หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-SUZI-935A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน มาตรฐานผลิตยางก้อนถ้วยกรมวิชาการเกษตร วิธีการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร วิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วย และมีทักษะได้แก่ สามารถกำหนดและเลือกวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง สามารถผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างเหมาะสม สามารถจัดเก็บและรักษาคุณภาพยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดสถานที่จัดเก็บผลผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างเหมาะสม และสามารถตรวจสอบคุณภาพยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C141

ผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

1. อธิบายมาตรฐานผลิตยางก้อนถ้วยกรมวิชาการเกษตรได้

C141.01 197208
C141

ผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

2. อธิบายวิธีการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้

C141.02 197209
C141

ผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

3. กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง

C141.03 197210
C141

ผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

4. เลือกวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง

C141.04 197211
C141

ผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

5. ดำเนินการผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกวิธี

C141.05 197212
C142

รักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

1. อธิบายวิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยได้

C142.01 197213
C142

รักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

2. อธิบายการจัดเก็บและรักษาคุณภาพยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกวิธี

C142.02 197214
C142

รักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

3. กำหนดสถานที่จัดเก็บผลผลิตยางก้อนถ้วยได้อย่างเหมาะสม

C142.03 197215
C142

รักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

4. ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง

C142.04 197216

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) มาตรฐานยางก้อนถ้วยของกรมวิชาการเกษตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการจัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

2)  มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด รักษา และตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัติงานการจัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ผลิต และรักษาคุณภาพยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

3)  มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการจัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรให้ถูกต้อง

4)  มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการผลิตยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี

2)  มีความรู้ในการเตรียมและรักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วย

3)  มีความรู้ในระดับคุณภาพยางก้อนถ้วย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ

       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการจัดการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1. ผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร

              มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางก้อน 

              มีลักษณะเป็นรูปถ้วย ก้อนยางที่สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปนทั้งในก้อนและนอกก้อนมีขนาดใหญ่หรือเล็กตามจำนวนมีดกรีด ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี จะต้องใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวยาง เพราะจะทำให้น้ำยางจับตัวเร็วและเนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                     - วิธีการผลิตยางก้อนถ้วย

                     - การทำยางก้อนถ้วยบนต้นยาง  

              วิธีที่ 1 การหยอดน้ำกรดลงในถ้วยรองน้ำยางก่อนการกรีด มีวิธีการดังนี้

                     1. กรีดยางครั้งแรกเพื่อเตรียมน้ำเลี้ยงเซรุ่ม  โดยกรีดยางลงในถ้วยแล้วปล่อยให้แข็งตัวตามธรรมชาติ  เป็นเวลา 2 วัน

                     2. แคะยางก้อนถ้วยขึ้นเสียบกับลวดที่รองรับถ้วยน้ำยาง

                     3. หยอดน้ำกรดเจือจางความเข้มข้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ (กรดฟอร์มิค 90% อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 90 ซีซี) 1 ครั้งบีบ (12-15 ซีซี) ลงในถ้วยที่มีน้ำเลี้ยงเซรุ่ม 

                     4. กรีดยาง ระวังอย่าให้สิ่งสกปรกตกลงในถ้วยรองน้ำยาง กรีดจนหมดทั้งแปลงแล้วจึงกลับมาเก็บยางก้อนที่เสียบไว้ใส่ภาชนะ

                     5. ยางที่กรีดไว้ปล่อยให้แข็งตัว  แล้วจึงเก็บในวันถัดไป

                     6. เก็บก้อนยางรวบรวมใส่ภาชนะ (ถุงปุ๋ย หรือถุงตาข่ายไนล่อน)

                     7. นำมาผึ่งบนแคร่ไม้ในร่มไม่ให้ก้อนยางติดกัน ประมาณ 7-10 วัน สามารถจำหน่ายได้

              วิธีที่ 2 การหยอดน้ำกรดลงในน้ำยางหลังจากน้ำยางหยุดไหล มีวิธีการดังนี้

                     1. กรีดยางทั้งแปลงให้น้ำยางไหลตามปกติ 

                     2. เมื่อน้ำยางหยุดไหลจึงหยอดกรดลงในถ้วยรองน้ำยาง 1 ครั้งบีบ(ประมาณ12-15 ซีซี) คนให้เข้ากัน

                     3. ปล่อยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนในถ้วย

                     4. ก่อนกรีดครั้งต่อไปเก็บก้อนยางจากถ้วยเสียบลวดทิ้งไว้ 

                     5. เมื่อกรีดครั้งต่อไปเก็บก้อนยางที่เสียบลวดไว้ใส่ภาชนะ แล้วแคะยางก้อนในถ้วยขึ้นเสียบลวดไว้ ยางก้อนที่เก็บใสภาชนะแล้วนำมาผึ่งบนแคร่

              วิธีที่ 3 การหยอดน้ำกรดลงในน้ำยางหลังจากน้ำยางหยุดไหล เหมือนวิธีที่ 2 แต่จะแตกต่างกันตรงที่วิธีที่ 3 นี้ จะกรีดน้ำยางลงในถ้วยแล้วหยอดกรดให้จับตัว ทำเช่นนี้ทำหลายๆ ครั้งกรีด (3-4 ครั้งกรีด) จนกว่าจะได้ยางก้อนเต็มถ้วยจึงแคะก้อนยางออกครั้งหนึ่ง

              การทำยางก้อนถ้วยในโรงเรือน เป็นการผลิตยางก้อนถ้วยที่ได้คุณภาพดีที่สุด ซึ่งมีวิธีการผลิตดังนี้

                     1. เก็บรวบรวมน้ำยางจากต้นยางนำมาที่โรงเรือนสำหรับทำการผลิตยางก้อนถ้วย

                     2. กรองน้ำยางให้สะอาดโดยใช้วิธีเดียวกันกับการผลิตยางแผ่นดิบ

                     3. นำถ้วยรองน้ำยางที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ววางเรียงบนโต๊ะหรือบนพื้นที่เรียบสม่ำเสมอ

                     4. เทน้ำยางที่ผ่านการกรองแล้วลงในถ้วยรองน้ำยาง ถ้วยละ 300 ซีซี

                     5. เตรียมกรด  โดยใช้กรดฟอร์มิค 90% อัตราเนื้อกรด 0.4% ของเนื้อยางแห้ง ก่อนใช้นำไปเจือจางให้มีความเข้มข้นที่ 2% ซึ่งสามารถเจือจางกรดโดยประมาณ คือ ตวงน้ำสะอาด 1 ลิตร 

ผสมกรดฟอร์มิค 90% ลงไปจำนวน 2 ช้อนแกงครึ่ง

                     6. เทน้ำกรดที่เจือจางแล้วลงในถ้วยน้ำยาง อัตรา 24 ซีซี (3  ช้อนแกง) ต่อน้ำยาง 1 ถ้วย (300 ซีซี) กวนให้เข้ากันดี ด้วยพายขนาดเล็ก ไม่ต้องปาดฟองอากาศออก

                     7. ทิ้งไว้ให้จับตัวเป็นก้อน วันรุ่งขึ้นจึงนำไปแขวนไว้บนราวให้แห้ง ประมาณ 7-10 วัน ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้

              2.รักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วย

              วิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วย

              -  การใช้กรดฟอร์มิคเป็นสารจับตัว เนื่องจากสูตรโครงสร้างทางเคมีของกรดฟอร์มิคคือ HCOOH 

มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบเพียงตัวเดียว จึงเป็นกรดอ่อนที่มีความแรงของกรดไม่มากนักเมื่อเทียบกับกรดชนิดอื่น กรดฟอร์มิคเป็นสารอินทรีย์ที่จับตัวเนื้อยางได้อย่างสมบูรณ์ สลายตัวง่าย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่กระทบต่อหน้ายางกรีดหากใช้ในอัตราส่วนตามคำแนะนำ

              -  การจัดเก็บยางก้อนถ้วย

                     1. เก็บยางก้อนถ้วยในเข่งที่สะอาด 

                     2. บนพื้นรถจะต้องมีวัสดุรองรับเพื่อป้องกันน้ำไหลออก จากกอ้นยางหกเรี่ยราดตามพื้นถนน

              -  ลักษณะยางก้อนถ้วยคุณภาพดี 

                     1. เป็นก้อนยางที่เกิดจากน้ำยางสดจับตัวในถ้วยรับน้ำยางมีรูปทรงสัณฐานใกล้เคียงกับถ้วยรับน้ำยาง 

                     2. เกิดจากการจับตัวด้วยกรดฟอร์มิก ส่วนกรดซัลฟูริกไม่ให้ใช้ 

                     3. ทั้งภายในและภายนอกก้อนต้องปราศจากสิ่งเจือปน หรือสิ่งปลอมปน เช่น ขี้เปลือก เศษยาง เปลือกไม้ หิน ดิน ทราย หรือวัสดุปลอมปนใดๆ

                     4. เป็นยางก้อนถ้วยที่กรีด 4 –6 มีดกรีด

                     5. มีน้ำหนักตั้งแต่ 80 - 800 กรัม 

                     6. ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี จะต้องมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลไหม้ 

                     7. ยางก้อนถ้วยคุณภาพดีจะต้องมีความชื้นระหว่าง 35%–45%


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ