หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NFZQ-581A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

        อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง โดยสามารถปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้า การใช้สารเคมี การปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์  การใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
        กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า      -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านสารเคมี     -     กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.3    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานตามหลักการยศาตร์     -     มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงตามหลักการยศาสตร์ (มปอ.302 : 2561)  10.4    กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ     -     ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC11-5-001-01

ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC11-5-001-01.01 197402
PGS-MC11-5-001-01

ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

2. ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-01.02 197403
PGS-MC11-5-001-01

ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-01.03 197404
PGS-MC11-5-001-01

ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

4. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

PGS-MC11-5-001-01.04 197405
PGS-MC11-5-001-02

ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC11-5-001-02.01 197406
PGS-MC11-5-001-02

ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

2. ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-02.02 197407
PGS-MC11-5-001-02

ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-02.03 197408
PGS-MC11-5-001-02

ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

4. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้า

PGS-MC11-5-001-02.04 197409
PGS-MC11-5-001-03

ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) พื้นฐานตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานตามหลักการยศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC11-5-001-03.01 197410
PGS-MC11-5-001-03

ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) พื้นฐานตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

2. ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการยศาสตร์สำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-03.02 197411
PGS-MC11-5-001-03

ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) พื้นฐานตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานตามหลักการยศาสตร์ด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-03.03 197412
PGS-MC11-5-001-03

ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) พื้นฐานตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

4. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับหลักการยศาสตร์

PGS-MC11-5-001-03.04 197413
PGS-MC11-5-001-04

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้รอกและสลิงได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC11-5-001-0.4.01 197414
PGS-MC11-5-001-04

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

2. ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการใช้รอกและสลิงสำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-0.4.02 197415
PGS-MC11-5-001-04

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับรอกและสลิงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

PGS-MC11-5-001-0.4.03 197416
PGS-MC11-5-001-04

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

4. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับรอกและสลิง

PGS-MC11-5-001-0.4.04 197417

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมถึงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลจากไฟฟ้า

12.2    ความรู้พื้นฐานและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากการทำงานร่วมกับสารเคมี อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์เฉพาะ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากสารเคมีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.3    ความรู้พื้นฐานและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการยศาสตร์ สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากการยศาสตร์ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์เฉพาะ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากการยศาสตร์และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.4    ความรู้พื้นฐานและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิง สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากการใช้รอกและสลิง อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์เฉพาะ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากการใช้รอกและสลิงและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง 

2.    ทักษะการหาปัจจัยความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง 



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

3.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

4.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

5.    ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

6.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

7.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

2.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด/กฎหมายด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง เช่น การทำงานกับระบบไฟฟ้า  การทำงานเกี่ยวกับสารเคมี 

3.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง เช่น การทำงานกับระบบไฟฟ้า การทำงานเกี่ยวกับสารเคมี 

4.    ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการสามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน)

5.    หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

6.    หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านสารเคมี (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 

7.    หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมตามหลักการยศาสตร์ (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 

8.    หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการใช้รอกและ สลิง (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 

*หากมีหลักฐานการผ่านการอบรมตามข้อที่ 4, 5, 6 และ 7 ผู้เข้ารับการประเมินไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ



(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้า สำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าต่อเนื่องด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง รวมถึงหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สารเคมี ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ และการใช้รอกและสลิง



(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

1.    ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

-    อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าต่อเนื่องได้

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความระมัดระวัง และให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากไฟฟ้าอยู่โดยรอบในพื้นที่ทำงาน เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับการทำงานแต่ละอย่างที่เกี่ยวข้อง

-    ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการ โดยต้องมีข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะงานที่ดำเนินการ มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม 

-    ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้เครื่องมือความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับสถานที่และวิธีเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในการทำงานที่ความปลอดภัย มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

-    หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง มีความเข้าใจในนโยบายงานอื่นที่แทรกอยู่ระหว่างพื้นที่ทำงานและงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวงจรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเดียวกัน เข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง 

2.    ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

-    อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าได้

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีกับงานที่ดำเนินการ เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมี เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมี

-    ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีของสถานประกอบการ โดยต้องมีข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะงานที่ดำเนินการ มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม 

-    ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้เครื่องมือที่เกี่ยวกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับสถานที่และวิธีเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในการทำงานที่ความปลอดภัย มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

-    หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้า

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง 

3.    ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) พื้นฐานตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

-    อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานตามหลักการยศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการทำงานตามหลักการยศาสตร์ตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้กับการทำงานตามหลักการยศาสตร์กับงานที่ดำเนินการ เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากการทำงานตามหลักการยศาสตร์ เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับการทำงานตามหลักการยศาสตร์

-    ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการยศาสตร์สำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องควบคุมการปฏิบัติตามข้อกฏหมาย/ข้อกำหนดของการทำงานตามหลักการยศาสตร์ และต้องมีกระบวนการและข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจน และสอดคล้องกับลักษณะงานที่ดำเนินการ มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

-    ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานตามหลักการยศาสตร์ด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องทราบถึงกระบวนการ วิธีการตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบอุปกรณ์ และทบทวนวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานหรืออุปกรณ์พิเศษ ที่ใช้สำหรับการทำงานตามหลักการยศาสตร์ 

-    หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับหลักการยศาสตร์ 

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการยศาสตร์ เข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น   เพื่อป้องกันความเสี่ยง 

4.    ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

-    อธิบายขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้รอกและสลิงได้อย่างถูกต้อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้รอกและสลิงตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้กับการใช้รอกและสลิง กับงานที่ดำเนินการ เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากการใช้รอกและสลิง เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่    มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับการใช้รอกและสลิง

-    ควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการใช้รอกและสลิงสำหรับงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องควบคุมการปฏิบัติตามข้อกฏหมาย/ข้อกำหนดของการใช้รอกและสลิง และต้องมีกระบวนการและข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจน และสอดคล้องกับลักษณะงานที่ดำเนินการ มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

-    ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับรอกและสลิงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

     ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องทราบถึงกระบวนการ วิธีการตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบอุปกรณ์ และทบทวนวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานหรืออุปกรณ์พิเศษ ที่ใช้สำหรับการทำงานรอกและสลิง 

-    หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับรอกและสลิง

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับรอกและสลิง เข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย 

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย 

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย 

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย

18.3 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) พื้นฐานตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทำงานตามหลักการยศาสตร์ที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย 

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทำงานตามหลักการยศาสตร์ที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทำงานตามหลักการยศาสตร์ที่ใช้ในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องตามหลักความปลอดภัย

18.4 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

   (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง 

   (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงตามหลักความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง



ยินดีต้อนรับ