธุ์ลงในบรรจุภัณฑ์ 

A932.04 197601
A932

ลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบ 

5. จัดเก็บเมล็ดพันธุ์และติดป้ายข้อมูลกำกับ 

A932.05 197602
A933

ทำความสะอาดและบำรุงรักษาลานตากและเครื่องอบ 

1. ทำความสะอาดลานตากและเครื่องอบก่อนและหลังใช้งาน 

A933.01 197603
A933

ทำความสะอาดและบำรุงรักษาลานตากและเครื่องอบ 

2. ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงลานตากและเครื่องอบ

A933.02 197604

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการลดความชื้นในเมล็ดโดยการใช้แสงแดดและเครื่องอบเมล็ดพันธุ์ การทำความสะอาดลานตากและเครื่องอบ การบำรุงรักษาลานตากและเครื่องอบ

  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน

  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ

  • มีทักษะในการจัดระเบียบรถบรรทุกเมล็ดพันธุ์เข้าลานตาก

  • มีทักษะในการเกลี่ยกองเมล็ดพันธุ์ให้มีความหนาที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ

  • มีทักษะในการควบคุมรถคราดเกลี่ยกองเมล็ดพันธุ์ข้าว

  • มีทักษะในการกำหนดช่วงเวลากลับกองเมล็ดพันธุ์ข้าว

  • มีทักษะในการกำหนดวันเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์ข้าว

  • มีทักษะในการควบคุมรถตักเมล็ดพันธ์ข้าวใส่รถบรรทุก

  • มีทักษะในการนำเมล็ดข้าวเข้าโรงเก็บเมล็ดพันธุ์

  • มีทักษะในการบรรจุใส่ถุงบิกซ์แบ็ค หรือไซโล และการติดป้ายข้อมูลกำกับ

  • มีทักษะในการใช้เครื่องอบในการอบเมล็ดพันธุ์ให้ได้ความชื้นในระดับที่ต้องการ

  • มีทักษะในการทำความสะอาดลานตากและเครื่องอบ

  • มีทักษะในการบันทึกการใช้งานลานตากและเครื่องอบ

  • มีทักษะในการตรวจสอบความเสียหายของลานตากเครื่องอบ

  • มีทักษะในการดูแลรักษาลานตากและเครื่องอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้

  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความชื้นในเมล็ดพันธุ์

  • มีความรู้ความเข้าใจในการวัดความชื้นเมล็ดพันธุ์

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในสถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความชื้นในกระบวนการทำการค้าและการขนส่ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ



       ผลจากการสอบสัมภาษณ์



       ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



       ผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



       N/A                               



(ง) วิธีการประเมิน          



        สอบข้อเขียน



        สอบสัมภาษณ์



        แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



    วัดผลความสำเร็จคำนึงอยู่บนขอบเขตของกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การคงรักษาสภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ทำการรวบรวมมาจากเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ และคงรักษามาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์      



       (ข) คำอธิบายรายละเอียด



         1) ลดความชื้นโดยการใช้แสงแดด(Natural Drying) ซึ่งเป็นวิธีการลดความชื้นตามธรรมชาติด้วยความร้อนจากแสงแดดโดยการเตรียมพื้นที่ลานตากให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการรองรับเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการลดความชื้นที่ทำการรวบรวมมาจากผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ นำรถบรรทุกเข้าลานตากเพื่อเทเมล็ดพันธุ์ลงบนลานตากแล้วจึงนำรถคราดเกลี่ยกองเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มีความหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร และมีการกลับกองข้าวทุก 2 ชั่วโมง หรือวันละ 4 ครั้ง และคลุมกองข้าวด้วยวัสดุที่ช่วยป้องกันน้ำค้างในเวลากลางคืน ลดความชื้นเมล็ดข้าวให้อยู่ที่ 12-14% ตามมาตรฐานการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ จึงใช้รถตักบรรจุใส่ถุงบิ๊กแบ็ค หรือไซโล



         2) ลดความชื้นโดยการใช้เครื่องอบ (Artificial Drying) ซึ่งเป็นวิธีการลดความชื้นด้วยการใช้ความร้อนจากตู้อบทำการเลือกเครื่องลดความชื้นให้เหมาะสมตามปริมาณเมล็ดพันธุ์ทำการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 12-14% ตามมาตรฐานการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ จึงใช้รถตักบรรจุใส่ถุงบิ๊กแบ็ค หรือไซโล



        3) ทำความสะอาดลานตากและเครื่องอบเพื่อป้องกันการของเมล็ดพันธุ์อื่นในการลดความชื้น



      4) บำรุงรักษาลานตากและตู้อบ กรณีลานตากเกิดรอยแตกทำการปิดรอยแตกด้วยปูนหรือยางมะตอย กรณีเครื่องอบมีปัญหาเกิดเหตุขัดข้องให้ทำการติดต่อหาช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาซ่อมบำรุง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน



       2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์



       3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)



      4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ