หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EBLN-568A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

        อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter) ซึ่งสามารถตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ และควบคุมการทดสอบการทำงาน ซ่อมแซมโซลาร์อินเวอร์เตอร์ พร้อมทั้งรายงานและสรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
        กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า      -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานที่สูง     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานที่สูง 10.3    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิง     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564     -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิงและรอก พ.ศ. 255310.4    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.5    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 256310.6    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน  จากวัสดุกระเด็นตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.7    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน10.8    กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยบนเรือ พ.ศ. 2561 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-SM01-5-003-01

ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานและรายละเอียดต่าง ๆ ของโซลาร์อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-SM01-5-003-01.01 196231
PGS-SM01-5-003-01

ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

2. อ่านแบบไฟฟ้าและคู่มือประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-SM01-5-003-01.02 196232
PGS-SM01-5-003-01

ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

3. ควบคุมการตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-01.03 196233
PGS-SM01-5-003-01

ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

4. ควบคุมการทดสอบการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-01.04 196234
PGS-SM01-5-003-01

ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

5. วิเคราะห์ผลทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-01.05 196235
PGS-SM01-5-003-02

แก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

1. วิเคราะห์ความผิดปกติจากผลทดสอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-02.01 196236
PGS-SM01-5-003-02

แก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

2. ควบคุมการถอดประกอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-02.02 196237
PGS-SM01-5-003-02

แก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

3. ควบคุมการแก้ไขโซลาร์อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-02.03 196238
PGS-SM01-5-003-02

แก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

4. ควบคุมการทดสอบการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-02.04 196239
PGS-SM01-5-003-03

สรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

1. สรุปรายงานผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-03.01 196240
PGS-SM01-5-003-03

สรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

2. สรุปรายงานผลการทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์หลังการติดตั้งใหม่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-03.02 196241
PGS-SM01-5-003-03

สรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

3. นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-SM01-5-003-03.03 196242

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1    ทฤษฎีเกี่ยวกับโซลาร์อินเวอร์เตอร์

12.2    ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์

12.3    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานทั่วไป อุปกรณ์จำพวกเครื่องมือวัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ เช่น การจําแนกประเภทและคุณลักษณะ การวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เป็นต้น

12.4    ความรู้เรื่องวัสดุ (Material)

12.5    ทฤษฎีสัญญาณมาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Instrument Signal)

12.6    ความรู้เกี่ยวกับแบบ P&ID (Piping and Instrumentation Diagram)

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

2.    ทักษะการตรวจตรวจสภาพอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

3.    ทักษะการทดสอบและการวัดค่าทางไฟฟ้าของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

4.    ทักษะการวิเคราะห์ความผิดปกติผลการทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

5.    ทักษะการแก้ไข ปรับแต่งค่าของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ เมื่อเกิดความผิดปกติ

6.    ทักษะการใช้เครื่องมือในการถอดประกอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

7.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

8.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

9.    ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

10.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

11.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบงานบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

2.    ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

3.    หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 

4.    หลักการทดสอบการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ ก่อนและระหว่างนำเข้าใช้งาน

5.    ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

6.    วิธีการใช้เครื่องมือ (เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ) ในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

7.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

8.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

9.    ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบ P&ID (Piping and Instrumentation Diagram) และแบบไดอะแกรมแผนผัง (Schematic Diagram)

10.  การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการสามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน) 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้) 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ



(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในเรื่องโครงสร้างและหลักการทำงาน รวมทั้งขั้นตอนในการบำรุงรักษา ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และการสรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์



(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

1.    ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์


-    อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานและรายละเอียดต่าง ๆ ของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างและหลักการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ประกอบ

-    อ่านแบบไฟฟ้าและคู่มือประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้อย่างถูกต้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล คู่มือประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

-    ควบคุมการตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการตรวจสภาพอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ประกอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ เลือกใช้วิธีและเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

-    ควบคุมการทดสอบการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการทดสอบการทำงานโซลาร์อินเวอร์เตอร์ การวัดค่าทางไฟฟ้า (Electrical Measurement) การอ่านค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ

-    วิเคราะห์ผลทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลผลทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับแก้ไขได้อย่างถูกต้องอย่างเหมาะสม

2.    แก้ไขปัญหาตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

-    วิเคราะห์ความผิดปกติจากผลทดสอบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านผลการทดสอบ แยกผลการทดสอบที่ปกติและผิดปกติได้ รวมทั้งวิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ที่เกิดขึ้นได้

-    ควบคุมการถอดประกอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและมาตรฐานในการวางแผนขั้นตอนสำหรับการถอดประกอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น มาตรฐานความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน ข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน หลักการออกแบบอุปกรณ์ที่จะทำการถอดประกอบ การตรวจสอบอุปกรณ์และค่าเดิมก่อนที่จะทำการรื้อ การป้องกันโครงสร้างส่วนที่ไม่ได้ถูกถอด แต่โครงสร้างนั้นอยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับส่วนที่จะถูกถอด ป้ายเตือนภัย การใช้เครื่องมือพื้นฐาน หรือเครื่องมือพิเศษในการดำเนินการ อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงาน การควบคุมและป้องกันอัคคีภัย การกองเก็บวัสดุอุปกรณ์ การจัดวางเครื่องจักรเครื่องมือและการขนส่ง

-    ควบคุมการแก้ไขโซลาร์อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถดำเนินการแก้ไข โซลาร์อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ประกอบ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติกับสภาวะที่เกิดการบกพร่องได้ 

-    ควบคุมการทดสอบการทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานในการทดสอบ การทำงานของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย การควบคุมเชิงบริหารจัดการ อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างปลอดภัยมีความสามารถในการตรวจสอบให้มั่นใจว่างานได้มีการจัดระบบเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการทดสอบอุปกรณ์ประกอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สามารถทดสอบการทำงานทั้งระบบของโซลาร์อินเวอร์เตอร์ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญา รวมถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรม 

3.    สรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

-    สรุปรายงานผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

-    สรุปรายงานผลการทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์หลังการติดตั้งใหม่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปผลการทดสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ หลังการติดตั้งใหม่ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

-    นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและให้ข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถนำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและให้ข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ และสามารถตอบรายละเอียดข้อซักถามโดยให้เหตุผลสนับสนุนได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

18.2 เครื่องมือประเมิน แก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

18.3 เครื่องมือประเมิน สรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์ 

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาโซลาร์อินเวอร์เตอร์

 



ยินดีต้อนรับ