หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-BXSP-582A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

        อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery) โดยสามารถตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่  พร้อมรายงานและสรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้อย่างถูกต้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
        กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า      -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านสารเคมี     -     กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.3    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานตามหลักการยศาตร์     -     มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงตามหลักการยศาสตร์ (มปอ.302 : 2561)  10.4    กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ     -     ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC11-5-002-01

ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC11-5-002-01.01 197418
PGS-MC11-5-002-01

ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

2. ควบคุมการตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-01.02 197419
PGS-MC11-5-002-01

ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

3. ควบคุมการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-01.03 197420
PGS-MC11-5-002-01

ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

4. วิเคราะห์ผลทดสอบของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-01.04 197421
PGS-MC11-5-002-01

ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

5. ควบคุมการแก้ไขแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-01.05 197422
PGS-MC11-5-002-02

ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

1. อธิบายหลักการและมาตรฐานการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC11-5-002-02.01 197423
PGS-MC11-5-002-02

ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

2. ควบคุมการรื้อถอนแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-02.02 197424
PGS-MC11-5-002-02

ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

3. ควบคุมการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-02.03 197425
PGS-MC11-5-002-02

ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

4. ควบคุมการตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ ภายหลังการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-02.04 197426
PGS-MC11-5-002-02

ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

5. ควบคุมการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ตามรายการมาตรฐานการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-02.05 197427
PGS-MC11-5-002-03

สรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

1. รายงานผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-03.01 197428
PGS-MC11-5-002-03

สรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

2. รายงานผลการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่หลังการติดตั้งใหม่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-MC11-5-002-03.02 197429
PGS-MC11-5-002-03

สรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

3. นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง  

PGS-MC11-5-002-03.03 197430

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1    ทฤษฎีเกี่ยวกับแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery)

12.2    ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการทำงานของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery)

12.3    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานทั่วไป อุปกรณ์จำพวกเครื่องมือวัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ เช่น การจําแนกประเภทและคุณลักษณะ การวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เป็นต้น

12.4    ความรู้เรื่องวัสดุ (Material)

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

2.    ทักษะการตรวจตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ 

3.    ทักษะการทดสอบและการวัดค่าทางไฟฟ้า แบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ

4.    ทักษะการวิเคราะห์ความผิดปกติผลการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ

5.    ทักษะการแก้ไข ปรับปรุงแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ

6.    ทักษะการใช้เครื่องมือในการถอดประกอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

7.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

8.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

9.    ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

10.  ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

11.  ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบงานบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

2.    ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

3.    หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น การคำนวณหา  ค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ เมื่อนำมาต่ออนุกรมหรือขนาน 

4.    หลักการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ ก่อนและระหว่างนำเข้าใช้งาน

5.    ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

6.    วิธีการใช้เครื่องมือ (เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ) ในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

7.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

8.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

9.    การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการสามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสังเกตุการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้)

 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ



(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในเรื่องโครงสร้างและหลักการทำงาน รวมทั้งขั้นตอนในการบำรุงรักษา และการสรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery) ได้แก่ การตรวจสอบและการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 



(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Battery) โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

1.    ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่
 

-    อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้อย่างถูกต้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างและหลักการทำงานแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

-    ควบคุมการตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่   เลือกใช้วิธีและเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

-    ควบคุมการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการทดสอบการหาประสิทธิภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ เลือกใช้วิธีและเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทดสอบการหาประสิทธิภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

-    วิเคราะห์ผลทดสอบของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ผลทดสอบของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับแก้ไขได้อย่างถูกต้องอย่างเหมาะสม

-    ควบคุมการแก้ไขแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ ให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ โดยสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติกับสภาวะที่เกิดการบกพร่องได้

2.    ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

-    อธิบายหลักการและมาตรฐานการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้อย่างถูกต้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในหลักการและมาตรฐานการติดตั้งและมาตรฐานของอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดต่าง ๆ ของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

-    ควบคุมการรื้อถอนแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและมาตรฐานในการวางแผนขั้นตอนสำหรับการรื้อแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบอย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น มาตรฐานความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน ข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน หลักการออกแบบอุปกรณ์ที่จะทำการรื้อถอน การตรวจสอบอุปกรณ์และค่าเดิมก่อนถูกรื้อถอน การทดสอบ การตรวจสอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การป้องกันโครงสร้างส่วนที่ไม่ได้ถูกรื้อถอนเสียหาย ป้ายเตือนภัย การใช้เครื่องมือพื้นฐาน หรือเครื่องมือพิเศษในการดำเนินการ อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงาน การควบคุมและป้องกันอัคคีภัย การกองเก็บวัสดุอุปกรณ์ การจัดวางเครื่องจักรเครื่องมือและการขนส่ง

-    ควบคุมการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องศึกษาและเข้าใจระเบียบขั้นตอนปฏิบัติการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ 

-    ควบคุมการตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ ภายหลังการติดตั้งได้อย่างตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานในตรวจสภาพแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรม

-    ควบคุมการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ตามรายการมาตรฐานการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานในการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่และอุปกรณ์ประกอบ ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้องภายหลังการติดตั้งได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย การควบคุมเชิงบริหารจัดการ อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างปลอดภัย มีความสามารถในการตรวจสอบให้มั่นใจว่างานได้มีการจัดระบบเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการทดสอบอุปกรณ์ประกอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สามารถทดสอบการทำงานทั้งระบบของแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรม 

3.    สรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

-    รายงานผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

-    รายงานผลการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่หลังการติดตั้งใหม่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปผลการทดสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่หลังการติดตั้งใหม่ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

-    นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถนำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและให้ข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ และสามารถตอบรายละเอียดข้อซักถามโดยให้เหตุผลสนับสนุนได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่  

    (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

    (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

    (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

    (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

    (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

    (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตั้งแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่

18.3 เครื่องมือประเมิน สรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

    (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

    (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่ 

    (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาแบตเตอรี่แบบติดตั้งอยู่กับที่



ยินดีต้อนรับ